Page 170 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 170

๔.๖ แนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศไทยกับ
                   ราชอาณาจักรกัมพูชา  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม

                   สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสหพันธรัฐมาเลเซีย

                          ๔.๖.๑ ภาพรวมของความร่วมมือ
                          จากการศึกษาสถานการณ์และกฎหมายเกี่ยวกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของ

                   ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน พบว่า ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ๕ ประเทศมีกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์
                   (Anti-human  Trafficking  Law) แต่ทุกประเทศมีป๎ญหาเหมือนกันคือ การบังคับใช้กฎหมาย(Law
                   Enforcement) ยังคงเป็นประเด็นที่ไม่สามารถดําเนินการได้อันเป็นผลจากการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่
                   หลายฝุายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากขบวนการค้ามนุษย์ในแต่ละประเทศ แม้จะเคยมีกรณีการ

                   ร้องเรียนโดยเหยื่อที่ถูกหลอกด้วยตนเอง รวมทั้งการนําเหยื่อไปฟูองร้องของภาคประชาสังคมที่ดําเนินงาน
                   ด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ก็มักจะไม่สามารถจับกุมนายหน้าและขบวนการค้ามนุษย์ได้  การดําเนินคดี
                   มักจะจบลงที่การตีความกฎหมายซึ่งมักจะถูกตีความว่าไม่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ หรือไม่มีพยานหลักฐานที่
                   เพียงพอในการดําเนินคดีกับนายหน้าและขบวนการค้ามนุษย์ได้ ดังนั้นจึงยังคงมีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นอย่าง
                                                      1
                   ต่อเนื่องด้วยวิธีการที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
                          ประเทศไทยได้มีความร่วมมือในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบของทวิภาคี
                   กับราชอาณาจักรกัมพูชาในปี ๒๕๔๖  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี ๒๕๔๘  สาธารณรัฐ

                   สังคมนิยมเวียตนาม ในปี ๒๕๕๑  และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในปี ๒๕๕๒  ส่วนสหพันธรัฐ
                   มาเลเซียเป็นความร่วมมือแบบพหุภาคี โดยเรียกกรอบความร่วมมือว่า “ข้อตกลง”  (Agreement)  แทน
                   “บันทึกความเข้าใจ”  และใช้คําว่า “การค้ามนุษย์”  แทน “การค้าหญิงและเด็ก”  เพื่อครอบคลุม
                   กลุ่มเปูาหมายที่เป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ที่ครอบคลุมกรอบความร่วมมือในด้านการปูองกัน คุ้มครอง
                   ช่วยเหลือ การปราบปราม การส่งกลับและคืนสู่สังคม ตลอดจนการกําหนดกลไกประสานงานและการ

                   บริหารจัดการต่างๆ อันเป็นผลมาจากความพยายามในการทํางานร่วมกันในการพัฒนาระบบส่งกลับและ
                   คืนสู่สังคมให้แก่เหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก IOM  และ UNIAP  จนเชื่อมโยงไปยัง
                   องค์กรเอกชนระหว่างประเทศ จนเกิดระบบการส่งกลับและคืนสู่สังคมอย่างเป็นทางการ และมีการทํางาน

                   ประสานกับสถานทูตของประเทศดังกล่าวที่อยู่ในประเทศไทย

                          ๔.๖.๒ ความร่วมมือกับแต่ละประเทศ
                          ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ๕ ประเทศ เกิดจากการหารือร่วมกับ

                   ผู้แทนของประเทศต่างๆหลายครั้ง โดยอาศัยเวทีของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์
                   ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง จนได้เห็นพ้องร่วมกันในการที่จะจัดทํากรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีร่วมกัน
                   โดยมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและสตรีและการช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์
                   (MOU on Bilateral Cooperation for Eliminating Trafficking in Children and Women and

                   Assisting Victims of Trafficking) ความร่วมมือแบบทวิภาคีกับแต่ละประเทศมีดังนี้

                   1  ข้อสรุปนี้มาจากการสัมภาษณ์ มโนลิน เทบคําวงศ์ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘, ชุม เม  เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๘,
                   ยี ยินท์ นอง และ เอเอ มาร์ จอ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘, ยอร์ด บลังชาร์ด และ เรนาตา พิโอ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม
                   ๒๕๕๘, อีกลิว เฟอร์นันเดซ และเทีย อัล ฮัว เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
                                                            ๑๕๐
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175