Page 169 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 169

รวมไปถึงกําหนดบทลงโทษสําหรับ "วนิพกที่ไม่ขออนุญาต" หรือ ผู้ที่เล่นดนตรีหรือแสดงความสามารถอื่น
                   ใดในที่สาธารณะโดยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือระเบียบที่

                   เจ้าพนักงานท้องถิ่นกําหนด (มาตรา ๑๑)

                          หลังจากมีการเปิดเผยสาระสําคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ภาคประชาสังคมได้มีความคิดเห็น
                   ดังต่อไปนี้ (เปิดร่าง พ.ร.บ. ควบคุมขอทาน, ๒๕๕๘)

                          วิธะพัฒน์ รัตนาวลีพงษ์ หัวหน้าโครงการยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ที่เคยคัดค้านร่าง
                   ฉบับปี ๒๕๕๑  เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการขอทานฉบับใหม่นี้ เป็นทิศทางการแก้ไขป๎ญหาขอทานที่
                   ถูกต้อง และหากบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะช่วยทําให้การคัดแยกดําเนินคดีฐานค้ามนุษย์ชัดเจน
                   มากขึ้น โดยมองว่าร่างนี้มีจุดเด่น ๔ เรื่องคือ

                          ๑. เป็นการปรับแก้กฎหมายที่ล้าหลังให้ทันต่อสถานการณ์ป๎จจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
                          ๒. บทกําหนดโทษชัดเจนจากเดิมที่ไม่มีบทลงโทษผู้มาขอทาน แต่ให้ส่งไปรับการสงเคราะห์ หาก
                   หลบหนีการสงเคราะห์จึงมีโทษปรับ ๑๐๐  บาทหรือ จําคุกไม่เกิน ๑  เดือน แต่ร่างกฎหมายใหม่กําหนด
                   โทษต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ ส่วนผู้แสวงหา

                   ประโยชน์จากการขอทานมีโทษจําคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
                          ๓. ไม่ได้มุ่งกวาดล้างจับกุมอย่างเดียว แต่เปิดโอกาสส่งเสริมสวัสดิการคนด้อยโอกาส เช่น ขอทาน
                   ที่ทุพพลภาพ เป็นโรคร้ายแรง หรือเด็กกําพร้า จะได้รับการสงเคราะห์ ไม่เอาโทษ

                           ๔. ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะช่วยให้การคัดแยกคดีบังคับขอทานซึ่งเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์มีความ
                   ชัดเจนขึ้น
                          อย่างไรก็ตาม วิธะพัฒน์ มีความกังวลว่า กรณีกําหนดการแสดงดนตรีในที่สาธารณะต้องขอ
                   อนุญาตหน่วยงานท้องถิ่น จะต้องกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ชัดเจนว่าจะอนุญาตต่อครั้งหรือ
                   ออกเป็นใบอนุญาต เพราะหากไม่มีมาตรฐานเดียวกันจะกระทบกับวณิพก คนตาบอด รวมถึงนักเรียนที่มา

                   หารายได้ช่วงปิดเทอม
                          มนตรี สินทวิชัย เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก  ให้สัมภาษณ์รายการ "แชร์เล่าข่าวเด็ด" ทาง F.M.
                   ๑๐๕.๕ ว่า ป๎ญหาขอทานยังมีเรื่องสวัสดิการที่ยังเข้าไม่ถึงอย่างเพียงพอและเท่าเทียม การมีกฎหมาย

                   ควบคุมขอทานฉบับใหม่จึงไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะแก้ป๎ญหาได้อย่างแท้จริง เพราะต้องมีการบังคับใช้
                   กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก และ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ อย่างจริงจัง   ส่วนข้อดีของกฎหมาย
                   ใหม่ที่จะออกมา คือ จะช่วยแก้ป๎ญหาเรื่องขบวนการค้ามนุษย์และพวกที่ทําธุรกิจเกี่ยวกับการขอทาน แต่
                   ป๎ญหาใหญ่ที่เจอกับเด็กที่มาขอทานคือพ่อแม่รู้เห็นกับกลุ่มขบวนการเหล่านี้โดยให้เช่าลูกเพื่อเป็นหารายได้

                   จึงต้องจัดการแก้ป๎ญหาให้ตรงจุด
                          ว่องวิช ขวัญพัทลุง อาจารย์ประจําคณะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นว่า ร่าง
                   กฎหมายนี้ยังมีประเด็นป๎ญหาอยู่ เช่น อาจก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะการขอทานเป็นการขอทาน
                   แฝง คือ เอาคนชรามาขายของหรือนําเด็กมาเล่นดนตรีแทนการขอเงินตรงๆ ทําให้คนตัดสินใจซื้อเพราะ

                   ความสงสาร ซึ่งกฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้และป๎ญหาการค้ามนุษย์อาจไม่ลดลง
                          นอกจากนี้ในส่วนของการเยียวยา หากรัฐไม่สามารถเยียวยาบุคคลที่เป็นขอทานได้อย่างทั่วถึงก็
                   จะทําให้เขากลับมาทําผิดซ้ําอีก และประเด็นสุดท้ายคือการแสดงในที่สาธารณะต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่
                   ท้องถิ่น แต่ไม่ระบุหลักเกณฑ์ละเอียดจะก่อเกิดความยุ่งยากรวมไปถึงป๎ญหาการทุจริตที่จะตามมา


                                                            ๑๔๙
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174