Page 127 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 127

(๖) มูลนิธิผู้หญิง
                          มูลนิธิผู้หญิง เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งดําเนินการพัฒนาสตรี ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิง และ

                   เด็กที่ประสบป๎ญหา ตลอดจนรณรงค์ให้สังคมตระหนัก ถึงป๎ญหาที่ผู้หญิงเผชิญอยู่ในสังคมป๎จจุบัน ได้แก่
                   ป๎ญหาความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงทางเพศในรูปแบบต่างๆ  มูลนิธิผู้หญิง ส่งเสริมและ
                   สนับสนุน ให้ผู้หญิงได้รับสิทธิเสมอภาค เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และรณรงค์เผยแพร่เพื่อ
                   สร้างค่านิยมใหม่ ของหญิงชายในสังคม มูลนิธิผู้หญิงได้ขออนุญาตจดทะเบียนเป็นมูลนิธิตามเลขทะเบียน

                   ลําดับที่ ๓๓๒๙ เมื่อปลายปี ๒๕๓๐
                          มูลนิธิผู้หญิงเริ่มทําโครงการเกี่ยวกับการปูองกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
                   โดยเน้นเรื่องหญิงไทยไปต่างประเทศโดยการให้ข้อมูลให้คําปรึกษาเพื่อการปูองกัน ในขณะเดียวกันก็ได้รับ
                   ผู้เสียหายที่เดินทางกลับมาจากเยอรมัน ญี่ปุุน มาเลเซีย และสิงค์โปร์

                          มูลนิธิฯ มีโครงการศูนย์ข่าวผู้หญิง ที่จะให้ข้อมูลผู้หญิงไทยที่จะไปต่างประเทศ เพื่อปูองกันไม่ให้
                   ถูกล่อลวง และมีการให้ความช่วยเหลือแก่คนที่กลับจากต่างประเทศ ส่งเสริมให้รวมกลุ่มกัน โดยมีชื่อว่า
                   “กลุ่มหญิงสู้ชีวิต”
                           ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา มีการติดตามผู้หญิงที่ไปเป็นแรงงานนวด ไปเป็นแรงงานนอกระบบใน เช่น

                   ไปเก็บผลไม้  คนที่ไปเป็นแรงงานนวดจะถูกเอาเปรียบ ไม่ได้ค่าแรงตามที่ตกลงกัน มีการบังคับให้ทํางานใช้
                   หนี้  นายจ้างบอกว่าจะทํา Work  Permit  ให้แต่ก็ไม่ทําให้  ใน ๕ คนอาจจะได้ ๑ คน ผู้หญิงจึงมีความ
                   กดดันสูงมาก เขาจะพยายามไม่ให้ปุวย เพราะถ้าปุวยแล้วใครจะรับผิดชอบ  บางคนก็ถูกหลอกไปนาน

                   ภายหลังก็ไปแต่งงานบ้าง มีป๎ญหาทางจิตบ้าง ติดเชื้อ HIV บ้าง คือเป็นระยะของผลกระทบระยะยาวที่เกิด
                   ขึ้นกับผู้หญิง
                          ช่วงประมาณปี ๒๕๔๐  มูลนิธิฯ ก็เริ่มเข้าไปทํางานในสถานกักกันในสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
                   ซอยสวนพลู ก่อนหน้านั้นมูลนิธิฯ ก็มีบ้านพัก มีคนประสานมาบ้างว่ามีเด็กหนีออกมาจากซ่อง จากสถาน
                   บริการ ภายหลังทราบว่า มี IOM ไปสอนหนังสือเด็กที่อยู่ในห้องกักของตรวจคนเข้าเมืองซอยสวนพลู แต่

                   ว่าไม่มีการคัดแยกว่าเด็กและผู้หญิงในนั้นมีใครบ้างที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ มูลนิธิฯ จึงขอ
                   อนุญาตเข้าไปสัมภาษณ์และจัดกิจกรรมตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ - ป๎จจุบัน ตรวจคนเข้าเมืองก็ไม่เข้าใจว่าทําอะไร
                   องค์กรศาสนาที่เข้าไปช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเขาก็ไม่เข้าใจว่า มูลนิธิฯ ไปสัมภาษณ์ทําไมอีกในเมื่อเขาก็

                   กําลังถูกผลักดันกลับไปอยู่แล้ว เหตุที่มูลนิธิฯ ไปสัมภาษณ์ก็เพื่อดูว่าเขาถูกล่อลวงมาหรือไม่ นอกจากเรื่อง
                   การค้ามนุษย์แล้ว มูลนิธิฯ ก็ช่วยเด็กในสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้กลับบ้านโดยปลอดภัย ซึ่งการกลับ
                   บ้านอย่างปลอดภัยก็เป็นการปูองกันไม่ให้เขาถูกพามาอีก นี่ก็จะเป็นงานทั้งที่ช่วยเหลือคนไทยที่ไป
                   ต่างประเทศแล้วกลับมา และก็ทําในเรื่องหญิงและเด็กต่างชาติที่มาทํางานในเมืองไทย และเด็กถูกเอารัด

                   เอาเปรียบในรูปแบบอื่น
                          มูลนิธิฯ มีบ้านพักที่รองรับเด็กพม่าที่ถูกขบวนการค้ามนุษย์หลอกอยู่ที่อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก
                   ด้วย  ส่วนใหญ่ก็จะเปิดเป็นบ้านเด็กกําพร้า คล้ายๆกับเด็กที่พ่อแม่ย้ายถิ่น ก็ช่วยดูแลให้เวลาพ่อแม่ย้ายถิ่น
                   ออกไป บางทีพ่อแม่ก็เอามาฝาก จึงเปิดเป็นบ้านพัก มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนไทยดูแลทั้งหมด ๓  คน มี

                   เจ้าหน้าที่ที่บ้านพักอีก ๔  คน  เปิดเป็น Drop  in  Center  ให้เด็กมาเรียนหนังสือ  บ้านพักของมูลนิธิฯ
                   ตอนนี้ก็กลายเป็นที่ที่รับเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศ ซึ่งแม้แต่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยก็ไม่ปลอดภัย มีการข่มขืนในค่าย
                   ผู้ลี้ภัย บางบ้านก็ไม่มีผู้ชาย มีแต่ลูก พ่อตายบ้าง ตายในสงครามบ้าง หายไปบ้าง ก็เหลือแต่ผู้หญิงกับเด็ก
                   บางทีก็ถึงกับอยู่ไม่ได้ก็ต้องส่งต่อมาให้อยู่กับมูลนิธิฯ ส่วนเด็กจากประเทศลาวก็จะประสานองค์กรที่เป็น


                                                            ๑๐๗
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132