Page 131 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 131

รังเกียจจากกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธ   ทหารของรัฐบาลเมียนมาได้ส่งกําลังเข้าไปในหมู่บ้านของโรฮิงญา
                   แล้วบังคับให้พี่น้องชาวโรฮิงยา ออกลาดตะเวนร่วมกับทหาร โดยให้ทําหน้าที่เป็นลูกหาบ แบกของ

                   ข้าวสาร อาหาร และลูกปืน  ทหาร ๑  คนต้องมีลูกหาบ ๒ คน เวลาเดิน ลูกหาบต้องอยู่ข้างหลัง ๑  คน
                   และข้างหน้า ๑ คน ทหารอยู่ตรงกลาง สัมภาระที่ต้องแบกมีน้ําหนักประมาณ ๕๐ กิโลกรัม แล้วต้องเดิน
                   ขึ้นภูเขาซึ่งสูงมาก ตระเวนแต่ละครั้งใช้เวลา  ๓  เดือนบ้าง หรือ บางครั้งใช้เวลา ๒๐  วัน ลูกหาบชาว
                   โรฮิงญาบางคนแบกของไม่ไหวก็จะถูกทุบตี   ถ้าทุบตีไม่ไหวก็จะยิงทิ้งต่อหน้าต่อตาแล้วทิ้งศพไว้ข้างทาง

                   บางคนก็รอดชีวิตมาได้
                           ผู้ให้สัมภาษณ์ก็ถูกเกณฑ์ไปเป็นลูกหาบ ถูกทุบตีอย่างหนัก เพราะไม่สบาย แบกของไม่ไหว
                   จนกระทั่งสลบ ทหารพม่าคิดว่าตายแล้ว ก็ปล่อยไว้ในปุา เมื่อฟื้นขึ้นมาจึงคิดหนีเพียงอย่างเดียว แต่ก็ไม่รู้
                   ว่าจุดที่ตนอยู่คือส่วนไหนของประเทศ ก็ได้แต่เดินไปเรื่อยๆ อาศัยใบไม้ และน้ําตามลําธารประทังชีวิต

                   จุดมุ่งหมายของการหนีคือต้องการไปบังคลาเทศ ใช้เวลาเดินอยู่ในปุานานเป็นเดือน ในที่สุดก็มาถึงบริเวณ
                   แม่น้ําแห่งหนึ่ง ซึ่งตนเองก็ไม่รู้ว่าคือแม่น้ําอะไร ก็ตัดสินใจมุ่งหน้าไปทางแม่น้ํา แล้วรวบรวมพละกําลังรอย
                   คอข้ามแม่น้ํามายังอีกฝ๎่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาจึงรู้ว่า แม่น้ําที่ข้ามมานั้น คือแม่น้ําเมย และฝ๎่งที่ข้ามาคืออําเภอ
                   แม่สอด จังหวัดตาก

                          เมื่อรอดชีวิตมาได้ เขาไปขอทํางานกับคนไทย เป็นงานอะไรก็ได้ ขอแต่เพียงมีข้าวกิน เขาทํางาน
                   ด้วยความซื่อสัตย์ อดทน เป็นเวลา ๕ ปี จนกระทั่งเป็นที่รักและไว้วางใจของนายจ้างไว้วางใจ  ระหว่างอยู่
                   ที่แม่สอดเขาได้มีโอกาสไปละหมาดในมัสยิดบ่อยครั้ง จนกระทั่งโต๊ะอีหม่ามไว้วางใจ  วันหนึ่งโต๊ะอีหม่าม

                   ชักชวนเขาให้มาอยู่ที่มัสยิดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เขาก็ตัดสินใจมาเพราะคิดว่าเขาน่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้น การ
                   มาอยู่กรุงเทพฯ ก็เพื่อมารับใช้โต๊ะอีหม่ามท่านนั้นจนกระทั่งท่านเสียชีวิต
                          เขาแต่งงานมีครอบครัวกับหญิงชาวโรฮิงญาที่นับถือศาสนามุสลิมเช่นเดียวกับเขาก่อนที่โต๊ะ
                   อีหม่ามที่เขาเคารพจะเสียชีวิต   หลังจากตะอีหม่ามเสียชีวิตแล้ว เขาต้องออกจากมัสยิดเพื่อมาประกอบ
                   อาชีพเลี้ยงครอบครัวด้วยตัวเอง จากการที่เขาเป็นคนขยันขันแข็ง เขาประกอบอาชีพขายโรตี พอมีรายได้

                   เลี้ยงดูครอบครัว แต่เขาก็ยังติดตามข่าวสารการอพยพของชาวโรฮิงญาอย่างสม่ําเสมอ  และเขาได้ชักชวน
                   เพื่อนๆตั้งสมาคมโรฮิงญาขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                          การอพยพในอดีตมาทางบก หนีมาจากการถูกบังคับให้เป็นลูกหาบ ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบอพยพมา

                   เป็นหมู่คณะ โดยมาทางเรือเมื่อประมาณ ๘ – ๑๐   ปีมานี่เอง ในการอพยพครั้งใหญ่ๆ ของชาวโรฮิงญา
                   เมื่อปี ๒๕๕๔ ต่อเนื่องมาถึงปี ๒๕๕๗ สมาคมชาวโรฮิงญาได้ติดตามข้อมูลข่าวสารมาโดยตลอด เขาและ
                   เพื่อนๆ พยายามเข้าไปพบปะ พูดคุย ช่วยเหลือชาวโรฮิงญาที่ถูกนําไปอยู่ในห้องกักของ ตม. ที่ซอยสวนพลู
                   และที่อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เขาและเพื่อนๆในสมาคมช่วยเป็นล่ามแปลภาษาโรฮิงญาเป็นภาษาไทย

                   ให้กับเจ้าหน้าที่ตํารวจ ในช่วงที่มีกระบวนการคัดแยกเหยื่อการค้ามนุษย์ และเป็นล่ามให้กับคณะกรรมการ
                   สิทธิมนุษยชนรวมทั้งสื่อมวลชนที่ต้องการทราบเรื่องราวของชาวโรฮิงญา
                          การเข้าไปมีส่วนร่วมรับรู้เรื่องการอพยพ เขาพบว่า การให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญามีข้อจํากัด
                   ในด้านกฎหมายเป็นอย่างมาก ทั้งๆที่ข้อเท็จจริง คนเหล่านี้ถูกหลอกลวงมาโดยนายหน้า แต่เมื่อถูก

                   สอบถามโดยเจ้าหน้าที่ก็บอกว่ามาโดยความสมัครใจ เพราะต้องการมาทํางาน ต้องการไปอยู่กับญาติที่
                   มาเลเซีย ทําให้ถูกข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย กระบวนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตํารวจไปไม่ถึงขบวน
                   การค้ามนุษย์ที่อยู่เบื้องหลังในการนําพาให้ชาวโรฮิงญาอพยพออกนอกประเทศ




                                                            ๑๑๑
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136