Page 160 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 160
๔.4.3 ปัญหา อุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์
จากการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้ง ๙ ฉบับ ผู้วิจัย
มีบทวิเคราะห์ป๎ญหาอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมาย ๕ ประการ ดังนี้
ประการแรก ป๎ญหาของการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) เป็นป๎ญหาที่เกิดจาก
กระบวนการคัดแยกเหยื่อที่ยังคงมีข้อบกพร่อง อีกทั้งความพยายามเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ตํารวจตรวจคน
เข้าเมืองที่จับกุมและส่งตัวผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายกลับประเทศทําให้เหยื่อบางรายต้องรับโทษ
โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่ตํารวจพยายามให้เหยื่อการค้ามนุษย์มีส่วนร่วมในการสอบสวนและดําเนินคดีกับ
ผู้กระทําความผิดข้อหาค้ามนุษย์ แต่เหยื่อบางคนเลือกที่จะไม่ร่วมมือในการสอบสวนเพราะกลัวถูกลงโทษ
หลายรายหลบหนีออกจากสถานพักพิงหรือพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกระบุตัวว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
ทําให้ไม่สามารถลงโทษผู้ที่ทําการค้ามนุษย์ได้
ประการที่สอง กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในป๎จจุบันสร้างขึ้นมาบนฐานที่จะใช้ปราบปรามการกระทํา
ผิดที่กระทําโดยป๎จเจกบุคคลเป็นสําคัญ ไม่เหมาะสมกับการใช้ปราบปรามองค์กรอาชญากรรมทั้งใน
ประเทศและองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่นับวันมีพัฒนาการในการก่ออาชญากรรมหรือการกระทํา
ความผิดยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทุกขณะ และแม้ว่าในบางมาตรการของกฎหมายที่ออกมาเพื่อ
ปราบปรามการกระทําความผิดขององค์กรอาชญากรรมโดยเฉพาะ ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่มีการจัดทํา
อย่างเป็นระบบ เป็นกฎหมายเดี่ยวไม่มีมาตรการอื่นสนับสนุนทั้งในด้านการหาพยานหลักฐาน การสืบสวน
การให้ความมั่นใจในความปลอดภัยแก่พยาน
ประการที่สาม กระบวนการในการดําเนินคดีฟูองร้องทางแพ่งและเจรจาเรียกร้องค่าเสียหาย
ชดเชยให้กับเหยื่อการค้ามนุษย์ การค้าแรงงานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อุปสรรคด้านค่าใช้จ่ายที่สูงในการ
ดําเนินการทางกฎหมาย ภาษา ระบบราชการและการเข้าเมือง รวมถึงความกลัวที่จะถูกนักค้ามนุษย์แก้
แค้น ความไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ และกระบวนการทางกฎหมายที่ล่าช้า ทําให้เกิดป๎ญหา อุปสรรคต่อเหยื่อของ
การค้ามนุษย์ในการเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายเป็นอย่างมาก
ประการที่สี่ ป๎จจุบันประเทศไทยไม่มีมาตรการทางด้านกฎหมายที่สามารถนํามาใช้ในการปูองกัน
และปราบปรามองค์กรอาชญากรรมได้อย่างจริงจัง แม้ว่ามีกฎหมายไทยหลายฉบับที่มีบทบัญญัติใกล้เคียง
กับการที่จะนํามาใช้เป็นมาตรการในการปูองกัน ปราบปรามองค์กรอาชญากรรม เช่น บทบัญญัติประมวล
กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องอั้งยี่และซ่องโจร กฎหมายการปราบปรามการฟอกเงิน แต่มาตรการเหล่านี้ไม่
เพียงพอ เพราะกระบวนการวิธีการพิจารณาคดีของประเทศไทย ยังใช้มาตรการเดียวกันในการปฏิบัติต่อ
ผู้กระทําผิดทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและสมาชิกขององค์กรอาชญากรรม นอกจากนี้องค์กรอาชญากรรมยัง
เต็มไปด้วยอํานาจ มีอิทธิพล และเงินทุน ป๎จจัยสนับสนุนอื่นๆจํานวนมาก จึงสามารถต่อสู้ ต่อรองกับ
อํานาจของรัฐได้เป็นอย่างดี
ประการห้า การที่ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับทําให้เกิดป๎ญหาในทางปฏิบัติกับผู้ที่ตกเป็น
เหยื่อของการค้ามนุษย์ที่ถูกขบวนการค้ามนุษย์นําพาเข้ามาโดยไม่มีเอกสารเดินทางใดๆ เมื่อถูกจับได้ก็จะ
ถูกดําเนินคดีตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งต้องถูกนําตัวไปอยู่ในห้องกักของด่านตรวจ
คนเข้าเมือง ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และต้องถูกส่งกลับประเทศต้นทาง หรือส่งไปประเทศที่
๓ หากได้รับการยอมรับให้ไปอยู่ได้ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เช่นนี้เป็น
ป๎ญหากับชาวโรฮิงญา ที่ต้องอยู่ในห้องกักของสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นเวลายาวนานมาก เพราะ
๑๔๐