Page 159 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 159

กฎหมายกําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการให้มีการผ่อนผันและได้รับอนุญาตให้ทํางาน
                   ดังนั้น การจะได้รับการผ่อนผันหรือได้รับอนุญาตอย่างไร เป็นอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม

                   พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง และการทํางานของคนต่างด้าว
                          สิทธิในการได้รับการคุ้มครองพยาน (มาตรา ๓๖) โดยระบุการให้ความคุ้มครองความปลอดภัยใน
                   ทุกระยะไม่ว่าก่อน ระหว่างหรือหลังการดําเนินคดี และสามารถได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการ
                   คุ้มครองพยานในคดีอาญาด้วย ซึ่งประเด็นท้าทายตามมาตรานี้ ได้กําหนดให้รัฐบาลไทยได้ประสาน

                   หน่วยงานในประเทศต้นทางและปลายทางให้เกิดความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัว
                   อย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรได้รับการหารือร่วมกับต่างประเทศด้วยเช่นกัน
                          การคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหาย ตามมาตรา ๓๖  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีความ
                   คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัว ทั้งก่อนและหลังการดําเนินคดี  โดย

                   ผู้เสียหายที่จะให้การหรือเบิกความเป็นพยานจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
                   พยานในคดีอาญา
                          นอกจากนี้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายด้วยการกําหนดโทษ
                   แก่ผู้ที่เผยแพร่ภาพหรือเสียงผ่านสื่อใด ๆ ให้รู้ถึงชื่อ สกุล ประวัติ ที่อยู่ ที่ทํางานสถานศึกษา ของเหยื่อ

                   การค้ามนุษย์ โดยมีโทษจําคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๖๐, ๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ยกเว้น
                   ผู้เสียหายยินยอมเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายเองหรือเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหาย
                          ๔. กลไกสนับสนุนการดําเนินงาน โดยกฎหมายได้กําหนดให้มีกลไกต่างๆ ในระดับชาติ เพื่อ

                   รองรับการดําเนินงานตามกฎหมาย ดังนี้
                          ๑. คณะกรรมการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
                   กรรมการ มีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขานุการ มีอํานาจในการ
                   กําหนดนโยบายยุทธศาสตร์แนวทางการศึกษาวิจัย ปรับปรุงกฎหมาย
                          ๒. คณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.)

                   มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนา
                   สังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขา ทําหน้าที่จัดทําและกํากับการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
                   และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมทั้งการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ  ซึ่ง

                   คณะกรรมการชุดนี้จะถือเป็นกลไกขับเคลื่อนในระดับหน่วยงานปฏิบัติอย่างแท้จริง
                          ๓. กองทุนเพื่อการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้ถูกระบุไว้ในกฎหมายด้วย  เพื่อให้มี
                   เงินสําหรับการปูองกันและปราบปราม การสงเคราะห์เยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมีคณะ
                   กรรมการบริหารกองทุน มีระเบียบเบิกจ่ายรองรับ ทั้งนี้ รัฐบาลได้กําหนดให้นําเงินทุนที่เหลือจากกองทุน

                   ๑ ล้านบาทที่ได้มาจากการประกาศเป็นวาระแห่งชาติ มาเป็นทุนประเดิมให้แก่กองทุนตามกฎหมายใหม่นี้
                   ซึ่งกองทุนตามพระราชบัญญัติฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้เสียหาย
                   จากการค้ามนุษย์  ช่วยเหลือให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือกลับถิ่นที่อยู่ และช่วยเหลือการ
                   ดําเนินกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ด้านการปูองกันและปราบปราม

                   การค้ามนุษย์ โดยที่มาของเงินกองทุนประกอบด้วย งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้  เงินงบประมาณ
                   รายจ่ายประจําปี เงินบริจาค เงินดุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงเงินหรือ
                   ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์



                                                            ๑๓๙
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164