Page 133 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 133

หลอกมามีเยอะ แต่สมัยนี้ถูกบังคับมาเยอะกว่า  ที่สมัครใจมามีน้อย ประมาณ ๕%  ถูกหลอกประมาณ
                   ๔๕% บังคับมา ๕๐%

                          จากประสบการณ์ของเขา เห็นว่า “ป๎ญหาการค้ามนุษย์ เกิดจากคนในรัฐร่วมมือ ถ้าสมมติว่าคน
                   ในรัฐ พวกตํารวจ ตม. ทหาร ถ้าไม่เปิดประตูให้ เขาก็เข้ามาไม่ได้  โดยเฉพาะพวก ตม. เวลาขับรถไปตาม
                   ด่าน ต้องจ่ายให้เขา ทหารหรือตํารวจที่ปาดังเบซา รู้ว่าที่ไหนมีแคมป์ เขารู้ว่าใครเป็นนายหน้ารู้หมด คน
                   ไหนไม่จ่ายไปจับ คนที่จับสามรอบไปจับ จับแล้วเคลียร์ครั้งละห้าแสน  โรฮิงญาถูกจับไป มีกี่แคมป์  เอา

                   หมดเลย ถ้าไม่เอาเงินมาให้ เดี๋ยวก็จับหมดเลยนะ”
                          “ถ้ามุ่งหน้าไปมาเลเซียเลย พวกค้ามนุษย์ก็จะไม่ได้ตังค์  มาเลเซียจับแล้วก็เอาจริง  เจ้าหน้าที่เขา
                   ไม่เอาตังค์ ไม่คอรัปชั่น”
                          การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เขาเห็นว่า สถานการณ์การค้ามนุษย์จะรุนแรงขึ้นหรือไม่ไม่น่าจะ

                   เกี่ยวกัน การมีผู้อพยพก็เพราะถ้าเขาอยู่ในบ้านที่ไม่มีเสรีภาพ เขาก็ต้องมาหาเสรีภาพ หาความสุข เอาตัว
                   รอด ต้องอยู่ในบ้านอยู่ในประเทศที่ให้อิสรภาพ ถ้าไม่ได้อิสรภาพ ต้องอยู่ในบ้านเมืองทางใดทางหนึ่ง ต้อง
                   ให้อิสรภาพให้อยู่ทํามาหากิน มีความสุข ไม่ใช่ประชาคมอาเซียนที่พูดถึงว่านายทุน แต่ประชาชนไม่มิสิทธิ
                   เหมือนเดิม ถ้าสมมติว่าให้ประชาคมอาเซียนให้ความสุขประชาชน ไม่มีการค้ามนุษย์ประชาชนก็จะมี

                   ความสุข  ประเทศในอาเซียนต้องกดดันให้พม่าต้องยอมรับว่า โรฮิงญาและชมกลุ่มน้อยทุกลุ่มเป็น
                   ประชาชนของเขา  ไม่มีใครอยากจะทิ้งบ้านทิ้งเมืองที่เป็นแผ่นดินเกิด  เพราะฉะนั้นต้องแก้ป๎ญหาที่ต้นทาง
                   พม่าต้องเข้มงวด จับตาดู อย่าให้ใครมารังแกชาวโรฮิงญา  ตอนนี้มีคนโรฮิงญาที่อยู่ในรัฐอะลากันประมาณ

                   ๑ ล้านคน เมื่อก่อนมี ๕  ล้านคน อพยพมา ๓  ล้าน ตายไปแล้ว ๑  ล้าน ตอนนี้เหลือโรฮิงญาบนโลกนี้
                   ประมาณ ๓ ล้านคน อยู่นอกประเทศ ๒ ล้านคน

                          (๘)  มูลนิธิยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
                          มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เรียกสั้น ๆ ว่า มูลนิธิ ECPAT เริ่มในประเทศ

                   ไทยเมื่อ ๑๕  ปีที่ผ่านมา มูลนิธิ  ECPAT เป็นสมาชิก ของ ECPAT  International  ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่
                   ทํางานทั่วโลก มีเครือข่าย ๗๐ – ๘๐ ประเทศที่ทํางานเรื่องการต่อต้านการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจาก
                   เด็กโดยตรง

                          มูลนิธิ ECPAT ทํางานในเรื่องรณรงค์ปูองกันเรื่องการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กเชิง
                   พาณิชย์ เพราะฉะนั้นงานของมูลนิธิฯที่เชื่อมโยงกับเรื่องการค้ามนุษย์คือเรื่องเด็กที่ถูกนําไปแสวงหา
                   ผลประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ หรือการนําเด็กไปเป็นขอทาน การนําเด็กเข้าสู่กระบวนการ
                   ค้าประเวณี สื่อลามกเด็ก นักท่องเที่ยวที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก รวมทั้งรูปแบบอื่น เช่น

                   การบังคับเด็กแต่งงาน เพื่อที่ว่าพ่อแม่จะได้ผลประโยชน์สินสอด  เป็นต้น
                          ประเด็นที่มูลนิธิฯ ทําเป็นส่วนหนึ่งของการปูองกันการค้ามนุษย์ เพราะการค้ามนุษย์ทั้งผู้ชาย
                   ผู้หญิง และเด็กด้วย การค้ามนุษย์คลอบคลุมเรื่องแรงงาน ทางเพศ การนําคนมาขอทาน มูลนิธิฯ เจาะใน
                   เรื่องทางเพศ แต่เน้นไปที่เด็ก

                          สาเหตุที่มูลนิธิฯ ตั้งที่เชียงราย ก็เนื่องจากสถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กใน
                   อดีต ๑๐กว่าปีที่ผ่านมา ค่อนข้างรุนแรงในภาคเหนือ ข่าวในเรื่องการตกเขียว เด็กต้องออกจากโรงเรียน
                   กลางคัน ผู้หญิงหาอาชีพหาเงิน เพื่อทํางานตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ มีเงินมาสร้างบ้านหลังใหญ่ ผู้หญิงไป
                   ต่างประเทศ หรือว่าแต่งงาน เพื่อเอาเงินมาตรงนี้ ในภาคเหนือคือที่จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา


                                                            ๑๑๓
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138