Page 139 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 139
การลงการช่วยเหลือแบบสหวิทยาการ มีการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและก็ทํางานร่วมกับรัฐในเรื่อง
ของบ้านพัก และส่งเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ไปทํากิจกรรมในเวลาเข้ากระบวนการคุ้มครองหลังจากคัดแยก
เหยื่อ จนไปถึงเรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อการส่งกลับ ก่อนที่จะส่งกลับก็จะมีการไปสํารวจครอบครัวว่าเขา
พร้อมที่ส่งกลับแล้วหรือยัง หรือบางคนถ้านานมาก ก็จะจําบ้านไม่ได้ ก็จะไปสํารวจดูก่อนว่าพร้อมที่จะคืน
สู่สังคมในประเทศต้นทางได้หรือยัง
มูลนิธิฯ เน้น case ของผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเป็นหลัก
และก็ส่วนมากจะเป็น case จากประเทศเพื่อนบ้าน ในประเทศไทยก็มีหน้าที่ในการช่วยเหลือ การคัดแยก
การบําบัดฟื้นฟู การเตรียมเด็กคืนสู่สังคม และก็มีงานปกปูอง ในประเทศสหภาพเมียนมา จะเป็นการ
ทํางานในเชิงลักษณะสร้างแกนนํา ไม่ได้ลงไปในพื้นที่โดยตรง แต่ทํางานในลักษณะประสานร่วมกับ
เครือข่ายและสร้างแกนนําเครือข่ายของชุมชนในการทํางานปกปูองในประเทศต้นทาง และอีกงานก็คือ
งานปูองกัน งานปูองกันก็จะมีงานที่ประเทศลาว เมียนมา ที่ชายแดนไทย ลาว ที่ช่องเม็กที่มีศูนย์ช่วยเหลือ
คุ้มครองเด็กอยู่ที่ช่องเม็กและก็ข้ามไปปกปูองที่วังเต่า และป๎กเซ ประเทศลาว เหตุที่ต้องทําเช่นนี้
เพราะว่าจากข้อมูลการสํารวจเส้นทางการค้ามนุษย์ และข้อมูลที่ได้จากเด็ก AAT ก็จะอยู่ตามจุดที่ที่เกิด
ขึ้นกับตัว case ที่เราช่วยเหลือ อันนี้เป็นจุดของงานปูองกัน ต่อไปคืองานการส่งกลับคืนสู่สังคม สร้าง
เสริมศักยภาพของผู้หญิงและเด็กไม่ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง กระบวนของงานนี้ก็คือ การสร้างทางเลือกของ
อาชีพ สร้างเสริมพลังอํานาจให้กับตัวเขาให้เขามีความเข้มแข็งขึ้น ไม่ท้อกับการที่ตกเป็นเหยื่อ อันนี้คือ
กระบวนการที่ส่งกลับแล้ว บําบัดแล้ว ฟื้นฟูแล้วก็เป็นงานที่สร้างศักยภาพการกลับคืนสู่สังคม โดยที่จะทํา
กับประเทศต้นทาง
นอกจากเรามีมูลนิธิ AAT ที่ประเทศไทยแล้ว เราก็มี AAT ที่เวียตนามที่มีรายละเอียดที่จะต่างกัน
ไป เวียตนามเป็นประเทศของคอมมิวนิสต์ เขาก็มีการทํางานที่ต่างกับเรา กระบวนการ รูปแบบการ
ทํางานเราก็แตกต่างกัน เพราะว่ามันต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ การเมืองของแต่ละประเทศ
และกฎหมายด้วย
การที่ประเทศไทยเป็นต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์เพราะด้วยภูมิศาสตร์คือ
ที่ตั้งของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ตรงกลางและอีกอย่างคือความไม่เท่าเทียมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ถ้าคน
ไทยไปต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ที่ต่างคนต่างหางาน หาชีวิตที่ดีมากกว่า นอกจากนี้
ก็ยังมีเรื่องค่านิยมของแต่ละประเทศที่มีการปลูกฝ๎ง ทําให้คนแต่ละประเทศหลั่งไหลที่จะเดินทางออกไป
หรือไปอยู่ที่ประเทศไทย ต้องดิ้นรนในการไปหารายได้ของตัวเองโดยการไปประเทศที่พัฒนามากกว่า
ประเทศไทยดีทั้งในเชิงภูมิประเทศ เศรษฐกิจที่เข้าง่าย ออกง่าย มีตลาด มีสินค้า มีสถานที่ มีตลาดที่
ต้องการแรงงานทั้งหญิงและชาย เกษตร ต้องการแรงงานทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ไทยเป็น
ประเทศที่กําลังพัฒนา และพัฒนามากกว่าลาว มากกว่ากัมพูชา ถ้าเราดูได้จากเรื่องของระบบการเมือง
ประเทศไทยเสรีกว่า สมดุลกว่าประเทศอื่นๆ มีความน่าอยู่มากกว่า และเรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ด้วย เป็นเรื่องใหญ่ มีลักษณะของการเดินทางข้ามผ่านไปมา บางพื้นที่เป็นที่เศรษฐกิจพิเศษหรือเป็นโซน
ท่องเที่ยวก็มีการ อะลุ่มอล่วยเป็นการผลักดันให้เป็นทั้งประเทศปลายทางและประเทศทางผ่านด้วย
เรื่องประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็น Tier ๓ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย พอเริ่มว่าไทยได้ Tier ก็มีหลาย
หน่วยงานที่ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นที่จะจับประเด็นนี้มากขึ้น แต่บางที่การทํางาน ก็แค่เป็นการทํางาน
บางช่วงในช่วงที่จัดลําดับเท่านั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของการให้ความสําคัญที่หมายถึงที่ดูประเด็นการแก้ไข
ป๎ญหาตัวนี้ให้สุด แก้ไขป๎ญหาอย่างจริงจัง แต่มันไม่ได้เป็นแบบนั้น แต่จะเป็นช่วงๆเท่านั้นที่จะให้
๑๑๙