Page 141 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 141
ส่วนตัวผู้นําพา ช่วงหลังๆเขาก็จะใช้วิธีการให้เด็กมาเองบ้าง โดยไม่ได้บอกว่ามาทําอะไร ก็คือให้
เขามาเอง แล้วก็จะมีคนมารับไปเป็นช่วงๆ หมายถึงมารับขึ้นมอเตอร์ไซค์ ขึ้นเรือ หรืออะไรอย่างนี้ ซึ่งคน
เหล่านี้ที่นําพาเป็นจุดๆ เด็กเหล่านี้ก็จะไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร เพราะเขาจะมาแค่ช่วงสั้นๆ คือพาไปส่งต่อ ส่ง
ต่อ ส่งต่อ แล้วเด็กก็จะไม่รู้ชื่อคนเหล่านั้นซึ่งเขาจะไม่ให้ข้อมูลอะไรเลย เขาก็จะไม่ทราบอะไรเลย ทําให้
เอาข้อมูลได้ยาก เมื่อก่อนจะมีกระบวนการแบบชักชวน คนเดียวพาไปส่ง แล้วก็จบ เด็กก็พอจะมีข้อมูล มี
เบอร์โทร มีชื่อ แต่หลังๆก็จะไม่มี ป๎จจุบัน จะมีวิธีการที่ เจ้าของจะร้านพยายามให้ตัวเด็กในร้านที่ทํางาน
มานานแล้วหรือเด็กที่เขาไว้ใจให้มีการควบคุมเด็กของตัวเองเป็นคนๆ คือเหมือนมีเด็กในสต๊อกของตัวเอง
ในแต่ละคน คอยดูคอยเช็คว่าเด็กกลับมาแล้วหรือยัง ก็จะเป็นวิธีการควบคุมกันเองภายในร้าน ดังนั้น การ
เข้าไปช่วยเหลือก็จะยากขึ้น เพราะว่าเวลาการจะคัดแยกเราก็จะไม่รู้ว่าคนกลุ่มเหล่านี้คือใคร ดังนั้นการ
ช่วยเหลือก็จะมีขั้นตอนที่ยากขึ้นกว่าเดิมมาก
เมื่อก่อนเราก็จะรู้สึกว่า เด็กเหล่านี้ก็คงถูกหลอกมาด้วยกันหมด แต่ช่วงหลังๆ มีวิธีการที่เด็ก
เหล่านี้ก็จะมีกลุ่มที่แฝงตัวมาเป็นคนคุมที่จะคอยบอกข้อมูลเด็ก อย่างเวลาที่ช่วยเหลือก็จะบอกว่าไม่ต้อง
บอกอะไร ถ้าถูกถามเรื่องอายุก็ให้บอก ๑๘ ปีขึ้นไป หรือ ๒๐ ปี เขาก็จะมีขบวนการสอนอย่างนี้มากขึ้น
การคัดแยกหรือช่วยเหลือ ก็จะยากขึ้นมากกว่าเดิม
จากประสบการณ์ของมูลนิธิฯ พบว่า เดี๋ยวนี้การขายบริการทางเพศมีทั้งสมัครใจและถูกหลอกมา
น้องบางคนก็รู้อยู่ว่าต้องมาขายบริการทางเพศ แต่พอมาถึงที่ร้านมันไม่เป็นไปตามตกลง ก็ตอนแรกบอกว่า
ถ้ามาแล้วไม่อยากทําก็กลับได้ คือไม่ชอบใจก็ไม่ต้องทําได้ พอมาถึงที่ร้านพาสปอร์ตถูกเก็บ ไม่ขายก็จะ
บอกเรื่องรายการของหนี้สิน อย่างตอนแรกก็ยังไม่มีหนี้สินเรื่องของค่าเดินทาง พอมาถึงร้านน้องก็จะมี
หนี้สิน ก็คือมันจะถูกบังคับกลายๆ
ตอนนี้คนที่มาขายบริการทางเพศก็มีลาว พม่า ส่วนกัมพูชาเป็นเรื่องของขอทานมากกว่า
เวียตนามก็ตรงเลย มาเลเซียเวลาจะกลับก็จะประสานด้วยกัน ก็คือ ของเวียตนามจะต่างจากของไทย เขา
จะมีวิธี แต่งงานกับผู้หญิงแล้วก็ไปที่มาเลเซีย ถ้าเวียตนามจะมาของไทยก็คือ เช่นกรณีของอุ้มบุญ AAT
เคยทํา เป็นกรณีมารับจ้างอุ้มบุญ แต่ว่าน้องก็จะถูกล่วงละเมิด คือถูกบังคับหลายอย่าง ก็เข้าข่ายค้ามนุษย์
ตอนนั้นที่เราช่วยมันก็เข้าข่ายอยู่ และเราได้รับการประสานจากสถานทูตในการเข้าไปช่วยเหลือ
Case ของ AAT ส่วนมากจะเป็นคนลาว เพราะว่าการปูองกันในพื้นที่ในชุมชนเราให้ข้อมูล มี
การทําประชาสัมพันธ์ว่าถ้ามีเหตุอะไร พ่อ แม่ลูกหาย ให้โทรประสานที่เรา ดังนั้นก็เลยมีข้อมูลทางลาว
มากกว่าที่อื่นๆ ในประเทศพม่า เราเพิ่งเริ่ม แล้วก็มีกรณีที่ให้เราเริ่มช่วยเหลือแล้ว แต่ว่ามันจะยังไม่เยอะ
เพราะว่าในลาวทํามานานกว่า และก็เข้าไปในพื้นที่ชนเผ่ามากกว่า เวลาที่น้องๆกลับไปลาวก็จะให้สื่อไป
แจก ให้เขาไปประชาสัมพันธ์ว่า ให้ช่วยกันเฝูาระวัง และส่งข้อมูล เรามี MOU กับทางสหพันธ์แม่หญิงลาว
ส่วนประเทศเมียนมาเรากําลังริเริ่ม และเราก็ยังไม่ได้ทําการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ
จากประสบการณ์ ที่ผ่านมา ป๎ญหาอุปสรรคคือเรื่องคอรัปชั่น การเรียกรับผลประโยชน์ สิ่งเหล่านี้
มันทําให้เรื่องของการแก้ป๎ญหามันไปไม่ถึง มันไปไม่สุด เพราะมีเรื่องของการรับผลประโยชน์ เรื่องของการ
ทุจริต ดังนั้นการแก้ไขป๎ญหาก็จะไม่สุด มันก็จะได้แค่พื้นๆ ได้แค่แตะๆ แต่มันก็ไปไม่ถึงก็เลยเป็นวงจร
กลับมาเหมือนเดิม แก้ไขไม่จบไม่สิ้น จับได้เปลี่ยนร้าน เปลี่ยนชื่อร้านใหม่ ระบบมันก็จะเป็นอย่างนี้
หลังเปิดประชาคมอาเซียน บอกได้ว่าป๎ญหาจะซับซ้อนมากขึ้น เพราะว่าระดับแต่ละประเทศ
นโยบายแต่ละประเทศ หรือว่ากฎหมายอะไรต่างๆของแต่ละประเทศ มันก็ไม่ได้ เท่าที่เห็นมันยังไม่มีใน
เรื่องของสังคมมากนัก หรือว่าการประชุมหรือว่ารัฐมนตรีอะไรต่างๆ ก็จะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจซะเป็น
๑๒๑