Page 167 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 167
ตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า ห้ามเป็นนายหน้าจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน ห้าม
โฆษณาว่ามีหญิงรับตั้งครรภ์แทน และห้ามซื้อ เสนอซื้อ หรือขาย หรือนําเข้าหรือส่งออก อสุจิ ไข่ หรือตัว
อ่อน โดยสถานประกอบการ แพทย์ คู่สามีภรรยา ผู้รับตั้งครรภ์ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากกระทํา
ผิดจะมีโทษทั้งจําและปรับ
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า กฎหมาย
ฉบับนี้มี ๖ หมวด ๕๖ มาตรา การปฏิบัติตามกฎหมายจะดําเนินการภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่
เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ หรือ กคทพ. จํานวน ๑๕ คน มีปลัดกระทรวง
สาธารณสุขเป็นประธาน และมีนายกแพทยสภาเป็นรองประธาน มีคณะกรรมการโดยตําแหน่ง ๖
หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมอนามัย คณะกรรมการ
คุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ จิตแพทย์ สูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และมี
ผู้ทรงคุณวุฒิ ๖ คน แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ ฝุายละ ๓ คน มีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเลขานุการ ทําหน้าที่เสนอ
นโยบาย ออกประกาศ พัฒนาและแก้ไขป๎ญหาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และ
พิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทน และใช้ตัวอ่อนที่เหลือเพื่อการศึกษาวิจัย รวมถึงควบคุมกํากับให้
เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งรับรองกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง ๑๔ ฉบับ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองเด็กอุ้มบุญ ประกาศหลักเกณฑ์เงื่อนไขมาตรฐานต่างๆ ของแพทยสภา
เพื่อบังคับใช้ในทางปฏิบัติเดียวกันทั่วประเทศ ขณะนี้มีสถานพยาบาลรัฐ เอกชน ที่พร้อมให้บริการกว่า
๖๐ แห่งทั่วประเทศ
สําหรับคู่สามีภรรยาที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ต้องจดทะเบียน
สมรสถูกต้องตามกฎหมาย กรณีเป็นคนไทยที่สมรสกับต่างชาติจะต้องจดทะเบียนสมรสไม่น้อยกว่า ๓ ปี
จะต้องผ่านการตรวจประเมินโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามแพทย์สภากําหนด และแพทย์ผู้ให้บริการจะต้อง
ยื่นขออนุญาตที่สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อนําเข้าสู่
การพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
หรือ กคทพ. ส่วนหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนจะต้องมีสัญชาติไทย ไม่ใช่พ่อแม่หรือลูก แต่จะต้องเป็นพี่น้องท้อง
เดียวกันของสามีหรือภรรยาผู้ที่ต้องการมีบุตร และเคยมีบุตรมาก่อน จะต้องได้รับความยินยอมจากสามี
ด้วย กรณีที่คู่สมรสทั้งคู่เป็นลูกคนเดียว ให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนการตั้งครรภ์แทนนี้จะใช้ ๒ วิธีเท่านั้นคือ วิธีที่ ๑ ใช้ตัวอ่อนที่ได้จากการผสมอสุจิของสามี
และไข่ของภรรยาคู่สมรส แล้วนําไปฝ๎งในมดลูกของผู้รับตั้งครรภ์แทน วิธีที่ ๒ ใช้ตัวอ่อนที่ได้จากอสุจิของ
สามีหรือไข่ของภรรยาที่ผสมกับไข่หรืออสุจิของผู้บริจาคอื่น ไม่ใช่ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์ จากนั้นจะดูแล
ตามระบบ คือ การฝากครรภ์ ฉีดวัคซีน จนกระทั่งคลอด ซึ่งสามารถฝากครรภ์และคลอดได้ที่โรงพยาบาล
ทุกแห่ง แต่ต้องนําเอกสารข้อตกลงไปด้วย เพื่อเป็นหลักฐานในการออกหนังสือรับรองการเกิดและการแจ้ง
การเกิดเด็กตามกฎหมาย โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะทําหนังสือแจ้งไปยังโรงพยาบาลทุกแห่ง
ต่อไป
สําหรับโทษผู้ฝุาฝืนกฎหมายฉบับนี้ เช่น กรณีเป็นแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแพทยสภา มี
โทษจําคุกไม่เกิน ๑ ปี ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หากกระทําเชิงการค้า รับจ้างอุ้มบุญ
มีโทษจําคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท กรณีเป็นนายหน้ามีโทษจําคุกไม่เกิน ๕ ปี
ปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ กรณีขายอสุจิหรือไข่มีโทษจําคุกไม่เกิน ๓ ปี ปรับไม่เกิน
๑๔๗