Page 162 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 162
จากการถูกจัดให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ ๓ (Tier ๓) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ต่อเนื่องมาถึงปี ๒๕๕๘ ภายหลัง
จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทําการรัฐประหารยึดอํานาจการปกครองเมื่อวันที่ ๒๒
พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีความก้าวหน้าในการแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ อย่างน้อย ๔ ประการ กล่าวคือ
๔.๕.๑ ความก้าวหน้าระดับนโยบายและกลไกจัดการปัญหา
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ วาระร่างพระราชบัญญัติปูองกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ๒ เรื่อง คือ
(สํานักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ม.ป.ป.)
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... มี
สาระสําคัญเป็นการกําหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์แจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่
ของรัฐ และคุ้มครองพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรม กําหนดมาตรการริบ
ทรัพย์ที่ได้จากการกระทําความผิดค้ามนุษย์ กําหนดมาตรการเพิ่มอํานาจทางปกครองให้แก่พนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในการเข้าไปตรวจตรา และหากพบการกระทําความผิดค้ามนุษย์ รวมทั้งกําหนด
มาตรการเพิ่มบทลงโทษสูงขึ้น ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่ง
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับ
องค์ประกอบคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามร่างมาตรา ๙
ควรกําหนดให้สอดคล้องกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอจัดตั้ง การดําเนินงาน และการ
ประเมินผลการดําเนินงานทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๑๑ รวมทั้งการกําหนดกรอบการยกเว้นค่าปรับ
ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เพิ่มข้อความ “ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้นําไปใช้ได้โดยไม่ต้องนําส่งคลัง
เป็นรายได้แผ่นดิน” ไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เรียกว่า พระราชบัญญัติปูองกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่
๓๔ ก เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ โดยให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติ
ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๓/๑ ผู้ใดแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือ
พนักงานฝุายปกครองหรือตํารวจให้ทราบว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าได้กระทําโดย
สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา”
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการปูองกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ ปคม.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ปกค. เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและ
กีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และผู้ทรงคุณวุฒิ
จํานวนสี่คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ด้านการ
ปูองกัน การปราบปราม การบําบัดฟื้นฟูและการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่
น้อยกว่าเจ็ดปี ด้านละหนึ่งคน โดยต้องเป็นภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นกรรมการ และมี
๑๔๒