Page 168 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 168

๖๐,๐๐๐  บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ กรณีที่มีการดําเนินการอุ้มบุญมาก่อนกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้
                   สามารถยื่นรับรองบุตรได้เลย

                          อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนการเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพจิตเด็กที่เกิดจาก
                   การอุ้มบุญ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จําเป็นต้องให้ความรู้ คําแนะนําการเลี้ยงดูแก่พ่อแม่กลุ่มนี้ และการ
                   รับรู้สถานะ ในช่วงวัยที่เหมาะสมของเด็กต่อไป (ส านักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๘)
                            เชื่อว่าเมื่อมีการบังคับใช้ “พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญ

                   พันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ก็จะช่วยปูองกันเรื่องการซื้อขายไข่ การทําอุ้มบุญเพื่อการค้า ซึ่งถือเป็น
                   เรื่องการค้ามนุษย์ได้

                          ๔.๕.๔ ความก้าวหน้าในการออกกฎหมายควบคุมการขอทาน

                          ในสมัย คสช. มีการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ฉบับใหม่โดยคณะกรรมาธิการสังคม กิจการ
                   เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้พิจารณาศึกษาจัดทําร่าง
                   พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ……. เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตาม
                   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๑๔

                          สาระสําคัญของร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน กําหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน โดย
                   มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน กําหนดห้ามมิให้
                   บุคคลใดทําการขอทาน และกําหนดให้การกระทําดังต่อไปนี้เป็นการขอทาน ได้แก่ (มาตรา ๕ )

                          - การขอทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยวาจา ข้อความ หรือแสดงกิริยาอาการใด ๆ หรือด้วยวิธีการใด ๆ
                   โดยไม่ได้ตอบแทนด้วยการทํา หรือด้วยทรัพย์สินใด แต่ไม่รวมถึงการขอฉันญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตาม
                   กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร
                          - การกระทําใดเพื่อให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและมอบทรัพย์สินให้ โดยไม่มีการตอบแทนด้วยการ
                   ทํางานหรือด้วยทรัพย์สิน

                          ขณะที่การเล่นดนตรีหรือการแสดงความสามารถอื่นใดในที่สาธารณะโดยขอรับทรัพย์สินตามแต่
                   ผู้ชมหรือผู้ฟ๎งจะสมัครใจให้ มิให้ถือว่าเป็นการขอทาน แต่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องปฏิบัติ
                   ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกําหนด

                          นอกจากนี้ยังกําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้ที่ทําการขอทานที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต
                   คนพิการหรือทุพพลภาพ ผู้เจ็บปุวยซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ คนไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดูและไม่
                   มีการเลี้ยงชีพอย่างอื่น หรือผู้ซึ่งอยู่ในสภาวะยากลําบากไปรับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์และให้พ้น
                   จากความผิด (มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐)

                          ส่วนผู้ทําการขอทานซึ่งเป็นบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะบังคับอยู่แล้ว สถานสงเคราะห์สามารถ
                   พิจารณาดําเนินการตามกฎหมายได้ ยกเว้นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของผู้ทําการ
                   ขอทาน สถานสงเคราะห์จะไม่ดําเนินการตามกฎหมายและรับตัวผู้ที่ทําการขอทานนั้นไว้ในความดูแล
                   ต่อไปก็ได้

                          ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้กําหนดบทลงโทษสําหรับผู้ที่ทําการขอทาน ผู้ที่ถูกส่งตัวไปยังสถานสงเคราะห์แต่
                   ไม่ไปหรือหลบหนี ผู้ที่ช่วยเหลือให้หลบหนีจากสถานสงเคราะห์ และผู้ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยง
                   ส่งเสริม หรือกระทําด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นขอทาน หรือนําบุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์ในการขอทานของตน




                                                            ๑๔๘
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173