Page 161 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 161

ประเทศต้นทางคือเมียนม่าร์ไม่ยอมรับชาวโรฮิงญาจึงส่งกลับประเทศต้นทางไม่ได้  รวมทั้งไม่สามารถส่งไป
                   ยังประเทศที่ ๓ ได้ เพราะไม่มีประเทศใดรับ


                   ๔.๕ ความก้าวหน้าในการปรับปรุงนโยบายและกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

                            ภายหลังจากการแถลงข่าวผลการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons –

                   TIP  Report)  ประจําปี ๒๕๕๗ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๐
                   มิถุนายน ๒๕๕๗ รายงานดังกล่าว เป็นการประเมินผลการดําเนินการด้านการปูองกันและปราบปราม
                   การค้ามนุษย์โดยประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ระหว่าง ๑ เมษายน ๒๕๕๖ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ ในปีนี้
                   กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้จัดให้ไทยอยู่ใน Tier ๓ ซึ่งหมายถึงประเทศที่ดําเนินการไม่สอดคล้อง

                   กับมาตรฐานขั้นต่ําของกฎหมายสหรัฐอเมริกาและไม่มีความพยายามแก้ไขป๎ญหา ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มี
                   สถานการณ์ค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุด (สถานการณ์การค้ามนุษย์ประเทศไทย, ๒๕๕๗)
                          และเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงาน
                   การประเมินผลการดําเนินการด้านการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยระหว่างวันที่

                   ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยยังคงถูกจัดให้อยู่ในบัญชี Tier ๓
                   อีก แม้ประเทศไทยได้ดําเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการประสานงาน
                   ระหว่างหน่วยงานการปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่ทว่า ในช่วงเวลาของการทํารายงาน ประเทศไทยถูก

                   ประเมินว่า มิได้ดําเนินการที่จําเป็นอย่างเพียงพอที่จะบรรลุผลความก้าวหน้าในการแก้ไขป๎ญหาการค้า
                   มนุษย์
                          อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้แสดงท่าทีสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐของไทยดําเนินมาตรการ
                   อย่างเข้มข้นในการปราบปรามการค้ามนุษย์ตลอดช่วงการทํารายงานฉบับปี ๒๕๕๙ โดยสนับสนุนให้
                   รัฐบาลไทยใช้กรอบกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไขตลอดจนแนวทางการแก้ป๎ญหาโดยรวมของรัฐบาลเพื่อขยาย

                   ความพยายามเชิงรุกอย่างต่อเนื่องในการระบุตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ถูกบังคับใช้แรงงานและเพื่อธุรกิจทาง
                   เพศออกจากกลุ่มประชากรที่อ่อนแอทั้งหลาย รวมทั้งให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม นอกจากนี้ รัฐบาล
                   สหรัฐอเมริกาได้ขอให้รัฐบาลไทยเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรู้เห็นในการค้ามนุษย์ โดยดําเนินการสืบสวน

                   และดําเนินคดีกับผู้กระทําผิด รวมถึงผู้บังคับใช้แรงงานในเรือประมงหรือผู้ก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์
                   เพื่อธุรกิจทางเพศ
                          ตลอดปี ๒๕๕๙ สหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีการดําเนินความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ
                   สหรัฐฯ กับไทยทั้งในประเทศไทยและบนเวทีระหว่างประเทศว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการค้า

                   มนุษย์ และจะยังคงมอบความช่วยเหลือทางวิชาการเฉพาะด้านตามที่รัฐบาลไทยร้องขอในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                   กับการสืบสวนและดําเนินคดีปราบปรามการค้ามนุษย์ อีกทั้งให้การสนับสนุนเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของ
                   สถาบันด้านการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรม ซึ่งรวมถึงโครงการฝึกอบรมร่วมระดับภูมิภาคผ่าน
                   สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จะยังคงร่วมมือกับฝุาย

                   บังคับใช้กฎหมายของไทยจัดการคดีการค้าเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ ตลอดจนสนับสนุนองค์กรใน
                   ท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศที่ทํางานร่วมกับรัฐบาลไทยและทางการท้องถิ่นเพื่อต่อต้านการค้า
                   มนุษย์และช่วยเหลือเหยื่อ




                                                            ๑๔๑
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166