Page 129 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 129

มีพวกเครือข่ายชนเผ่าที่เชียงใหม่แจ้งมาว่าเด็กในหมู่บ้านอายุ ๑๗  ปี มาทํางานนวดที่ชลบุรีแล้วก็
                   หายไป เขาก็สงสัยว่าต้องมีคนชวนไปไหน เราเคยมีผู้หญิงที่ทํางานนวดที่กรุงเทพ ฯ แล้วก็ถูกชวนไปที่

                   มาเลเซีย ไปมาเลเซียก็ต้องไปทํางาน ๒๔ ชั่วโมง  ต้องเตรียมพร้อม มีแขกมาเมื่อไหร่ก็ทํางานเมื่อนั้น แต่
                   ว่าตอนนี้เด็กต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยที่ทํางานธุรกิจค้าบริการก็จะถูกชวนไปต่อ คนไทยก็บอกไหนๆก็
                   ทํางานค้าบริการแล้ว ไปที่อื่นก็อาจจะได้โอกาสดีกว่า การไปแบบนี้ ต้องมีเอเย่นต์มาชวน
                          มูลนิธิฯ มี case  เด็กไทยอายุ ๑๕ ปี ถูกชวนไปสิงคโปร์  แล้วก็ไปทํางานในสวนที่ติดกับแคมป์

                   คนงานก่อสร้างที่บังกลาเทศ แล้วเด็กก็ต้องนอนอยู่ในเต็นท์ใกล้ๆ ที่เขาทําก่อสร้าง ด้วยการที่เป็นเด็ก จึงมี
                   ลูกค้าไปต่อคิวหน้าเต็นท์ ตอนนี้เด็กคนนี้ก็ได้กลับมาก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเขา นี่เป็นรูปแบบที่ถูก
                   ชวนไปไม่รู้มาก่อนว่าจะเป็นงานบริการทางเพศ แต่ว่าเด็กต่างชาติที่มาเมืองไทยเขารู้ว่าเป็นงานบริการทาง
                   เพศ ตรงนี้ที่มันยากเพราะว่าเด็กอายุ  ๑๕ – ๑๘ ปี ยังเข้าข่ายว่าเป็นเรื่องของการค้ามนุษย์ถึงแม้เด็กจะ

                   ยินยอม แต่ว่าเด็กรู้ว่าจะมาเจองานแบบนี้ เหมือนผู้หญิงไทยก็รู้ตัวว่าตัวเองจะต้องไปถูกงานค้าประเวณีที่
                   บาร์เรน แต่ไม่รู้ว่าค่าหนี้มันโหด และระเบียบอะไรมากมายที่ทําให้เขาเก็บเงินไม่ได้ซักทีจนเขาก็ต้องหนี
                   บางทีก็ต้องไปใช้หนี้ก็เหมือนกับเป็นงานนวด  ถ้าเทียบกันระหว่างงานนวดกับงานบริการทางเพศ ดู
                   เหมือนว่างานนวดจะได้รับการยอมรับมากกว่า  แต่พอถึงที่สุดแล้วก็เหมือนกัน เด็กต่างชาติที่มาทํา ถึงแม้

                   ส่งเงินกลับไปได้น้อย เขาก็ทนอยู่กับระบบค้าบริการได้มันก็ยอมให้อยู่ในกระบวนการค้าเด็ก เพียงแต่ช่วงที่
                   พวกเขาไม่แน่ใจหรือว่าพึ่งเข้ามาสู่วงการใหม่ๆตํารวจยังไม่ได้ไปเจอเขา ตํารวจไปเจอเมื่อเวลา ๓ ปีผ่านไป
                   เขาอยู่ตัวแล้ว แล้วเขาไม่รู้ว่าจะไปทําอาชีพอะไรแล้ว อย่างนี้ก็เป็นป๎ญหา

                          ป๎ญหา และอุปสรรคที่สําคัญที่สุดเกี่ยวกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มูลนิธิ ฯ เห็น
                   ว่า มันเป็นบริบทอาเซียนมากขึ้น อย่างต้นทางสถานการณ์ผู้หญิงและเด็กไม่มีทางเลือกสมมติการศึกษาก็
                   ยังไม่ได้เรียน การย้ายถิ่นก็เป็นทางออก คนก็ยังต้องการย้ายถิ่น ทําให้เราปูองกันได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
                   การจดทะเบียนเด็กที่เป็นแรงงานมันไม่ชัดเจน เรามีเปิดให้จดทะเบียนแรงงาน ๓ สัญชาติ แต่ว่าจะเน้น
                   อายุ ๑๘ ปีขึ้นไป งานบางอย่างที่เด็กมาทํา เช่น งานในการเกษตร งานบ้าน ซึ่งทําได้ถูกต้อง บางทีเด็กอายุ

                   ต่ํากว่า ๑๘ ปีนายจ้างก็ไม่เอาเข้าระบบ เพราะว่าบางทีก็เป็นเด็กเกินไป กฎหมายคุ้มครองเด็กของประเทศ
                   ไทยอนุญาตให้เด็กทํางานที่ไม่อันตราย แต่เด็กต่างชาติไม่มีช่องเลยเพราะฉะนั้นนายจ้างเลยอาศัยช่องทาง
                   นี้เอาเปรียบเด็ก และทําให้กระบวนการค้ามนุษย์ก็มาเอาเปรียบเด็ก เพราะฉะนั้นในเรื่องของกฎหมายหรือ

                   การผ่อนปรนการรับแรงงานเด็ก จะพบป๎ญหาที่ขัดกับกฎมาย ในสถานการณ์จริง เด็กนะทํางานเยอะแยะ
                   ไปหมด ถ้าไปดูเด็กแม่สอดแบกของ ก็จะคล้ายๆจับกังที่ตรงท่าข้าม เด็กเล็กๆก็มาเป็นจับกังแล้ว ซึ่งตรงนี้
                   ไม่มีนโยบายชัดเจน  อันนี้มันก็เป็นต้นเหตุเหมือนกัน ถ้าจดทะเบียนให้เด็กมาทํางานบ้านได้ถูกต้องมีการ
                   คุ้มครอง และนายจ้างรู้ว่าต้องเอาเด็กมาจดทะเบียน ถึงแม้อายุ ๑๘ ปี ก็มีช่องให้เขามาจดทะเบียนได้แต่

                   ป๎จจุบันมันไม่มี จึงทําให้เด็กกลุ่มนี้ถูกผลักไปเป็นผู้เสียหายในการค้ามนุษย์
                          เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มูลนิธิฯ เห็นว่าการค้ามนุษย์ก็มีโอกาสรุนแรงขึ้น การ
                   แข่งขันเพื่อการค้าการผลิตก็จะมากขึ้น ผู้ประกอบการก็ต้องการแรงงานราคาถูกมากขึ้น การที่จะชวนคน
                   มาเป็นแรงงานราคาถูกก็จะมากขึ้น แรงงานพวกนี้ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งถ้าเป็นเด็กก็จะเข้าข่าย

                   การค้ามนุษย์ถูกพามาขายเข้าสู่โรงงาน เพียงแต่ว่ารูปแบบก็จะเป็นเหมือนอยู่ในสถานะจํายอมหมายถึงตัว
                   แรงงานก็อยู่ในสถานะที่ต้องยอมทํางานในค่าแรงราคาถูก
                          มูลนิธิฯ เห็นว่า การปูองกัน และปราบปรามต้องมีความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมี
                   ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ในแง่ของตํารวจต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือบางทีตํารวจควรจะขยายผล


                                                            ๑๐๙
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134