Page 171 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 171
(๑) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา มีขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๖ โดยมีการดําเนิน
กิจกรรมร่วมกันในเรื่องการพัฒนาหลักเกณฑ์การคัดแยกเหยื่อ การส่งกลับผู้เสียหายที่ได้รับการปกปูอง
คุ้มครองกลับประเทศกัมพูชา การพัฒนาแนวทางการส่งกลับร่วมกัน และเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานที
เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาบุคคลด้านการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้าหญิงและเด็ก โดยการฝึกอบรมของ
ศูนย์กฎหมายภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง ซึ่งนําเจ้าหน้าที่ของประเทศกัมพูชามาศึกษาดูงานที่บ้านเกร็ดตระการ
มีการดูแลหญิงและเด็กกลุ่มเสี่ยงในการอบรมอาชีพในการคัดแยกขยะเพื่อเสริมสร้างรายได้แก่กลุ่มเสี่ยง
อาชีพขอทาน มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งสถานที่พักพิงในประเทศกัมพูชา เพื่อฟื้นฟูและฝึกอบรม
อาชีพ
(๒) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เกิดขึ้นในปี ๒๕๔๘ โดยทั้งสองฝุายได้เห็นพ้องในการดําเนินงานร่วมกันเพื่อให้บังเกิดผลในความก้าวหน้า
ในการจัดทําแนวทางการดําเนินงานเกี่ยวกับการรับ-ส่งและฟื้นฟูพัฒนาเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรี
และเด็ก กําหนดจัดการประชุมคณะทํางานของทั้ง ๒ ประเทศ เพื่อติดตามผลการดําเนินงานตาม
แผนปฏิบัติการทุก ๖ เดือนหรือ ๑ ปี เพื่อให้มีกลไกในการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานให้
เป็นไปตามแผน มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ชายแดนไทย-ลาว เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ในกรอบความ
ร่วมมือตาม MOU ร่วมกัน มีการทํางานในประเด็นเรื่องสื่อและการประชาสัมพันธ์และการอบรมให้ความรู้
ในเรื่องของการส่งกลับและคืนสู่สังคมร่วมกัน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่สงเคราะห์ของทั้งสอง
ประเทศได้ศึกษาดูงานในสถานการณ์จริงของขั้นตอนการส่งกลับ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ
โยกย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (IOM) โครงการความร่วมมือระหว่าง ๒ ประเทศว่าด้วยการติดตามผู้สูญหาย
ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับชุมชน ร่วมกับกรมสังคมสงเคราะห์และ
สหพันธ์แม่หญิงลาว เพื่อให้เข้าใจวิธีการและขั้นตอนในการประสานข้อมูลเพื่อค้นหาผู้สูญหาย
(๓) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม มีขึ้นในปี
๒๕๕๑ โดยมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างไทยและเวียตนาม แนวทางการ
ดําเนินงานร่วมกันของทั้ง ๒ ประเทศ ประกอบด้วย
๑) ด้านการปูองกัน เน้นการส่งเสริมในด้านการจัดบริการสังคม การศึกษา การฝึกอาชีพ
และการมีงานทํา การรณรงค์สร้างความตระหนักและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับป๎ญหาการค้ามนุษย์
๒) ด้านการปกปูองคุ้มครอง มุ่งให้ความคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อ ด้วยมาตรการที่เหมาะสม
เพื่อให้เหยื่อการค้ามนุษย์ได้เข้าถึงความช่วยเหลือทั้งในด้านกฎหมายและบริการสังคม
๓) ด้านการปราบปราม เน้นความร่วมมือกันในการสืบสวนสอบสวน การดําเนินคดี ความ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการฝึกอบรม เพื่อให้มี
การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
๔) ด้านการส่งกลับคืนประเทศ ทั้ง ๒ ฝุายจะต้องกําหนดให้มีหน่วยงานประสานงานกลาง
ในด้านการรับและส่งเหยื่อการค้ามนุษย์กลับประเทศภูมิลําเนา รวมทั้งการให้ความ
ช่วยเหลือในการคืนสู่สังคม
๕) ด้านการปฏิบัติงานร่วม ทั้ง ๒ ฝุายจะกําหนดให้มีหน่วยงานประสานงานกลาง และ
จัดตั้งคณะทํางานร่วมเพื่อทําหน้าที่ในการประสานงาน การวางแผนปฏิบัติงาน การ
๑๕๑