Page 147 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 147

อย่างเช่นไปจดทะเบียนว่าทํางานเกษตรแต่จริงๆเอาไปค้าประเวณี    อย่างถ้าไปทํางานตรวจแบบผ่านก็จะ
                   พบว่ามีใบอนุญาตให้ทํางานได้  มีเอกสารจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวจริง  ก็จะผ่านไปได้

                          ป๎ญหาอุปสรรคของประเทศไทยที่สําคัญก็คือเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ที่ยังไม่สําเร็จสักที
                   คือป๎ญหาคอรัปชั่น การบังคับใช้กฎหมายไม่เต็มที่หรือยังคงน้อย อันนี้ไม่ใช่แต่เพียงเจ้าหน้าตํารวจแต่
                   รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายอาจจะยังใช้ไม่เต็มที่  จึงก่อให้เกิดช่องว่างให้มี
                   การแสวงหาผลประโยชน์  อย่างเช่นเวลาเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เวลาตรวจพาสปอร์ต ๒๐ เล่ม  แต่

                   คนอยู่ในรถเกิน  ๒๐ คน  ถ้าคุณตรวจเป็นคนต่อคน  บางทีคุณอาจจะหยุดได้ตั้งแต่ตรงนั้น   เมื่อคุณรู้ว่า
                   พาสปอร์ตไม่ตรงกับจํานวนคน    อายุไม่ตรงกับหน้าเป็นต้น   บางทีอาจจะมีด่านตามทางเราก็ไม่รู้ว่าตรวจ
                   จริงหรือเปล่า    บางทีงานที่ระบุใน  work permit ไม่ตรงกับความจริง  แล้วเวลาพนักงานตรวจแรงงาน
                   ลงไปตรวจตรงนี้ด้วยหรือเปล่า   สมมุติว่ามีพนักงานตรวจแรงงานจากกรมแรงงาน  มีการตรวจสถาน

                   ประกอบการว่ามีการได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าวหรือเปล่า รับได้กี่คนพนักงานต่างด้าว แรงงาน
                   เหล่านั้นมี work  permit  หรือเปล่า   คือการลงไปตรวจตรงนี้มีความใส่ใจมากแค่ไหน  จริงอยู่หนักงาน
                   ของกรมการจัดหางานไม่มีภาระบทบาทบอกได้ว่าผู้นี้เป็นเหยื่อค้ามนุษย์หรือเปล่า   แต่เขาสามารถ
                   ตรวจสอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วหลังจากนั้นก็ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปตรวจสอบ

                   อีกทีจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                          เราถือว่าเราโชคดีที่ค่อนข้างจะได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานหลักๆ   ถ้าเรามี case
                   อย่างที่แม่สอดลูกของเขาถูกหลอกไป   เขาก็ส่งข้อมูลที่มาที่เรา   เราก็จะส่งต่อไปยังศูนย์ปฏิบัติการ

                   ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เขาก็ทํางานอย่างรวดเร็วแล้ว ยังมีการส่งผลการดําเนินการกลับมา
                   ด้วยว่าขั้นตอนถึงไหน  ผลเป็นอย่างไร  ศูนย์ปฏิบัติการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และ DSI  ได้
                   ให้ความร่วมมืออย่างดี  อาจจะเป็นด้วยที่เราทํามานานบางทีเขาก็ฟ๎งเราบ้างเวลาเราเสนอไปก็จะได้การรับ
                   ฟ๎งจากผู้มีส่วนรับผิดชอบ   บทบาทของเราอีกอย่างหนึ่งคือเราพยายามหนุนหลัง   อย่างบางครั้งเรา
                   พยายามสนับสนุนหน่วยงานรัฐในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ คือเราพยายามจะมี

                   วิธีการเสนอแนะ
                          การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี   ๒๕๕๘  IOM  เห็นว่า การค้ามนุษย์จะรุนแรงขึ้น
                   หรือไม่  ขึ้นอยู่กับความตระหนักของกลุ่มอาเซียนว่า  แต่ละกลุ่มประเทศต้องมีความร่วมมือกันทางด้าน

                   prevention (ปูองกัน)  protection (การคุ้มครอง)  prosecution (การดําเนินการ)  อาจจะดีขึ้นก็ได้แต่
                   มันอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น  แต่ไม่มั่นใจว่าการเคลื่อนไหวจะเป็นไปอย่างปลอดภัยหรือไม่  จึงต้อง
                   อาศัยความร่วมมือกลุ่มสมาชิกอาเซียนซึ่งเริ่มเอาจริงเอาจังมากขึ้น  แต่มันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก
                   ขึ้น เราจึงต้องมีการส่งเสริมการปูองกันให้มากขึ้นด้วย   ในขณะเดียวกัน การดําเนินการทางกฎหมายต้อง

                   เอาจริงเอาจัง ก็จะทําให้สถานการณ์ดีขึ้น
                          ใน Greater Mekong Sub region  (โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม
                   แม่น้ําโขง)  เรามีความร่วมมือที่ดีเพราะเรามีอนุสัญญา  แต่ในประเทศอาเซียนเรายังไม่มีกรอบข้อมูลที่
                   เด่นชัด   การปรับปรุงความร่วมมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอาเซียนที่สําคัญคือความเอาจริงเอาจังใน

                   ความร่วมมือ  ต้องมีตัวกลางที่มีประสิทธิภาพ
                          เรื่อง พ.ร.บ. ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๕๑ IOM   คิดว่าดีแล้ว แต่ว่าเรื่องการ
                   นําไปปฏิบัติยังมีจุดอ่อนด้วย  และก็การตีความด้วย  เท่าที่ผ่านมาเรามีป๎ญหาเรื่องการคัดแยกเหยื่อ   การ




                                                            ๑๒๗
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152