Page 112 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 112
“หน่วยงานแรกที่มีป๎ญหามากคือตํารวจ เพราะเจ้าหน้าที่ตํารวจเป็นเจ้าหน้าที่ฝุายปกครอง และ
เข้าไปมีบทบาทอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาญา พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ก็ยังมีบทบาท
เข้าไปคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก แต่ว่าเวลาที่เราแจ้งเบาะแส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เด็ก
ถูกทําร้าย พอแจ้งไป เขาก็จะอ้างว่าเป็นเรื่องในครอบครัว แจ้งเรื่องเด็กขอทานก็อ้างเป็นเรื่องความยากจน
คือทัศนคติของเจ้าหน้าที่ไม่ได้มอง หรือจะเอากฎหมายไปบังคับใช้หรือว่าจะเข้าไปช่วยเหลือเด็กที่ตกเป็น
เหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงหรือค้ามนุษย์ แบบเร่งด่วนเลย ซึ่งมูลนิธิฯ ก็เคยมีข้อเสนอต่อ
เจ้าหน้าที่ตํารวจว่า ถ้าหากหน้างานของเจ้าหน้าที่ตํารวจมีเยอะ หรือล้นแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ต้องบอกว่า มัน
ทําไม่ได้แล้วจริงๆ ในเรื่องของการคุ้มครองก็อาจจะต้องมอบให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เพื่อให้เพิ่มเจ้า
พนักงานคุ้มครองเด็ก ให้มาทํางานเรื่องนี้โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ตํารวจที่เป็นฝุายบริหาร เวลามาประชุมก็
ชอบรับไป จะไปทํา แต่พอมาถึงในระดับปฏิบัติการ ทําไม่ไหว เพราะหน้างานมันเยอะมาก ถือกฎหมายอยู่
หลายฉบับ เพราะว่าเขาก็ทํางานจน Overload ไปแล้ว”
ต่อประเด็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มูลนิธิกระจกเงาเห็นว่า ป๎ญหาการค้ามนุษย์จะมีความ
รุนแรงขึ้น จะมีการนําแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาเพิ่มมากขึ้น ตัวแรงงานเองที่เข้ามากับปริมาณงาน
ที่รองรับเพียงพอกันหรือไม่ สําหรับกลุ่มคนที่ไม่ได้งานก็จะมีความเสี่ยงที่จะถูกบังคับใช้แรงงาน ไม่ว่าจะ
เป็นประมงหรือตามโรงงานต่างๆ
สําหรับเด็กที่มากับพ่อแม่ ประเทศไทยยังไม่มีการรองรับในเรื่องของสถานศึกษา เด็กก็ไม่รู้จะทํา
อะไรโดยเฉพาะเวลากลางวัน พ่อแม่ไปทํางานหมด เด็กส่วนหนึ่งก็ออกมาแร่ร่อนตามท้องถนน หรือส่วน
หนึ่งอยู่ในแค้มป์ก็มีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้เราจะมีกฎกระทรวงแล้ว
ว่าเด็กทุกคนต้องมีโอกาสได้เรียนแต่ในทางปฏิบัติ ไม่เป็นจริง เพราะว่าเด็กข้ามชาติยังไม่มีทักษะในการฟ๎ง
พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย เพราะฉะนั้นเขาจะไปอยู่ในระบบการศึกษาของเด็กไทยไม่ได้เลย ต้องมีการ
พูดคุยเกี่ยวกับการปูองกันป๎ญหาก่อน ถ้าเราจะเปิด AEC แล้วผู้ติดตามเราควรจะให้เข้ามาหรือไม่ หรือเรา
จะออกระเบียบว่า คนที่เข้ามาต้องเป็นผู้ใช้แรงงานเท่านั้น ถ้าเราไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องเด็ก ก็
จะไปกระทบเรื่องอื่น เด็กมีความเสี่ยงในทุกเรื่อง บางที่อาจจะเข้าสู่วงจรการค้าประเวณีได้ ซึ่งก็จะเป็น
ป๎ญหาสังคมในเรื่องอื่นๆ ต่อไป
ในเรื่องความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน มูลนิธิเห็นว่า ขณะนี้มีความร่วมมือในเรื่องของการ
ส่งกลับ กลุ่มคนข้ามชาติที่ได้รับการช่วยเหลือจากทางการของประเทศไทย ถ้าคนไหนมีความเสี่ยงเรื่อง
การค้ามนุษย์ จะไม่มีการดําเนินคดี จะใช้วิธีการส่งกลับประเทศต้นทาง ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะรวมไปถึงคนขอทาน
ด้วย คนขอทานไม่มีการฟูองคดี คือเขามีความเสี่ยงของการที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ดังนั้นก็จะมี
การส่งกลับประเทศต้นทางในทันที นี้ก็คือความร่วมมือในการคุ้มครองเหยื่อ แต่การส่งกลับก็มีป๎ญหาคือ
การส่งกลับของเรายังไม่ค่อยมีคุณภาพ เรามีแต่ส่งแต่ไม่มีการคุยกันเลยว่าเราจะพัฒนาศักยภาพผู้ตกเป็น
เหยื่อพวกนี้อย่างไร กลุ่มขอทานบางคนไม่มีทักษะการใช้ชีวิต ไม่เคยทําอย่างอื่นมาเลยนอกจากขอทาน
พอเราจัดส่งไปแล้ว ไม่มีการจัดหาอาชีพ ฝึกทักษะ ไม่มีการเอาเด็กเข้าระบบการศึกษา ท้ายที่สุดก็จะวน
กลับเข้ามาอีก จากการกวาดล้างจับขอทานไป ๒ – ๓ ครั้ง มีกลุ่มขอทานที่ได้รับการช่วยเหลือซ้ําอยู่
หลายราย ระยะเวลาห่างกันเดือนกว่า นั่นหมายความว่าการลักลอบกลับเข้ามาใหม่ง่ายมาก
“การปรับปรุงการร่วมมือในการส่งกลับต้องมีการพูดคุยกับประเทศต้นทางว่า ถ้าส่งกลับไปแล้ว
ต้นทางต้องดูแลบุคลากรของประเทศเขาด้วยว่าจะให้เขาทํางานอะไร อยู่ในที่ทางแบบไหน ถ้าครอบครัว
อยู่กันอย่างไม่เหมาะสม ทางการก็ต้องเข้าไปดูแล ลงไปจัดระเบียบว่าทําไมต้องเอาลูกไปขอทาน เอาเด็ก
๙๒