Page 113 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 113

ไปเข้าในสถานศึกษาให้ได้  มูลนิธิฯ ได้คุยกับเด็กขอทาน เด็กก็บอกว่าไม่อยากเรียน ตอนแรกเราก็ว่ามัน
                   เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ ทําไมเด็กไม่อยากเรียน แต่พอวิเคราะห์แล้วถึงได้รู้ว่ามันเป็นโลกทัศน์ของเด็ก คือ

                   เขาไม่เคยไปเจอการที่ไปอยู่กับเด็กเยอะๆ ไปเรียนหนังสือเป็นยังไง เขาไม่เคยมีโลกทัศน์เรื่องนั้น มีเด็กข้าม
                   ชาติหลายคนที่มูลนิธิฯ ส่งไปเรียนในประเทศไทยเขาก็หยุดพฤติกรรมเรื่องขอทานเพราะว่าเขาได้มีเพื่อน มี
                   กิจกรรมให้ทํา มีคุณครู มีเรื่องให้ได้พูดคุยกับเพื่อนๆ ในแต่ละวัน คือเวลาที่เราพูดคุยกันถึงเรื่อง AEC หลัก
                   ใหญ่ก็จะพูดกันแค่เรื่องของเศรษฐกิจ การนําเข้า ส่งออก แต่จริงๆ แล้ว เรื่องของสังคมมันต้องพูดถึงด้วย”

                          สําหรับกฎหมายปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๕๑  มูลนิธิกระจกเงาเห็นว่ามีความ
                   ชัดเจนอยู่แล้ว มันก็เป็นเครื่องมือให้กลับกลุ่มคนทํางานเขาสามารถนําไปใช้อย่างในภาครัฐก็คือการ
                   ดําเนินคดี องค์ประกอบทุกอย่างค่อนข้างดี และทันสมัย แต่ในเรื่องการปฏิบัติจริง บางครั้งก็มีป๎ญหา เช่น
                   เคยมีกรณีแรงงานคนหนึ่งถูกหลอกไปลงเรื่อประมง ที่ที่เขาโดนกักอยู่ใน กรุงเทพฯ แต่ว่าที่เขาไปลงเรื่ออยู่

                   ที่สมุทรสาคร คราวนี้เวลาขึ้นฝ๎่ง เขาไปแจ้งที่สมุทรสาคร ทางสมุทรสาครก็บอกว่าต้องมาแจ้งที่กรุงเทพฯ
                   เพราะเป็นที่กักขัง กรุงเทพฯ ก็บอกว่าต้องไปแจ้งที่สมุทรสาคร เพราะจุดที่ลงเรืออยู่ที่สมุทรสาคร  จึงเกิด
                   การบ่ายเบี่ยงกันว่าต้องไปแจ้งที่ไหน และที่สําคัญคือไม่ต้องการให้มีคดีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นในพื้นที่ของ
                   ตัวเอง

                          “ในเชิงนโยบายเรื่องขอทานควรมีนโยบายว่า ต่อไปเราจะทําในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย จะ
                   มีเรื่องของการคุ้มครอง จะมีเรื่องของการปูองกัน มีการกําหนดแบบแผนออกมา แต่ขณะนี้ยังกระท่อน
                   กระแท่น นโยบายก็ยังมีแค่การกวาดล้าง ยังไม่เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นตอนนี้เราอาจจะต้องมีการคุยกัน

                   อีกว่า ถ้าจะให้สําเร็จผลในระยะยาวจะต้องทําอย่างไรบ้าง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ นโยบายต้องสอดคล้อง
                   กับคนที่ปฏิบัติงานจริงด้วย มูลนิธิมีประสบการณ์ว่าได้รับเชิญจากหน่วยงานรัฐให้ไปร่วมพูดคุยกันในเรื่อง
                   การแก้ไขป๎ญหาคนขอทาน แต่พอไปถึงปรากฏว่าเขามีนโยบายอยู่แล้วที่เขากําลังจะทํา นั่นหมายความว่า
                   ในวงประชุมนั้น ไม่ว่าเราจะแย้งในเรื่องอะไรมันไม่มีผลแล้ว เพราะฉันจะทําแล้ว เราก็เลยคิดว่าพวกเขา
                   เชิญ NGO  ไปเพื่อรับรู้เฉยๆ ดังนั้นในวงประชุมมันจึงไม่ใช่ป๎ญหาการขอทานจริงๆ มันเป็นแค่การรับฟ๎ง

                   นโยบายเท่านั้น แล้วก็จบ”

                          (๒) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF)

                          มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (Human Rights  and Development  Foundation)
                   จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓  มูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและปกปูองสิทธิมนุษยชน
                   ประชาธิปไตยและสันติภาพ  เสริมสร้างมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ และ
                   ส่งเสริม และดําเนินการให้หลักการดังกล่าวได้รับการปฏิบัติ  สนับสนุนการพัฒนาที่ส่งเสริมและปกปูอง

                   สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและสันติภาพ  ส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการใช้
                   ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และสิทธิของประชาชนในเรื่องดังกล่าว  คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและ
                   ต่อต้านการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า  มูลนิธิฯดําเนินงานด้วยการประสานงานและร่วมมือกับ
                   บุคคลและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งองค์กรหน่วยงานของรัฐและองค์การเอกชน จัดให้มี

                   การศึกษา ฝึกอบรม เผยแพร่ ประชุม สัมมนา ประชุมทางวิชาการ ไต่สวน จัดทํารายงานสถานการณ์
                   สังเกตการณ์การเลือกตั้ง สังเกตการณ์การพิจารณาคดี ร้องเรียน ให้ความช่วยเหลือหรือดําเนินการด้าน
                   กฎหมายและอรรถคดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น




                                                             ๙๓
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118