Page 134 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 134
ค่อนข้างมีป๎ญหารุนแรง โดยเฉพาะที่จังหวัดพะเยาสมัยก่อน มีผู้หญิงดอกคําใต้ ไม่ใช่ว่าเด็กหรือผู้หญิงมาก
จากที่นี้ทุกคน บางทีสาวเหนือผิวขาว สวย เป็นนิยมต่าง ๆ ไปทํางานในกรุงเทพฯ ในสมัยก่อนในเรื่องของ
โอกาสการศึกษาของเด็กผู้หญิงไม่เท่ากับเด็กผู้ชาย พ่อแม่คิดว่าเด็กผู้หญิงไมต้องเรียนเยอะ อีกหน่อยก็
แต่งงานมีครอบครัวไปแล้ว ผู้ชายต้องเรียนสูง ๆ เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ลูกสาวถูกปลูกฝ๎งว่าต้องกตัญํูกับ
พ่อแม่ จะเห็นเป็นกรณีตัวอย่างด้วยว่าบางคนที่ไปทํางานได้ดิบได้ดีแต่งงานกลับมาสร้างบ้านหลังใหญ่โต
ให้กับพ่อแม่เหมือนกับว่าเป็นค่านิยม ตกเขียวก็เหมือนกับว่ามีนายหน้าเข้ามาในชุมชนเอาเงินมาให้พ่อแม่
ล่วงหน้า เมื่อเด็กคนนี้จะได้โตขึ้นมาอายุ ๑๕ ปีจะกลับมารับไปนะ ค่อนข้างจะรุนแรง ก่อกําเนิดว่าจะต้อง
ทําอะไรบ้างอย่างโดยเฉพาะในภาคเหนือ
เมื่อ ๗ – ๘ ปีที่แล้ว มูลนิธิฯ มีเครือข่ายอยู่ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน คือ เชียงใหม่ เชียงราย
ลําปาง ลําพูน แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีองค์กรที่เป็นพันธมิตร ทางมูลนิธิเป็นหน่วยงานที่
รณรงค์หาทุนมาแล้วสนับสนุนองค์กรอื่นอีกต่อหนึ่ง ตอนหลังเรื่องทุนยากลําบากในการหาเลยระงับตรง
นั้นไป มูลนิธิก็ทําโครงการของมูลนิธิไปที่อาจต้องทําโดยลําพังบ้าง ขณะเดียวกันก็ยังมีเครือข่ายที่ทํางาน
ร่วมกันในประเด็นนี้อยู่
โครงการหลัก ๆ ของมูลนิธิ ฯ อันดับแรกคือการทํางานเพื่อเสริมสร้างพลังแก่เด็กกลุ่มเสี่ยง เด็ก
ชนเผ่า เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีสภาพป๎ญหา เด็กที่ด้อยโอกาสมากกว่า รวมถึงเด็กบางคนที่อาจจะเคย
เป็นผู้เสียหาย เน้นการใช้สิทธิเด็กเป็นฐานในการทํางาน เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน
เป็นหนึ่งในการทํางานว่าทําอย่างไรจึงจะให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้มีส่วนร่วมในการทํางานของมูลนิธิฯ จึง
มีการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเป็นแกนนํา ให้เด็กไปอบรมหรือไปทํากิจกรรมถ่ายทอดต่อให้กับเพื่อนของ
เขา ซึ่งการจะหาตัวเด็กเหล่านี้ได้จะต้องมีการทํางานกับองค์กรที่เป็นพันธมิตร อาจจะเป็นโรงเรียนใกล้ ๆ
เช่น โรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา มีเด็กนักเรียนอยู่ ๒,๐๐๐ กว่าคน ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กด้อยโอกาส มีเด็กชน
เผ่าอยู่ประมาณ ๑๒ ชน เผ่าในโรงเรียน ซึ่งเด็กกลุ่มหนึ่งอาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องการถูกค้าแสวงหา
ประโยชน์ โรงเรียนมีหน้าที่คัดเลือกเด็กแกนนําเพื่อมาเป็นแกนนํา แต่แกนนําก็ต้องสมัครใจไม่บังคับ เอา
แกนนําสิบกว่าทีมมารวมกัน อบรมฝึกทักษะในการเป็นแกนนํา มีน้องเยาวชนเข้าไปทํางานกับน้องใน
โรงเรียน อันดับแรกในโรงเรียนลักษณะของการสนับสนุนเอาความรู้อะไรต่าง ๆ มาจัดกิจกรรมให้กับเพื่อน
ในโรงเรียน หลังจากนั้นมีเรื่องการสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนคิดริเริ่มโครงการที่จะไปรณรงค์ให้ความรู้
กับชุมชน นอกเหนือจากโรงเรียนของเขาด้วย เขาอาจจะมองว่าเขามาจากชนเผ่าบนดอย คิดว่าเด็กข้างบน
มีความเสี่ยงมากเห็นอะไรบางอย่าง เขียนเป็นโครงการขนาดเล็กเข้ามา ก็สนับสนุนงบประมาณให้กับเขา
เขาก็ไปฟอร์มทีมขึ้นมาเป็นคณะทํางาน แบ่งบทบาทหน้าทีกันไปทํา อันนี้รูปแบบหนึ่ง
ประการที่สองก็คือประสานความร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพ ซึ่งในจังหวัดเชียงรายมีคณะทํางานอยู่
ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตํารวจ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บ้านพัก
NGO จะทําในเวลามี Case ต้องการความช่วยเหลือหรือคิดว่าต้อง Refer ใครบ้างที่เกี่ยวข้อง มีการ
ประชุม Case Conference กัน ที่ผ่านมานโยบายของภาครัฐบอกว่าต้องมุ่งเน้นเรื่องการค้ามนุษย์ จัด
ระเบียบขอทาน จะกวาดล้างขอทาน ขอให้มูลนิธิฯ ไปเป็นคณะทํางาน ก็จะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กัน
มูลนิธิฯ ก็จะอยู่ในฝุายสังคม ถ้าสมมติมีการรวบตัวขอทานได้ก็ต้องมีการแยกใครเป็นเหยื่อหรือไม่ใช่เหยื่อ
ก็จะไปมีส่วนร่วมตรงนั้น อันดับแรกต้องดูคราว ๆ ก่อนว่าเพศ วัย ถ้าเป็นเด็กก็ต้องแยกเอาไว้ก่อน เด็กควร
ได้รับการดูแลอย่างดี และอีกบทบาทหนึ่งคือเป็นคณะกรรมการคุ้มครองเด็กในระดับจังหวัด ระดับอําเภอ
รวมกับทีมสหวิชาชีพ นอกจากนี้ก็ยังไปร่วมในคณะทํางานของการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของทีม
๑๑๔