Page 138 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 138
เรื่องการส่งกลับ ต้องมีระบบรองรับที่ดี ถ้าเป็น Case ที่รุนแรง เป็นกระบวนค้ามนุษย์จริง ๆ เขา
อาจจะไม่ปลอดภัย ต้องมีการเตรียมว่าเขาจะไปอยู่ที่ไหนกับใคร ชุมชนรับเขาได้ไหม โดยเฉพาะเรื่องทาง
เพศ บางทีเขาอาจจะไม่พร้อมที่จะกลับไป
สําหรับ กฎหมายปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๕๑ มูลนิธิฯ เห็นว่า ตัวกฎหมายดี
อยู่ที่การบังคับใช้ ถ้านิยามว่าค้ามนุษย์ หมายถึง บุคคลที่ถูกหลอก ไม่ได้มาด้วยสมัครใจ หลายกรณี
กลายเป็นไม่ใช่เรื่องค้ามนุษย์ แต่จริงๆแล้วอาจจะเริ่มต้นสมัครใจเดินทางมาร้านอาหาร ไปถึงก็ทํางาน
ร้านอาหารจริง ๆ ไม่ได้ถูกขัง มีอิสรภาพ เขาจะต้องดูหลายองค์ประกอบร่วมกัน ช่องว่างมองว่า บางทีใช้
พรบ. ค้ามนุษย์อย่างเดียวไม่สามารถจัดการได้ จะต้องใช้กฎหมายหลายตัวเป็นส่วนประกอบ บางทีต้องใช้
พรบ.คุ้มครองเด็ก เข้ามาร่วมด้วย ใช้กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองเข้ามาดูด้วย ดูว่าเข้าข่ายตรงไหน เข้าข่าย
ค้ามนุษย์ไหม เวลารายงานออกมา หลายคดีไม่ใช่ค้ามนุษย์ คดีค้ามนุษย์จึงมีน้อย และมองว่า โทษ พรบ.
ค้ามนุษย์มันรุนแรงด้วย ไม่อยากเอาผิดกับใครเรื่องข้อหาค้ามนุษย์ ช่องว่างเรื่องอายุ สมมติเป็นเด็ก
ค้าประเวณีอายุเกิน ๑๘ ปี ผิดข้อหา พรบ.ค้าประเวณี อายุต่ํากว่า ๑๘ ปีถึงจะสมัครใจมา เข้าข่ายค้า
มนุษย์ การใช้กฎหมายลําบาก สับสน เรื่องความชัดเจนของกฎหมาย เรื่องการโฆษณา การเผยแพร่ เอา
เหยื่อมาออกข่าว ออกทีวีก็ยังมี ถึงแม้จะคุมหน้าคุมตาสัมภาษณ์ผู้เสียหายไม่ใช่เหยื่อค้ามนุษย์ เรื่องการ
บังคับใช้ยังใช้ไม่เต็มที่
มี พรบ. อีกฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ คือ พรบ. การฟอกเงิน สามารถนําไปใช้จัดการ
กับเจ้าของธุรกิจที่มีการค้าหญิงและเด็กเป็นล่ําเป็นสันแล้วเอาเงิน เอาไปลงทุน ไปฟอกเงิน สามารถเอา
กฎหมายการฟอกเงิน เป็นลักษณะเหมือนคดียาเสพติด ไปยึดทรัพย์ ตอนอบรมวิชาชีพมีการพูดถึง
กฎหมายตัวนี้ว่าสามารถเอา พรบ. ฟอกเงินเข้ามาจัดการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ได้
(๙) มูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT)
มูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ ทํางานเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้หญิงและเด็ก
โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงและตกเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ มูลนิธิพิทักษ์สตรีใน
ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๖ กว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา มูลนิธิ ฯ ได้ทําการช่วยเหลือคุ้มครองและส่งเสริม
การสร้างทางเลือกอาชีพให้แก่เด็กและผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ในธุรกิจทางเพศ มากกว่า
๓,๐๐๐ คน มูลนิธิฯ ตระหนักว่า การแก้ไขป๎ญหาเด็กและผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ต้องมีการ
แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ต้องเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกให้แก่เด็กและผู้หญิง
ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางในสังคม
โครงการแรกที่มูลนิธิฯ เริ่มทํางานกับทางตม. คือการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในธุรกิจ
ทางเพศ และเรื่องการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยคุ้มครองบําบัดฟื้นฟูผู้เสียหายตาม
กระบวนการ อีกโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่แรกๆ ก็คือโครงการส่งกลับผู้เสียหายคืนสู่สังคมในประเทศต้นทาง
ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียตนาม มีการทํางานร่วมกันในประเทศไทยและก็ประเทศต้นทาง เพราะป๎ญหา
การค้ามนุษย์เป็นป๎ญหาใหญ่ เขามีเครือข่ายที่โยงใยกันทั่วครอบคลุมกว้างไกลและรวดเร็วและเราก็คิดใน
ทิศทางเดียวกันว่า ถ้าองค์กรที่ทํางานเรื่องค้ามนุษย์มีเครือข่ายโครงข่ายร่วมกันได้ สามารถทํางาน
ประสานเชื่อมโยงกันได้ก็จะช่วยกันแก้ป๎ญหาได้ดีกว่าองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
มูลนิธิฯ แบ่งงานเป็น ๔ ฝุายงาน คือ งานปูองกัน งานช่วยเหลือ งานส่งกลับ และงานปูองกัน
เพิ่มทางเลือก สร้างอาชีพ และก็มีการจัดชุมชนเฝูาระวังอยู่ที่ชายแดนด้วย เพื่อปกปูองแล้วก็คุ้มครอง เป็น
๑๑๘