Page 143 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 143

ขึ้น ต้องยอมรับอย่างตัวเองเราไปอ่านกฎหมาย ก็จะไม่เข้าใจ เหมือนกัน อาจจะต้องช่วยตีความให้มันง่าย
                   กับผู้ปฏิบัติจริงๆ หรือว่าตัวผู้ปฏิบัติจริงทํางานนี้จนเชี่ยวชาญแล้วไม่ใช้โยกไปโน่น โยกไปนี้ มันอาจจะต้อง

                   มีการวางมาตรฐานให้พนักงานจะต้องสร้างขวัญกําลังใจกับพนักงาน แบบนี้ก็ควรจะให้เขาด้วย มีการ
                   แก้ป๎ญหาจริงๆ คือกฎหมายมันมีเยอะ มันมีออกมาใหม่ๆ แล้วมันก็ต้องอาศัยทนายความช่วย มันอาจจะใช้
                   พรบ. ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเดียวไม่ได้  รัฐเองควรจะคํานึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็น
                   สําคัญ แล้วมีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องได้บ้าง ก็ควรที่จะบอกข้าราชการที่อยู่ในฝุายที่ปฏิบัติได้รู้ เรื่องค้า

                   มนุษย์ไม่ใช่การเอา พ.ร.บ.ค้ามนุษย์อย่างเดียวมาจับได้ทั้งหมด คนที่ทํางานจะต้องได้รู้ว่ามีกฎหมายอะไรที่
                   เกี่ยวข้องบ้าง ข้าราชการที่ปฏิบัติงานต้องได้รับข้อมูลใหม่ๆ แล้วก็ต้องมีการกํากับดูแลประเมินด้วยว่าเขามี
                   ความรู้ใหม่ ไม่ใช่ว่าเอาความรู้ใหม่ไปใช่แสวงหาเพื่อผลประโยชน์อะไรอย่างนี้ เราก็ต้องมีการประเมิน
                   ติดตามด้วย

                          ทีมสหวิชาชีพก็ควรที่จะไม่ใช่เฉพาะที่มีในหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ควรเป็นทีมสหวิชาชีพที่ทํางาน
                   ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และควรมีเรื่องของการสนับสนุนงบประมาณในการปูองกัน
                   ปราบปรามการค้ามนุษย์ให้กับหน่วยงานเอกชนด้วย เพราะก่อนหน้านี้งบประมาณได้เทไปที่หน่วยงาน
                   ภาครัฐค่อนข้างเยอะ

                          อีกหนึ่งคือพอมีคําสั่งให้ยึดทรัพย์ผู้ค้ามนุษย์รายใหญ่  ช่วงกว่าจะยึดได้ต้องรอคําสั่ง คนที่ถูกคําสั่ง
                   เขาก็โยกย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปหมดแล้ว ไม่เหลืออะไร มันไม่ควรเป็นอย่างนี้  ซึ่งถ้าเรานําเงินนี้มาใช้ใน
                   การปูองกันปราบปรามช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์มันจะใช้ได้มากกว่าการที่เรานําเงินภาษีของ

                   ประชาชนคนไทยเราไปช่วยมากกว่าด้วยซ้ํา เพราะยังไงมันก็คือเงินที่ได้มาจากน้ําพักน้ําแรงหรือการถูก
                   หลอกของเขา รัฐก็มีเรื่องของนโยบายที่ให้การคุ้มครองหรือสวัสดิการให้กับตัวบุคคลที่เป็นผู้เสียหายหรือ
                   เป็นพยานมากกว่านี้ มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง เช่นการเอาผิดกับนายหน้าที่อยู่ประเทศต้นทาง
                          อีกอย่างหนึ่งคือการให้สวัสดิการแก่เหยื่อค้ามนุษย์  เขาต้องอยู่นาน  ช่วงที่เขาอยู่นานก็ต้องมีงาน
                   ให้เขาทํา ซึ่งกฎหมายไทยก็ให้อํานาจไว้ตามมาตรา ๓๗ แต่ว่าการปฏิบัติจริงๆก็มีช่องว่าง คือพอระยะ

                   เวลานานความปลอดภัยของตัวเด็กมันก็จะไม่มีอะไรที่ให้เขาทําได้ แต่จริงๆเราสามารถหาช่องทางให้เด็กที่
                   อยู่ในช่วงนี้ให้สามารถทํางานได้ มากกว่านั้น คิดว่ามีหน่วยงานที่รับรองที่ให้เขาไปทํางานที่เขาไว้ใจ
                   มากกว่าด้วยซ้ํา  มันก็จะทําให้เด็กเหล่านี้ยอมอยู่เป็นพยานมากขึ้น เพราะว่าช่วงหลังๆเด็กไม่ค่อยจะอยู่

                   เพราะมีการสอนกันมาว่าให้พูดไปเลยว่าไม่ใช่ๆ ก็จะได้กลับบ้าน มันก็จะเป็นไปในลักษณะนั้น ดังนั้นการ
                   ดําเนินการเอาผิดก็จะไม่ได้มีความหมายอะไรเลย ก็คุณไม่ได้ Support  ที่จะให้เขาอยู่ได้ เด็กบอกกับเรา
                   เองเลยว่า พี่หนูจะอยู่ทําไมก็พ่อแม่หนูรอใช้เงินอยู่ หนูอยู่นี้ ปี ๒ ปี  มีเงินส่งกลับบ้าน แต่ถ้ากลับบ้านหนู
                   ไม่มีอะไร เราต้องมีอะไร Support ให้กับเขาด้วย เพราะเขาคือผู้เสียหาย

                          ประเด็นสุดท้ายที่ AAT  อยากกล่าวถึง คือ ประเทศไทยไม่ค่อยมีบทลงโทษกับผู้ซื้อ เอาผิดผู้ซื้อ
                   ทั้งๆที่จริงๆแล้วหลายๆประเทศเขามีและก็มีความสําคัญ อย่างเวลาเราเข้าไปใช้บริการ ทั้งที่จริงๆแล้วคัด
                   แยกมาทีหลัง เขาก็มีเป็นเด็กอยู่หลายคน  ที่จริงผู้ซื้อก็ผิด แต่ด้วยกระบวนการคือมันซับซ้อนแล้วก็เยอะ
                   เอาแต่มุ่งไปที่ตัวคนขายบริการ ทั้งๆที่จริงแล้วเขาก็เป็นผู้เสียหาย เพราะฉะนั้นคิดว่าสิ่งที่ควรปรับปรุงคือ

                   เรื่องของผู้ซื้อด้วย เพราะว่าเท่าที่ผ่านมาทั้งหมด การค้ามนุษย์ถ้าไม่มีผู้ซื้อก็ไม่มีผู้ขาย แต่เรามองข้ามส่วน
                   ของผู้ซื้อไป




                                                            ๑๒๓
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148