Page 158 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 158
ฉบับนี้ได้กําหนดไว้กว้างกว่า พระราชบัญญัติมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก
พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๑ และ ๒ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๗ ทวิ
ความผิดฐานการค้ามนุษย์ถือเป็นความผิดมูลฐาน ตาม พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปราม
การฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการกําหนดดังกล่าวจะช่วยให้สามารถใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนที่มี
ประสิทธิภาพได้ รวมทั้งอํานาจในการยืดทรัพย์ตามที่ได้กฎหมายปราบปรามการฟอกเงินได้เอื้อต่อวิธีการ
ปราบปรามขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ
๓. ให้การคุ้มครองผู้เสียหายที่เข้มแข็งขึ้น
โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับมอบหมายให้พิจารณาความ
ช่วยเหลือที่เหมาะสมในด้านที่พัก อาหาร การักษาพยาบาล การบําบัดฟื้นฟู การให้การศึกษา การ
ฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การส่งกลับไปยังประเทศเดิมหรือภูมิลําเนาของผู้นั้น การ
ดําเนินคดีเพี่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย และการอนุญาตให้ทํางานเป็นการชั่วคราวตาม
กฎหมาย โดยคํานึงเหตุผลทางด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก ดังนี้
การจัดสถานที่คุ้มครองชั่วคราวและสถานคุ้มครองหลัก ซึ่งในขณะนี้ กรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการได้รับมอบหมายให้ยกร่างระเบียบต่างๆ เพื่อจัดบริการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายในการรองรับ
การดําเนินงานตามกฎหมายใหม่นี้ ได้แก่ การจัดสถานที่ให้การคุ้มครองชั่วคราว ตามมาตรา ๒๙ ซึ่งจะใช้
เป็นสถานที่ในการสอบสภาพข้อเท็จจริงบุคคลที่สงสัยว่าอาจตกเป็นผู้เสียหาย โดยจัดสถานที่สัมภาษณ์
และดูแลอย่างเหมาะสมและคํานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด และมาตรการและการจัดสถาน
คุ้มครองผู้เสียหาย ซึ่งการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ในระหว่างที่อยู่การดูแล ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาอาชีพ
ตามมาตรา ๓๓ ทั้งนี้ นัยตามมาตรานี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการให้ผู้เสียหายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
ยุติธรรมมากขึ้น โดยให้มีการแจ้งสิทธิของผู้เสียหายที่พึงได้รับการคุ้มครองในแต่ละขั้นตอน ขอบเขตและ
ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือ และต้องรับฟ๎งความคิดเห็นของผู้เสียหายก่อนด้วย รวมทั้งแจ้งสิทธิที่
จะเรียกและได้รับค่าสินไหมทดแทน โดยให้คํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความแตกต่างทางเพศ
อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรมของผู้เสียหาย
การแจ้งสิทธิของผู้เสียหายที่พึงได้รับการคุ้มครองในแต่ละขั้นตอนทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการ
ช่วยเหลือตลอดจนขอบเขต ระยะเวลาในการดําเนินการช่วยเหลือในแต่ละขั้นตอน และต้องรับฟ๎งความ
คิดเห็นของผู้เสียหายก่อนด้วย
การแจ้งให้ทราบถึงสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา ๓๔ กําหนดให้พนักงานสอบสวน
หรือพนักงานอัยการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนและสิทธิที่จะได้รับความ
ช่วยเหลือทางกฎหมาย และให้พนักงานอัยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย และตามมาตรา
๓๕ กําหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย ซึ่งการ
เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๓๕ นี้ เป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากมูลละเมิด
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ – ๔๔๘ จึงเป็นกรณีเดียวกันกับการขอให้ศาลสั่งให้
ชดใช้ค่าเสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๔/๑ และ ๔๔/๒
เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายชาวต่างชาติสามารถได้รับการผ่อนผันให้อยู่ใน
ราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว และได้รับอนุญาตให้ทํางานเป็นการชั่วคราวตามกฎหมาย ตามมาตรา
๓๗ โดยการขอผ่อนผันตามมาตรานี้ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดํานินคดี การรักษาพยาบาล
การบําบัดฟื้นฟู หรือการเรียกร้องสิทธิของผู้เสียหาย
๑๓๘