Page 123 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 123
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น เป็น
กลไกหนึ่งของสภาทนายความที่มีบทบาทมากในการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ งานของสภา
ทนายความมี ๒ ส่วนใหญ่ๆ คืองานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย อีกส่วนหนึ่งคืองานสิทธิมนุษยชน
สําหรับอนุกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ สัญชาติ แรงงานข้ามชาติผู้พลัดถิ่นสภาทนายความก็
เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในเรื่องของคนข้ามชาติ เรื่องของผู้ลี้ภัย
การที่ประเทศไทยเป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์ สภาทนายความเห็น
ว่า เกิดจาก ๓ ป๎จจัยคือ ป๎จจัยแรก ประเทศไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างเปิด มีรายได้ส่วนใหญ่ที่มาจาก
การท่องเที่ยว แล้วพยายามที่จะทําให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในเรื่องที่จะเปิดให้คนทั้งหลาย เดินทางเข้า
ประเทศไทยได้ง่าย ป๎จจัยที่สองคือ ประเทศไทยเป็นประเทศที่เคร่งครัดในเรื่องของกฎหมายนี้น้อย การ
บังคับใช้ทางกฎหมายน้อย ก็เลยไปเอื้อต่อกระบวนการค้ามนุษย์ที่ใช้ประเทศไทยที่เป็นช่องทาง และป๎จจัย
ประการที่ ๓ คือ ประเทศไทยมีป๎ญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่นค่อนข้างสูง ซึ่งมันก็เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้า
มนุษย์ ซึ่งธุรกิจนี้นํามาซึ่งเงิน ก็จะมีทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปล่อยปะละเลยบ้าง เข้าไปร่วมรับผลประโยชน์ หรือเข้า
ไปร่วมทําเองก็มี ประกอบกับว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น พม่า ลาว หรือตอนใต้ของจีน หรือจาก
รัสเซีย เป็นประเทศที่มีป๎ญหาเรื่องการค้ามนุษย์เหล่านี้ จากป๎จจัยทั้งหมดแล้วภูมิศาสตร์ที่ตั้ง เราก็ตั้งอยู่
ตรงกลาง ก็ทําให้เรื่องนี้เกิดในประเทศไทยค่อนข้างเยอะ
การที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับสถานะเป็น Tier ๓ เพราะรัฐไม่ได้แก้ไขป๎ญหาอย่างจริงจัง
ถึงแม้ว่าจะมีการพยายามประชาสัมพันธ์ พยายามที่จะหาทางแก้จาก Tier ๓ มาเป็นTier ๒ แต่ว่าการแก้
ส่วนใหญ่ของเราก็เป็นการแก้ตัว มันไม่ใช่การแก้ไข ประเทศไทยแก้ไขป๎ญหาไม่ตรงจุดและแทบจะไม่ได้
แก้ไขป๎ญหาเลย
สภาทนายความเห็นว่า การที่กรณีโรฮิงญาถูกตีความว่าเป็นการเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามพ.ร.บ.
กฎหมายเข้าเมือง ก็กลายเป็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้ามนุษย์ เพราะมาโดยความสมัครใจและก็มา
แบบไม่ถูกต้อง ก็จับเขาไปขังในสถานต้องขัง เรื่องนี้ไม่ใช่ป๎ญหาการตีความ แต่เป็นป๎ญหาขบวนการค้า
มนุษย์ ซึ่งทําให้ประเทศไทยแย่ลง เพราะมีวิธีการพูดแบบนี้ สหรัฐเคยเตือนเรามาในเรื่องการค้ามนุษย์ใน
เรือประมง ไทยก็บอกว่าไม่มี จนสุดท้ายก็ต้องยอมรับว่ามี เราก็เริ่มไปแก้ไขป๎ญหาเรื่องการค้ามนุษย์ใน
เรือประมง ซึ่งเรื่องนี้ไทยดีขึ้น แต่เรื่องโรฮิงญาไทยยังไม่ยอมรับ เพราะเราก็ยังมองในแง่มุมที่ผิดพลาดอยู่ มี
การบอกว่าสมัครใจ ไม่ถูกต้อง เขาถูกหลอกมา มีขบวนการหลอกเข้ามา สภาทนายความเคยสอบถาม
เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่ซอยสวนพลู ในการตรวจสอบเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา ทั้งหมด ๔๐ คน
ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง การคุยคนที่ต่างภาษากันกับเรา คนที่เขามีความหวาดกลัวไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ๔๐
คน จะหาหลักฐานอย่างไรว่าเขาถูกขบวนการค้ามนุษย์หลอกมา สภาทนายความมีข้อมูลว่าเขาเป็นเหยื่อ
การค้ามนุษย์ เพราะระหว่างที่เขาถูกกักอยู่ที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนอง สภาทนายความได้ทํา
หนังสือแล้วส่งคนไปคุยใช้เวลา ๓ เดือน มีล่ามภาษาของเขาช่วย จนเรารู้ว่ามีคนที่มากับเขาอยู่ในชุด
เดียวกันประมาณ ๘๗ คน และมีประมาณ ๔ คน ที่เป็นขบวนการนายหน้าอยู่ข้างในนี้คนที่ขับเรือคนที่พูด
ไทยได้ อันนี้คือขบวนการนายหน้า ที่บังคับคนทุกคนพูดตามนี้ เราสามารถแยกได้และเราก็พบว่าครึ่งหนึ่ง
มาจากบังคลาเทศ ทั้งที่ตอนนั้นไม่มีข้อมูลเลยว่า โรฮิงญามาจากบังคลาเทศเลย ทุกคนบอกว่ามาจากพม่า
บ้าง เราพบว่าขบวนการมีการจ่ายเงินกันอย่างไร มีการหลอกคนอย่างไร ต้องใช้เวลา ๓ เดือนแล้วก็คุยที่
ละคน จึงได้ข้อมูลมา
๑๐๓