Page 111 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 111

นายหน้าไปซื้อเด็กมาจากกัมพูชาเลย บอกกับพ่อแม่ของเด็กว่าจะเอามาเรียนหนังสือ จ่ายเงินให้กับ
                   ครอบครัว ๑๐๐ ดอลล่าร์ แต่จริงๆล้าก็เอาเด็กมาใส่ชุดนักเรียนแล้วก็มายืนถือกล่องบริจาค มีข้อความ

                   ภาษาไทยว่าขอรับบริจาคทุนการศึกษา นี่เป็นวิธีการใหม่ รายได้เฉลี่ย ได้วันละ ๒,๐๐๐ –  ๓,๐๐๐  บาท
                   ซึ่งดีกว่าขอทานมาก โดยมีการทํากันเป็นขบวนการ ตั้งแต่การเข้าไปหาเด็กตามแนวชายแดน ไปยื่น
                   ข้อเสนอให้กับกลุ่มคนยากจนเพื่อขอเช่า หรือขอซื้อเด็กเข้ามา แล้วก็จะมีกลุ่มนายหน้ากลุ่มหนึ่งที่นําพา
                   เด็กเข้ามา เพื่อมาส่งกับคนที่เป็นคนคุมเด็กที่จะเอาเด็กไปแสวงหาผลประโยชน์ คนที่ไปติดต่อส่วนใหญ่จะ

                   เป็นคนกัมพูชาด้วยกัน โดยหลักการเหยื่อเป็นคนจากประเทศไหน นายหน้าหรือคนคุมก็จะเป็นคนประเทศ
                   นั้น  คนกัมพูชามีหลายครับครัวที่มีค่านิยมมีบุตรมาก เขากลัวเรื่องการคุมกําเนิดเหมือนกับที่คนไทยเคย
                   กลัว เคยไปถามชาวกัมพูชาบางคนว่าทําไมมีลูกเยอะขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ก็ทํางานอยู่ในแค้มป์ก่อสร้าง เขาบอก
                   ว่าเขากินยาคุมแล้วแต่ว่าอาจจะกินผิด มันสะท้อนให้เห็นว่าเขาไม่มีความรู้เรื่องนี้จริงๆ เพราะฉะนั้นพอมี

                   ลูกมากก็ดูแลไม่ไหว จึงเป็นช่องให้นายหน้าเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ คือยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อ อีก
                   บางส่วนก็เช่า ตกลงกันเลยว่ากี่เดือนจะคืนเด็ก ๖ เดือน หรือ ๓ เดือน ก็ว่ากันไป ให้เดือนละเท่าไหร่มีการ
                   โอนเงินให้กันเลย
                          เด็กที่ตกเป็นเหยื่อรู้ตัวว่าตัวเองกําลังถูกหลอก คือเวลาที่ไปคุยกับครอบครัวคุยอีกเรื่องหนึ่ง เช่น

                   เคยมีกรณีไปเช่าเด็กเพื่อมาขายดอกไม้ นายหน้าก็บอกกับครอบครัวว่าจะพาไปขายดอกไม้แต่ไม่ได้บอกว่า
                   จะพาไปขายวันละกี่ชั่วโมง หรือขายวันละกี่ดอก พอเข้ามาอยู่ในกรุงเทพก็ถูกบังคับให้ขายดอกไม้วันละ
                   ๑๐๐  ดอก แล้วให้ขายตั้งแต่ ๔ ทุ่มถึง ตี ๕ ไม่ได้พักผ่อน กลางวันก็ต้องมาเก็บกวาดที่พัก หรือในกรณี

                   แรงงานประมง ก็บอกว่าอยากทํางานรายได้ดีไหม ไปทํางานคัดแยกปลา แต่บอกไม่หมดว่าไปคัดแยกปลา
                   บนเรือประมง พวกตกเป็นเหยื่อจะมีทั้งเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง ก็จะมีความน่าสงสาร การไปขายดอกไม้
                   การไปขอทาน การไปขายพวกมาลัย สามารถเรียกความน่าสงสารได้ทั้งหมด คนเห็นเด็กก็ช่วยกันซื้อ คิดว่า
                   เด็กจะได้รีบกลับไปนอน แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้กลับไปนอน ก็ต้องไปเอาดอกไม้มาขายอีก
                          จากประสบการณ์การทํางานของมูลนิธิกระจกเงา พบว่า ป๎ญหา อุปสรรคในเรื่องของการปูองกัน

                   ปราบปรามการค้าค้ามนุษย์ สําหรับประเทศไทยคือเรื่องคอรัปชั่น ซึ่งเป็นป๎ญหาที่ใหญ่มาก  มีกลุ่มผู้มี
                   อิทธิพลเข้าไปมีบทบาท มีส่วนเรียกรับผลประโยชน์ ในขบวนการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ อย่างประเด็นเด็ก
                   ขอทาน คือเด็กที่นั่งอยู่ข้างถนนล้วนมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อหมด แต่เวลาที่มูลนิธิฯ แจ้งเบาะแสไปยัง

                   เจ้าหน้าที่ตํารวจ ไม่มีการดูแล ตรวจสอบ สอบสวน หรือลงมาช่วยเหลือเลย แล้วบางพื้นที่มีกลุ่มขอทาน
                   เป็นจํานวนมาก ๑๐  -  ๒๐ คน นั่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีลักษณะที่เด็กนั่งคนเดียว มีคนยืนเฝูา ถ้า
                   เจ้าหน้าที่ลงมาดูแล หรือจัดการจริงๆ ป๎ญหานี้ก็น่าจะหมดไป หรืออย่างเรื่องที่เรารู้อยู่แล้วว่าเด็กกัมพูชา
                   ตกเป็นเหยื่อมากที่สุดมีการลักลอบเข้ามาทางช่องทางไหนบ้าง แต่เราก็ยังพบเหตุการณ์ที่ยังลักลอบเข้ามา

                   อยู่เหมือนเดิม เช่นจากด่านอรัญประเทศ เป็นด่านที่กลุ่มขอทานอ้างถึงบ่อยที่สุดว่ามาจากอรัญประเทศ มา
                   จากปอยเป็ด ระยะทางจาก ปอยเป็ดมา กรุงเทพ ฯ เกือบ ๓๐๐ กิโลเมตร ผ่านเข้ามาได้อย่างไร ทั้งๆ ที่มี
                   ด่านตลอดในเขตจังหวัดสระแก้ว ชาวบ้านก็ยังรู้ว่าเขมรลักลอบเข้ามาทางนี้ แล้วทําไมเจ้าหน้าที่ตํารวจ
                   หรือเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไม่รู้   จึงเชื่อได้ว่า มีการหย่อนยานจริง ในเรื่องของการปล่อยให้มี

                   การลักลอบให้เข้ามามากมายขนาดนี้ รวมถึงแนวทางการแก้ไข้ป๎ญหาระหว่างภาครัฐกับเอกชนก็ยังมีการ
                   ขัดแย้งกันอยู่ แล้วเวลาที่รัฐบาลออกนโยบายก็ไม่ได้ออกจากคนที่ทํางานจริงๆ มันเกิดจากคนที่ฟ๎งข้อมูลมา
                   ต่ออีกทอดหนึ่ง เพราะฉะนั้นนโยบายก็จะไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ




                                                             ๙๑
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116