Page 157 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 157
(๙) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัตินี้มีผล
บังคับใช้เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ สาระสําคัญของพระราชบัญญัติฯนี้ สามารถสรุปประเด็นหลักๆ ได้
๔ ประการ ดังนี้
๑. นิยามความหมายที่ครอบคลุม
มีการให้คํานิยามและขอบเขตของการค้ามนุษย์ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเปูาหมาย ครอบคลุมลักษณะ
ของการกระทําความผิด โดยเป็นคํานิยามที่สอดคล้องไปกับพิธีสารเพื่อการปูองกัน ปราบปรามและลงโทษ
การกระทําผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก โดยครอบคลุมกลุ่มผู้เสียหายที่เป็นชายด้วย
ดังนั้น กฎหมายไทยจะมีความพร้อมในการประสานงานในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และ
สามารถดําเนินการไปตามกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้
๒. เพิ่มอํานาจในการบังคับใช้กฎหมาย
มีการระบุอัตราโทษฐานความผิดการค้ามนุษย์ที่ชัดเจน เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องในพระราชบัญญัติ
เดิม ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าชื่อกฎหมายจะตัดคําว่า “มาตรการ” ออกไป เพื่อให้น้ําหนักกับการลงโทษมากขึ้น
โดยสามารถบังคับใช้ลงโทษได้ทั้งผู้กระทําผิดที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ได้ทั้งทางแพ่งและอาญา
โดยจําแนกระวางโทษดังนี้ กระทําแก่บุคคลอายุเกิน ๑๘ ปี มีโทษจําคุกตั้งแต่ ๔ – ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่
๘๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐ บาท กระทําแก่บุคคลอายุเกิน ๑๕ – ๑๘ ปี มีโทษจําคุกตั้งแต่ ๖ – ๑๒ ปี และ
ปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ – ๒๔๐,๐๐๐ บาท และกระทําแก่บุคคลอายุไม่เกิน ๑๕ ปี มีโทษจําคุกตั้งแต่ ๘ –
๑๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๖๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ บาท ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่
๒๐๐,๐๐๐ – ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้กระทําผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องระวางโทษเป็น
๒ เท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น และถ้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ
ทุกคณะตามพระราชบัญญัติ นี้ จะต้องระวางโทษเป็น ๓ เท่า
การให้อํานาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะ
ประกอบด้วยพนักงานฝุายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ
สาม โดยรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีอํานาจ
เพิ่มมากขึ้น เช่น ตามมาตรา ๒๗ สามารถมีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานได้
สามารถเข้าตรวจตัวบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจเป็นผู้เสียหาย ตรวจค้นยานพาหนะหรือเข้าไปใน
เคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น ยึดหรืออายัด หรือเพื่อช่วยผู้เสียหาย โดยตามมาตรา ๒๙ อาจจัด
ให้ผู้เสียหายอยู่ในการคุ้มครองเป็นการชั่วคราวไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง และในกรณีที่มีความจําเป็นให้สามารถ
ร้องขอต่อศาลในการขออนุญาตให้การคุ้มครองเป็นการชั่วคราวได้ โดยศาลจะอนุญาตได้ไม่เกิน ๗ วัน โดย
กําหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ และให้จัดอยู่ในสถานที่ดูแลซึ่งไม่ใช่ห้องขัง อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ตามมาตรา
๓๐ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังสามารถยื่นคําขอต่อผู้มีอํานาจเพื่อให้มีคําสั่งให้ได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูล
ข่าวสารได้ ทั้งนี้ กฎหมายได้กําหนดขอบเขตของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้โดยจะต้องดําเนินการตาม
หลักเกณฑ์การปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในกฎหมายเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ในการใช้อํานาจดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น
การขออนุญาตต่อศาล การรายงานผู้บังคับบัญชา อีกทั้งยังต้องแสดงบัตรประจําตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
ด้วย
นอกจากนี้ยังให้อํานาจพนักงานอัยการสามารถนําผู้เสียหายหรือพยานบุคคลเพื่อขอสืบพยานไว้
ก่อนได้ โดยระบุการกระทําความผิดและเหตุแห่งความจําเป็น ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดให้กระบวนการยุติธรรม
ดําเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ตามมาตรา ๓๑ โดยเหตุผลในการขอให้มีการสืบพยานไว้ก่อตามกฎหมาย
๑๓๗