Page 166 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 166

พยานและจําเลยอยู่คนละห้องกันได้   ที่สําคัญยังมีการทํา บันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือกัน
                   ในคดีค้ามนุษย์ ระหว่างศาลอาญา  สํานักงานอัยการสูงสุด  สํานักงานตํารวจแห่งชาติ  กระทรวงยุติธรรม

                   และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คือความร่วมมือด้านการดําเนินคดี โดยตํารวจ
                   อัยการ ศาล แต่ละหน่วยงานจะมี “ศูนย์ประสานงานคดีค้ามนุษย์” เพื่อทําหน้าที่ประสานงานกันในเรื่อง
                   คดี การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและพยานให้มีการสืบพยานไว้ล่วงหน้าโดยเร็วเมื่อเกิดเหตุจําเป็น การ
                   จัดหาล่าม  นักจิตวิทยา  การดูแลคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่เหยื่อ ส่วนกระทรวงการพัฒนาสังคมและ

                   ความมั่นคงของมนุษย์จะทําหน้าที่เรียกค่าเสียหายแทนเหยื่อผู้เสียหาย
                          สําหรับผลที่ได้จากการแยกคดีค้ามนุษย์ออกเป็นแผนกจะทําให้คดีรวดเร็วขึ้นและมีระบบจัดการ
                   พิเศษกับแต่ละประเภทคดี อีกทั้งนําไปสู่การเกิดความเชี่ยวชาญของผู้พิพากษาในระดับที่ลึกมากขึ้น
                   เปรียบเสมือนการมีแพทย์เฉพาะทางรักษาโรค แต่ยังคงมีข้อจํากัดทางกฎหมายที่ต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย

                   เพื่อนํามาตรการพิเศษที่จําเป็นมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล เช่นในการฟูองคดีควรต้องส่ง
                   สํานวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนต่อศาลด้วยไม่ใช่มีแค่คําฟูอง เพื่อให้ศาลสามารถไต่สวนหา
                   ความจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หากจําเลยหลบหนีคดีควรกําหนดให้หยุดนับอายุความใน
                   ระหว่างหลบหนีเพื่อไม่ให้จําเลยใช้วิธีการหลบหนี รอให้คดีขาดอายุความมาเป็นเครื่องมือให้ตนเองหลุด

                   พ้นจากการถูกลงโทษ และในระหว่างที่จําเลยหลบหนีคดีไม่ควรหยุดการพิจารณาคดี ซึ่งป๎จจุบันตาม
                   กฎหมายหากจําเลยหลบหนีคดีต้องจําหน่ายคดีชั่วคราวเนื่องจากการพิจารณาคดีอาญาต้องทํากระทําต่อ
                   หน้าจําเลย เพราะว่าพยานหลักฐานอาจสูญหายหรือถูกทําลายในระหว่างนั้นได้ ซึ่งจะทําให้ยากแก่การ

                   พิสูจน์การกระทําความผิดเมื่อได้ตัวจําเลยกลับมา
                          การจัดตั้งแผนกศาลค้ามนุษย์ในศาลอาญาจะได้ผลแค่ไหนในการขจัดป๎ญหาการค้ามนุษย์จึงเป็น
                   เรื่องที่ต้องติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ต่อไป

                          ๔.๕.๓ ความก้าวหน้าในการออกกฎหมายอุ้มบุญ

                          เมื่อวันที่ ๒๙  กรกฎาคม ๒๕๕๘  ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน
                   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น พร้อมด้วย น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรม
                   สนับสนุนบริการสุขภาพ นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนา

                   สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา และ รศ.นพ.กําธร พฤกษานา
                   นนท์ คณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ร่วมกันแถลงข่าวการบังคับใช้กฎหมาย “พระราชบัญญัติ
                   คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.๒๕๕๘” ออกโดยกระทรวง
                   สาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา

                   เมื่อวันที่ ๑  พ.ค.  ๒๕๕๘  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓๐  กรกฎาคม ๒๕๕๘  เป็นต้นไป เจตนารมณ์
                   กฎหมายฉบับนี้ เพื่อช่วยคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและมีบุตรยาก ให้มีบุตรได้
                   โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมเข้ามาช่วย และควบคุมปูองกันไม่ให้มีการ
                   นําไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดป๎ญหาทางศีลธรรมและมนุษยธรรม ทั้งการรับจ้างตั้งครรภ์ การค้า

                   มนุษย์ และการทอดทิ้งเด็ก
                          ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า เด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จะเป็นบุตร
                   ชอบด้วยกฎหมายของสามีและภรรยา มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก กฎหมายฉบับนี้มี
                   ประเด็นสําคัญ อาทิ กําหนดข้อห้าม ดังนี้ ห้ามสามีและภรรยาที่ทําอุ้มบุญปฏิเสธรับเด็กเป็นบุตร ห้ามรับ


                                                            ๑๔๖
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171