Page 128 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 128
เครือข่ายมารับที่ชายแดน เด็กกัมพูชาก็จะมีองค์กรที่ทํางานซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแตร์
เดซอม เนเธอแลนด์ และประสานงานเป็นเครือข่ายทํางานร่วมกัน
จากการทํางานกับผู้หญิงมานาน มูลนิธิฯ พบว่า ถ้าเป็นเด็กผู้หญิง เมื่อเอเย่นซื้อตัวไปแล้วเอาไป
ขายต่อ บางรายได้เงินเดือน ๗,๐๐๐ บาทเท่านั้น ถึงเวลาเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้าน ตํารวจจะเจอว่ามีเงิน
บางทีก็ไปรีดไถเขา เจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้พยายามที่จะคุ้มครองคนที่เป็นผู้เสียหายเท่าไหร่ รูปแบบเข้า
องค์ประกอบบางส่วน ไม่เข้าบางส่วน เขาก็จะตีความว่าไม่เข้า ก็เหมือนจะไม่ได้คุ้มครองเลย ช่วงที่เด็กอยู่
ที่บ้านพักมูลนิธิฯ ก็เตรียมความพร้อมให้กลับอย่างปลอดภัย บางทีเด็กก็หนี เด็กไม่อยากเป็นผู้เสียหาย
เพราะว่าอยู่เป็นผู้เสียหายต้องอยู่เป็นปี ไม่ได้ทํางาน ไม่ได้ส่งเงินให้พ่อแม่ ซึ่งเด็กอายุ ๑๖ – ๑๗ ปี เขา
ผ่านช่วงเวลาที่ถูกบังคับมาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี เขาก็โตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในสถานค้าบริการทางเพศนั่นแหละ พอ
ตํารวจมาเจอตอนเขาอายุ ๑๗ ปี ยิ่งบางคนเคยไปอยู่บ้านเกล็ดตระการ มาแล้ว เขาก็ไม่อยากไปอยู่อีก
หรือได้ยินมาว่านี่ต้องอยู่นานอยู่เป็นพยาน อันนี้ก็เป็นสถานการณ์ป๎จจุบัน ยิ่งบางปีเขามีนโยบายว่าทุก
โรงพักต้องจับให้ได้ ๕ case เพื่อให้หลุดจาก Tier ๓ ก็สร้างป๎ญหาให้กับผู้หญิงแล้วบางทีไปทะลายแหล่ง
เด็กไม่เด็กก็รวบมาหมด เพราะว่าเป็นแรงงานไม่มีบัตรผิดกฎหมาย อายุ ๒๐ กว่าก็ถูกกวาดมาด้วย กลุ่มนี้
ก็หน้าเห็นใจ เขาก็ต้องถูกส่งกลับ แล้วก็ต้องเริ่มใหม่ มาใหม่ ใช้หนี้ใหม่ เพราะว่าเขาไม่ได้อยู่ตะเข็บ
ชายแดน เขาอยู่ย่างกุ้งหรือมาไกลกว่านั้น
มูลนิธิฯ เห็นว่า การที่เราอยากจะหลุดจาก Tier ๓ มันสร้างผลกระทบก็คือผู้หญิงที่มาค้าบริการ
ทางเพศ เราไม่สามารถแก้ป๎ญหาได้อย่างยั่งยืน เพียงใช้วิธีการจับแล้วส่งกลับ ไม่ใช่วิธีการแก้ป๎ญหาที่ยั่งยืน
ก็คล้ายๆ ขอทาน ตราบใดที่เราจับส่งกลับไป เขาก็กลับมาอีกเพราะเขาเคยอยู่ในอาชีพนี้แล้ว พม่า
เมื่อก่อนมันไม่มีอะไร ซึ่งเมื่อก่อนจะมีแต่คนไทยใหญ่ ผู้หญิงไทยใหญ่มาทํางานค้าบริการกันมาก แต่เดี่ยวนี้
ไม่ใช่แค่จากเชียงตุง รัฐฉาน มูลนิธิฯ พบวาสมีมาจากที่อื่นด้วย ซึ่งอันนี้ก็เป็นประเด็นอาเซียนด้วยว่ามัน
โยงกับเรื่องสถานภาพผู้หญิง เรื่องภาระของผู้หญิงที่ต้องมาทํางานแบบนี้เพราะสถานะภาพโดยรวมของ
ผู้หญิงด้วย ถ้ามองอาเซียนก็มีชาติอื่นมาเที่ยวแหล่งบริการแบบนี้ด้วย ทางภาคใต้ ในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
ก็จะมีชาวมาเลเซียมาเที่ยวบริการทางเพศ อาบอบนวด
มูลนิธิฯ เห็นว่า กระบวนการทางกฎหมายไม่สามารถที่จะปราบปรามได้ ซึ่งจริงๆเราก็เจอตั้งแต่
ไหนแต่ไรคนที่ดําเนินคดีมันก็เป็นคนคุมก็ไม่ได้สาวไปถึงคนที่เป็นเจ้าของกิจการ นายทุนใหญ่ที่อยู่
เบื้องหลังกิจการเหล่านี้ พอปิดร้านนี้แล้วก็ไปเปิดใหม่ อย่างสุพรรณบุรีเราก็ไปทะลายซ่องเด็กลาวมาก็จะ
เกิดขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นสถานบันเทิงที่มีการแอบให้มีการขายบริการทางเพศ เปิดเป็นร้านอาหาร ร้าน
คาราโอเกะ จังหวัดตามชายแดนก็จะมีที่จังกวัดหนองบัวลําภู จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งจะไม่เห็นรูปแบบว่าถูก
บังคับ จะเห็นว่ามาทํางานใช้หนี้ เหมือนสมัครใจ สถานการณ์ในประเทศต้นทางก็เหมือนว่าผลักให้เขา
ออกมามันไม่มีงานที่มีรายได้เพียงพอ
จากการพูดคุยกับเด็กที่มาค้าบริการ อายุ ๑๙ – ๒๐ ปี ก็เล่าว่าบางทีแม่มีน้องหลายคน แม่มีพ่อ
ใหม่ ก็ทิ้งครอบครัวเก่าไป เขาก็ต้องส่งเงินให้แม่เลี้ยงน้องเพราะเป็นลูกคนโต ก็ต้องทํางานส่งเงินไปให้
ครอบครัว เขาก็ไม่ได้เห็นว่ามันจะมีทางเลือกอื่นที่จะสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ดีกว่าประกอบอาชีพนี้ นี่
เป็นกรณีของเด็กพม่า ก็เหมือนผู้หญิงไทยที่เข้าสู่การค้าประเวณีที่พัฒน์พงศ์ตั้งแต่อายุ ๑๓ –๑๔ ปี ก็
เหมือนกันคือต้องส่งเงินกลับไปให้ที่บ้าน เมื่ออายุมากขึ้นก็เปลี่ยนสถานภาพเป็นเอเย่นต์ เพราะคุ้นเคย อยู่
ในอาชีพนี้มาตั้งแต่เด็กๆ
๑๐๘