Page 137 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 137
แรก ๆ ทํางานล้างจาน หลัง ๆ อาจจะมีแขกสนใจ กระซิบถามเจ้าของร้าน แขกชวนไปเที่ยวไปไหม ไปสิ
เขาก็รู้ว่าไปเที่ยวยังไง แต่บางทีเขาไม่รู้จะพาเพื่อนไปด้วย เลี้ยงข้าว ไม่ได้ไปคนเดียว สุดท้ายแล้วพาเข้า
โรงแรม ได้เงินมา มีครั้งที่หนึ่งก็มีครั้งที่สองตามมา เป็นลักษณะไม่ถึงกับบังคับ แต่จะชักชวนหลอกล่อให้
ตายใจ เด็กที่ทําแบบนี้ไม่เรียนหนังสือสูง ๆ เด็กในโรงเรียนส่วนใหญ่รู้ตัว ไม่ได้ถูกหลอก เขายินดีไปทํา
รายได้พิเศษ รายได้เสริมเข้ามา ที่เชียงรายและเชียงใหม่ พื้นที่ทีเราทํางานส่วนใหญ่เป็นลักษณะนี้
เคยมี case เด็กเชียงของ มีเพื่อนของเขาชวนไปทํางานพัทยา ทํางานร้านอาหาร รับแขก รายได้
ดี อยู่ที่นี้ ๓,๐๐๐ บาทแต่ถ้าไปพัทยา จะมีรายได้ ๑๐,๐๐๐ รวมคนได้ ๕ คนนั่งรถไป เด็กคนนี้ทํางานได้
สักพักหนึ่งก็ถูกส่งกลับ เพราะเด็กอายุประมาณ ๑๓ – ๑๔ ปี เจ้าของร้านอาหารกลัวตํารวจ ปรากฏว่า
เด็กมาถึงเด็กตกเลือด ไปตรวจพบว่าติด HIV ไม่รู้ติดมาตอนไหน นี่เป็นรูปแบบหนึ่ง คือ มีคนนําพาไป คน
ที่พาไปก็รู้จักตํารวจด้วย นั่งรถส่วนตัว ปิกอัพสองตอนไป เมื่อถึงด่านตรวจก็มีการให้เงินให้ทองตํารวจด้วย
สําหรับป๎ญหาอุปสรรคของประเทศไทยในเรื่องการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์นั้น
มูลนิธิฯ เห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่ดี ทันสมัย แต่มีป๎ญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ป๎ญหาคอรัปชั่น
สถานบริการมีเรื่องแอบแฝงอยู่ได้ก็อยู่ใกล้ตํารวจ ป๎ญหาทางเพศอยู่คู่กับประเทศไทยมานานมาก จนคน
มองเป็นเรื่องธรรมดา คิดว่าบางทีเด็กใจแตก เด็กสมยอม ทําอะไรไม่ได้
ข้อมูลของมูลนิธิฯ พบว่า สัดส่วนคนที่ไปใช้บริการทางเพศระหว่างคนต่างชาติกับคนไทยพอ ๆ
กัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ถ้าพัทยาเป็นต่างชาติ แต่พื้นที่ภาคเหนือลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนไทย มีทั้งพ่อค้า
ข้าราชการ มักระทั่งครูก็ยังไปซื้อบริการ และคนเป็นธุระจัดหา เป็นคนทุกอาชีพทุกวัย
หลังจากเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การค้ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นจากป๎จจัยเรื่องการ
เคลื่อนย้ายแรงงานได้ง่ายมากขึ้น เรื่องความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจ บ้านเราสามร้อยบาท คนอยู่
ประเทศลาวได้แปดสิบบาท ขณะภาพเด็กลาวข้ามมาภาคอีสานมีเยอะมาก มาด้วยเรื่องขายบริการทาง
เพศ แต่ภาคเหนือที่เชียงของ ส่วนใหญ่จะข้ามมาตอนปิดเทอม เข้ามาทํางานร้านอาหาร ส่วนทางฝ๎่งพม่า
ก็มีการขายบริการเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่
มูลนิธิฯ เห็นว่า ถ้าจะให้การปูองกันปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้นต้องทําร่วมกัน
ทั้งสองฝ๎่ง อันดับแรกในการให้ข้อมูล เมื่อจะเข้าสู่อาเซียนจะไปห้ามเขาไม่ให้เดินทางไม่ได้ แต่ว่าจะทํายังไง
ที่จะมีการไปให้ข้อมูลที่ต้นทางไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตามจากประเทศเพื่อนบ้านเรา หรือว่าอยู่ในเชียงรายที่
เขาจะเคลื่อนย้ายไปที่อื่นต่างประเทศ ทํายังไงที่เขาจะไม่ถูกหลอก ทํายังไงที่เขาจะเดินทางอย่างปลอดภัย
ถ้าเกิดสงสัยว่าตัวเองจะถูกหลอกหรือเจอเหตุการณ์ที่เข้าข่ายค้ามนุษย์ พบเห็นจะแจ้งหรือจะรายงานไปที่
ใคร ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่เขาควรจะรู้ เขาควรจะตระหนักสิทธิ ต้องมีการตรวจสอบก่อนเดินทางหรือ
เปล่า ว่าจะไปทํางานที่ไหน อะไร ยังไง บริษัทนี้ มีอยู่จริงไหม จะต้องให้ข้อมูลเหมือนกันและประสาน
ร่วมกัน สมมติว่าคนพม่าข้ามมาที่ท่าขี้เหล็ก ข้อมูลมีการกลั่นกรองบริษัทนี้อยู่กรุงเทพฯ อาจจะประสานมา
ได้ไหมว่าบริษัทนี้มีอยู่ในกรุงเทพจริงหรือไม่ ถ้าไม่มีจริงเขาจะถูกหลอกหรือเปล่า อันนี้เป็นการปูองกัน
กรณีที่มาอย่างถูกต้อง
กรณีการลักลอบเข้ามา บางทีก็ห้ามไม่ได้เขาอยากมา ถึงแม้วิธีการที่เขาจะมาอย่างถูกต้องมันทํา
ไม่ได้ก็ควรจะให้เขารู้ข้อมูลว่าจะต้องทําอย่างไร อะไรที่ควรต้องระวังบ้าง อันนี้ เรื่องของการรณรงค์สร้าง
ความตระหนัก เรื่องประสานความร่วมมือให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บางอย่างทําให้เหมือนกันได้ก็น่าจะ
ทําให้เหมือนกัน
๑๑๗