Page 148 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 148

ตีความใครมีหน้าที่ตีความ   ตอนแรกเหมือนจะเป็น  ๓ วิชาชีพแต่คนที่จะระบุได้คือพนักงานสอบสวน
                   แต่บางทีพนักงานสอบสวนไม่ได้อยู่ในที่สัมภาษณ์ก็จะไปยอมเซ็นให้

                          อีกเรื่องหนึ่งที่อยากให้ชัดเจนก็คือเรื่องเงินตอบแทน   อาจจะมีแนวออกมาให้ผู้ปฏิบัตินําไปใช้ได้
                   จริง   อย่างกรณีอนุญาตให้ผู้เสียหายออกไปทํางาน คือกฎหมายดี แต่มันขัดกับความถูกต้อง คือการ
                   ทํางานมันต้องมี work permit ซึ่งจะทําได้ก็ต้องมีเลขประจําตัว ๑๓ หลัก  ซึ่งต้องไปติดต่อกรมการจัดหา
                   งาน  เพื่อที่จะขอหนังสือทํางานในประเทศ  แต่อันนี้สามารถออกไปทําได้เลย ซึ่งมันขัดกับความถูกต้อง

                   แต่หลักการปฏิบัติยังเกิดได้แค่ผู้เสียหายที่เป็นผู้ชาย  แต่ผู้หญิงหลักการปฏิบัติยังไม่สามารถออกไปทํางาน
                   ได้   มันไม่ใช่จุดอ่อนของ พ.ร.บ.  แต่เป็นเรื่องของการนําไปใช้  การนําไปพัฒนาการปฏิบัติ  เหมือนการ
                   พยายามแปลความหมายของกฎหมายให้นําไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง   ผู้ปฏิบัติถึงจะนําไปใช้อย่างถูกต้อง
                   ถ้ามันยังยากอยู่ในการนําไปปฏิบัติมันก็ยังยาก

                          ยังมีเรื่องของการเรียกร้องค่าเสียหายคือทําให้เข้าใจง่ายๆต่อผู้ปฏิบัติ  โดยส่วนมากในนักสังคม
                   สงเคราะห์ซึ่งอาจจะมีความรู้ที่จํากัดในข้อกฎหมาย   ก็อาจจะเป็นการให้ความรู้กับนักสังคมสงเคราะห์
                   เพราะนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้เสียหายมากที่สุด ถ้าเขามีความรู้ด้านกฎหมายพอทีจะช่วยใน
                   การเรียกร้องค่าชดเชยให้กับผู้เสียหายได้

                          นอกจาก พรบ.  การปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๕๑  แล้ว ยังมี พรบ.  การฟอกเงิน
                   พรบ. ที่เกี่ยวกับการชดเชยค่าเสียหายในคดีอาญา   พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก  ในส่วนนี้ก็มีใช้อยู่แต่ถ้าจะหา
                   อะไรที่เกี่ยวข้องมาเอาผิดผู้กระทําผิดให้มันครบถ้วน การทํางานของแต่ละสหวิชาชีพก็จะทําให้การมอง

                   ผู้รับบริการได้หลายอย่างหลากหลาย และนํากฎหมายนําไปใช้ให้ได้มากที่สุด  เอาผิดผู้กระทําผิดให้ได้มาก
                   ที่สุด
                          กฎหมายที่ควรปรับปรุงแก้ไขคือเรื่องของค่าตอบแทนในคดีอาญาที่ให้แต่ละคนมาขึ้นศาลก็จะมี
                   ค่าตอบแทนในการที่มาขึ้นศาลอย่างเช่นพยาน  ค่าตอบแทนค่าเดินทาง  อาหาร  ซึ่งป๎จจุบันมันได้น้อย
                   มาก และเบิกได้ ๑ – ๒ ครั้งเท่านั้น  แต่การขึ้นศาลของพยานมันต้องขึ้นมากกว่า ๒ ครั้ง  จึงเป็นภาระของ

                   พยาน
                          นอกจากปรับปรุงข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วขอให้ข้อเสนอแนะเรื่องการประสานงานระหว่าง
                   หน่วยงานหลักของภาครัฐ  คือทุกท่านทํางานอย่างเต็มที่แต่ไม่มีการประสานงานกันมันก็ไม่เกิด

                   ประสิทธิภาพ   อยากให้มีการประสานงานมากขึ้น  ได้ข้อมูลมาแล้วไม่เก็บไว้ที่ตัวเองคนเดียว  มีการดูว่า
                   ข้อมูลนั้นมันเกี่ยวกับใครแล้วก็ส่งต่อ   จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานได้

                   บทสรุปบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคม

                          จากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารขององค์กรภาคประชาสังคม ๑๐ องค์กร ทําให้ได้ข้อมูลอย่าง
                   ชัดเจนด้านบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคม ป๎ญหาอุปสรรคในการดําเนินงาน ความคิดเห็นต่อการ
                   ปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐ ความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ. การปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๕๑
                   และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การค้ามนุษย์ หลังจากเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

                   อาเซียน  การปรับปรุงกฎหมาย และนโยบายเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นในการปูองกันและปราบปราม
                   การค้ามนุษย์
                          โดยภาพรวม บทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมค่อนข้างลงลึก เกาะติดป๎ญหา มีความเข้าใจ
                   และใกล้ชิดกับเหยื่อของการค้ามนุษย์ สามารถช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ได้เป็นอย่างดี มีบทบาททั้ง


                                                            ๑๒๘
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153