Page 165 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 165
๔.๕.๒ ความก้าวหน้าในการจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ ในศาลอาญา
ประการที่สอง คณะกรรมการการบริหารศาลยุติธรรม ได้มีประกาศเรื่องการจัดตั้งแผนกคดีค้า
มนุษย์ ในศาลอาญา เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๗
และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้
จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดี
ค้ามนุษย์ ในศาลอาญา”
ข้อ ๒ ประกาศนี้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คดีค้ามนุษย์” หมายความว่า คดีที่โจทก์ฟูองขอให้ลงโทษจําเลยตาม
พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ไม่ว่าจะมีข้อหาความผิดตามกฎหมาย
อื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงกรณีที่มีการขอให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาตาม
มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๑ แห่ง พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ ๔ ให้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาโดยให้อํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาพิพากษาคดีค้ามนุษย์ที่อยู่ในเขตอํานาจ และที่โอนมาตามกฎหมาย
(๒) ดําเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๕ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา เป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคดีค้ามนุษย์จํานวนตามที่
เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําคดีค้ามนุษย์
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้
พิพากษาในแผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามเห็นสมควรด้วยก็ได้
ข้อ ๖ แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดี
ผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๗ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้
การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญานี้ คดีที่เข้าข่ายเป็นคดีค้ามนุษย์ที่จะมาสู่แผนกนี้ คือคดี
ที่มีการแสวงหาประโยชน์จากมนุษย์ คดีค้าประเวณี บังคับใช้แรงงาน บังคับขอทาน บังคับใช้คนเป็นทาส
บังคับตัดอวัยวะเอาไปเพื่อการค้า แผนกนี้มีผู้พิพากษา ๖ องค์คณะ คณะละ ๒ คน รวม ๑๒ คน โดย
ประธานศาลฎีกามีนโยบายว่าคดีค้ามนุษย์ ศาลชั้นต้นต้องสืบพยานให้เสร็จสิ้นและมีคําพิพากษาภายใน ๖
เดือนนับแต่วันตรวจพยานหลักฐาน
หัวใจสําคัญอย่างหนึ่งของคดีค้ามนุษย์ คือการเก็บรักษาพยานเอาไว้ให้ได้เพราะผู้เสียหายหรือ
เหยื่อที่เป็นพยานมักเป็นคนยากจนเร่ร่อน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือเป็นชาวต่างชาติที่มักจะเดินทาง
กลับประเทศของตนเองโดยเร็วหลังเกิดเหตุ ดังนั้น คดีค้ามนุษย์ จะมีการใช้วิธีสืบพยานล่วงหน้าไว้ก่อนที่
จะมีการยื่นฟูองคดี หากมีพฤติการณ์ให้เห็นว่าการรอให้มีการสืบพยานหลังจากที่มีการยื่นฟูองคดีแล้ว
เหมือนคดีปกติทั่วไปจะไม่ทันการณ์พยานจะหายหมด
นอกจากนี้ ยังจะมีการใช้ “วิดีโอคอนเฟอเรนซ์” มาใช้ในการสืบพยานด้วยเพื่อไม่ให้เหยื่อหรือ
พยานต้องหวาดกลัวกับการเผชิญหน้ากับจําเลย การใช้ “วิดีโอคอนเฟอเรนซ์” ในการสืบพยาน ทําให้
๑๔๕