Page 140 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 140
ความสําคัญมันก็เลยเป็นเรื่องของการแก้ไขป๎ญหาแบบเป็นครั้งไป จัดอันดับที แก้ไขที ให้ความสําคัญที
อะไรอย่างนี้ มีการระบุมาว่าเรามีป๎ญหาข้อไหน ก็จะไปให้ความสําคัญกับป๎ญหาตรงนั้น แต่ไม่ได้มองใน
ภาพรวมว่า แล้วจริงๆมันเป็นอย่างนั้นไหม ที่ต้องมาร่วมกัน แต่ก็ไม่ใช่แบบนั้น และก็อีกแบบหนึ่งก็คือ พอ
เรื่องมีการเข้มงวดขึ้น หน่วยงานหลายหน่วยงานให้ความสําคัญขึ้น มีความเข้มงวดขึ้น มีการจัดการเพิ่ม
มากขึ้น ก็ทําให้รูปแบบของการจัดการหรือว่าการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศพวกนี้กับตัวเด็กก็จะเริ่ม
เปลี่ยนไป มีลักษณะที่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพิ่มมากขึ้น โดยมีวิธีการที่เป็นในลักษณะที่ใช้วิธีการเปิด
กลางวันแทน หรือเป็นการใช้วิธีการที่ไม่เอาตัวเด็กไปที่ร้าน แต่ใช้เป็นวิธีการกระจายเด็กไปส่งแต่ละทีๆ
หรือเอาเด็กไปส่งที่โรงแรมอะไรอย่างนี้ ก็จะไม่เป็นลักษณะที่ให้บริการทางนั้นแล้ว เขาก็จะมีลู่ทางหา
ช่องว่างของการหาผลประโยชน์ของเขาที่แตกต่างไปที่ให้เอาผิดเพิ่มยากมากขึ้นกว่าเดิม คนพวกนี้เขาจะ
มีเครือข่ายของกันเอง สมมติว่าอยู่กรุงเทพ ฯ แต่เขาก็จะมีเครือข่ายอยู่ชลบุรี อยู่ระยองหรืออะไรอย่างนี้
วันๆหนึ่งเขาก็จะไปส่งเด็กที่ระยองบ้าง ชลบุรีบ้าง เป็นจุดๆไป เอาเด็กไปฝากตามแต่ละที่ๆ แล้วตอนเย็น
ก็กลับมา ก็จะเป็นวิธีการแบบนั้นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ที่เหมือนก่อนก็จะเป็นลักษณะที่ประประจํา เป็นร้าน
ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างมากขึ้นกว่าเดิม แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประเทศไทยพอถูกจัดอันดับ Tier ๓ เขาก็
จะมองว่าไทยเป็นแหล่งค้าบริการทางเพศของโลก ทุกคนก็จะมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศเสรีในการค้า
ถ้าต้องการก็มาที่นี้ มีทัวร์แบบนี้ ก็จะถูกมองไปแบบนั้นค่อนข้างเยอะ
คนที่ทําต้องยอมรับว่าเป็นระดับนโยบาย แต่ว่าคนที่อยู่กับสภาพป๎ญหานี้เป็นระดับปฏิบัติ ระดับ
ปฏิบัติรู้จัก Tier ๓ ไหม เข้าใจไหม ตระหนักถึงมันไหม ว่ามันมีผลกระทบต่อประเทศไทยอะไร ยังไงหรือ
เปล่าอันนี้ก็ไม่รู้ว่ายังไง ต้องกลับไปทําวิจัยว่าเขาเห็นความสําคัญของมันไหม Tier ๓ มันใช่ป๎ญหาของคนที่
อยู่ในพื้นที่ไหม เพราะว่าสถานการณ์การค้ามนุษย์หรือว่าข้อมูลที่สหรัฐได้ไป มันเป็นข้อมูลในการทํา มัน
เกิดจากในพื้นที่มาสู่กระบวนการหรือว่าด้านคดีต่างๆ อะไรอย่างนี้ มันถูกจุดไหม เพราะตอนนี้ก็เป็นอีกยุค
หนึ่ง พอหมดยุคนี้ไปแล้ว การค้ามนุษย์จะยังคงอยู่ไหม การประกาศว่าราชการคนไหน ทําผิดหรือเกี่ยวโยง
กับค้ามนุษย์จะโดนหนัก ถามว่าการค้ามนุษย์จะหมดไปไหม แต่ตอนนี้ดี พอเป็น Tier ๓ หลายหน่วยงานก็
มาช่วยๆกัน มาทํานู่น ทํานี้ ทําให้เขารับฟ๎งเรามากขึ้น อย่างเวลาที่เราไปยื่นจดหมาย แต่ในความรู้สึกก็ไม่
ต้องไปอิงสหรัฐมากหรอก เราจริงจังกับการแก้ป๎ญหามันจริงๆก่อน ตอบโจทย์ตัวเองชัดเจน ว่าตกลง
อนุญาตให้ค้าประเวณีได้หรือไม่ได้ มันก็น่าจะเคลียร์ได้ในบางส่วน
สําหรับเรื่องรูปแบบการจัดการค้ามนุษย์ที่เมื่อก่อน มีนายหน้า มีผู้ค้า ผู้นําพา ผู้รับ ผู้ควบคุมดูแล
ลูกค้าที่ซื้อบริการ ก็มีลักษณะที่เปลี่ยนไปบ้าง ตัวอย่างเช่นในตัวของนายหน้า ช่วงหลังจะใช้วิธีการที่ให้ตัว
เด็กในร้านเอง เป็นนายหน้าโดยการให้เปอร์เซ็นต์ว่าไปหาเด็กในหมู่บ้านมา ไปหาคนรู้จักมา โดยการให้
เปอร์เซ็นต์ ก็จะคิดจากหน้าตาเด็กที่ถูกพามา ซึ่งเมื่อก่อนกระบวนการนําพาก็จะเป็นต่างหมู่บ้าน คน
หมู่บ้านเดียวกันบ้าง แต่ช่วงหลังๆมาก็จะเป็นคนใกล้ชิดตัวเขาเพิ่มมากขึ้น เป็นเพื่อนเขา เป็นคนใน
ครอบครัว เป็นญาติพี่น้อง ซึ่งใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น พอใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้นก็ทําให้เรื่องของการช่วยเหลือก็
อยากขึ้น เพราะว่าเวลาที่จะดําเนินการอะไร ตัวเด็กก็จะถูกบล็อกโดยว่า ถ้าคุณให้ข้อมูลอะไรไปครอบครัว
จะเดือนร้อน เพราะเขารู้จักครอบครัว เขาสามารถเข้าถึงได้ ตัวเด็กก็จะไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ให้ข้อมูลมาก
เท่าใดนัก อะไรอย่างนี้เพราะว่า การแก้ไขป๎ญหาหรือว่าการดําเนินของเรา ดําเนินการไม่สุด เราไม่ได้เอา
ผิดกับตัวนายหน้าที่พา เราไม่ได้ดําเนินการกับ ประเทศต้นทางที่พามา แต่เราดําเนินการกับจุดเล็กๆที่เรา
ได้ขณะนั้น ที่เราเข้าไปช่วยเหลือ ก็ทําให้ตัวคนที่ให้ข้อมูลหรือผู้เสียหายเขาก็จะไม่ได้ให้ความไว้วางใจ การ
ที่เขาให้ข้อมูลไป เขาจะปลอดภัยไหม มันก็จะเป็นไปในลักษณะนั้น
๑๒๐