Page 130 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 130
ถ้าจับในเมืองไทยก็จะต้องให้เด็กบอกถึงต้นทางเอเย่นต์คือใคร คือจะไม่ได้จับแต่ผู้ประกอบการที่เอา
เปรียบเด็ก หรือเจ้าของสถานบริการเท่านั้น แต่จะต้องสาวไปถึงกระบวนการที่พาเด็กมาด้วย ซึ่งบางทีก็
เป็นเครือข่ายใหญ่ที่ตํารวจก็อาจจะพอรู้อยู่บ้าง แต่ว่าที่หน้าจะทํามากกว่านั้นคือในเรื่องการปูองกัน คือ
การส่งเสริมสถานภาพทางเลือกทางเศรษฐกิจ หรือตั้งแต่เรื่องสิทธิเด็กการเข้าถึงเรื่องการศึกษาที่ต้องทํา
เป็นในบริบทอาเซียนให้เป็นอย่างทั่วถึงให้ได้ เพราะตราบใดที่เป็นอย่างนี้ เด็กส่วนหนึ่งที่จะต้องอยู่
โรงเรียนก็ต้องอพยพ พ่อแม่ก็ยอมให้ต้องมาทํางานแล้ว ต้องอาศัยกรอบอาเซียนรณรงค์ให้เกิดมาตรฐาน
จริงๆทุกประเทศรับรองเรื่องสิทธิเด็ก ต้องรณรงค์ในเรื่องนี้ว่าทํายังไงเด็กถึงจะอยู่ในโรงเรียนได้ตามอายุที่
ควรจะเป็น ซึ่งถ้าทําตรงนี้ไม่ได้เราก็ยังเป็นแหล่งปลายทางที่เขามาอยู่ดี
เรื่อง พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มูลนิธิฯ เห็นว่า ตัวกฎหมายมันดี
รวมกลุ่มเปูาหมายทุกกลุ่มแล้วก็เรื่องของการฟูองค่าเสียหาย อัยการฟูองให้เลยโดยที่ผู้เสียหายไปฟูอง
แพ่ง แล้วก็มีกระบวนการเน้นเรื่องการคุ้มครองผู้เสียหาย แต่ว่าในแง่มุมของการปฏิบัติยังไม่มีกลไก
ดําเนินการในการบังคับใช้ที่มีคุณภาพมากพอ ซึ่งตรงนี้ภาระมันตกอยู่กับผู้เสียหายมากกว่า บางทีตํารวจก็
ไม่ได้พิจารณาว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพราะไปยึดติดอยู่กับการสมัครใจหรือเปล่า เขาก็จะฝ๎ง
หัวว่าผู้หญิงคนนี้ ถ้าเขารู้ว่าต้องมาค้าประเวณีก็จะไม่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ แต่มูลนิธิฯ มองว่า ถึงแม้ว่า
ผู้หญิงรู้ว่าเป็นการค้าประเวณี แต่ว่าไปถึงแล้วรูปแบบมันเป็นการล่อลวง เอารัดเอาเปรียบ เขาก็จะเป็น
ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพราะว่าตามหลักการความยินยอมของผู้เสียหายที่ยินยอมย้ายถิ่นไปทํางานไม่
สามารถที่จะมาโต้แย้งว่าคุณเป็นนักค้ามนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นเหมือนคุณไม่ถูกบังคับ คุณสมัครใจมาค้า
บริการ แล้วเขาก็ไม่เข้าใจว่ามาแล้วมาทํางานใช้หนี้ เหมือนกับว่าไม่ถูกกักขัง แต่ถูกยึดพาสปอร์ต ทํางาน
ใช้หนี้อย่างนี้ แล้วบางคนก็ไม่ร้องไห้ คือมันทุกข์จนไม่รู้จะร้องยังไงแล้ว เขาก็พูดทํานองว่าบางทีเขาไม่ค่อย
เหมือนเหยื่อ เพราะเขาว่าไม่ร้องไห้ ซึ่งเป็นการดูจากรูปลักษณ์ข้างนอก ไม่ได้ดูจากองค์ประกอบของมันคือ
อะไร เขาจะมีอคติต่อผู้หญิงที่ไปค้าบริการ ซึ่งเรารู้สึกว่า ผู้หญิงไปค้าบริการก็เพราะสวัสดิการสังคมต่างๆ
มันไม่ได้เอื้อให้ผู้หญิงสามารถที่จะอยู่ได้ มันก็ต้องเสี่ยงที่จะไปต่างประเทศ เหมือนมีลูกก็ต้องหาเงินส่งให้
ลูก ซึ่งหลายรายก็ถูกทอดทิ้ง ต้องเลี้ยงดูลูกโดยลําพัง ซึ่งเราไม่มีสวัสดิการตรงนี้ มูลนิธิฯ พยายามรณรงค์
ให้มีสวัสดิการลูก ลูกคนหนึ่งจะได้รายได้ ซึ่งประเทศอื่นก็มีเงินช่วยเหลือ เงินสวัสดิการผู้หญิงที่เลี้ยงลูก
โดยเฉพาะผู้หญิงที่เลี้ยงลูกโดยลําพัง
(๗) สมาคมโรฮิงญาแห่งประเทศไทย
สมาคมโรฮิงญาแห่งประเทศไทยเป็นการรวมกลุ่มของชาวโรฮิงญาที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศ
ไทยเป็นเวลานานแล้วจนกระทั่งบางคนแต่งงานกับคนไทย มีลูกที่มีบัตรประชาชนเป็นคนไทย ประกอบ
อาชีพที่หลากหลาย นับตั้งแต่รับจ้างทั่วไป ขายโรตี ทําธุรกิจขนาดเล็ก เป็นลูกจ้างในฟาร์มกุ้ง เป็นต้น
การรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมเกิดจากความต้องการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งการติดต่อประสานงาน
กับ UNHCR ในการขอลี้ภัยไปอยู่ในประทศที่สามที่จะทําให้พวกเขามีโอกาสที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จากการสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาผู้หนึ่งที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ (ขอปกปิดชื่อ) เล่าว่า ชาวโรฮิงญา
อพยพออกจากถิ่นกําเนิดของตนคือรัฐยะไข่ ประเทศเมียนม่าร์ ประมาณ ๔๐ ปีที่แล้ว ตัวผู้ให้สัมภาษณ์
เองเป็นชาวโรฮิงญาที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ หรือ ประมาณ ๓๓ ปีที่ผ่านมา เขา
เล่าว่า การอพยพช่วงแรกเกิดจากการถูกบีบบังคับจากทหารพม่าที่ลาดตะเวนตามบริเวณชายแดนเพื่อสู้
รบกับกองกําลังชนกลุ่มน้อย โดยทั่วไปชาวโรฮิงญาในประเทศเมียนม่าร์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามจะถูก
๑๑๐