Page 118 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 118

ให้ความช่วยเหลือแรงงานทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในประเด็นสิทธิมนุษยชน การเข้าถึงสิทธิขั้น
                   พื้นฐาน การปูองกันการใช้แรงงานเด็ก การปูองกันการค้าหญิงและเด็ก การปูองกันการค้ามนุษย์ใน

                   รูปแบบของแรงงาน และทําให้เกิดการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของบุตรหลานหรือผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ
                          ป๎จจุบันมูลนิธิฯมีเจตนามุ่งมั่นที่จะดําเนินการอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาระบบการเข้าถึงการ
                   ช่วยเหลือผู้ประสบป๎ญหาจากการถูกละเมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง คือ
                   การถูกค้ามนุษย์ทั้งคนไทยและคนข้ามชาติในประเทศไทย  พื้นที่ทํางานของมูลนิธิฯ อยู่ที่จังหวัด

                   สมุทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร และราชบุรีและพื้นที่เชิงประเด็นป๎ญหาการค้ามนุษย์ทั่ว
                   ประเทศ
                          มูลนิธิฯ เน้นการทํางานแบบเครือข่ายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เช่นกรณีการไปทะลาย
                   โรงงานจะทํางานเป็นทีมกับตํารวจสันติบาลจากส่วนกลาง  และกรมสอบสวนพิเศษ และยังมีการทํางาน

                   เป็นเครือข่ายกับองค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs)ในต่างประเทศ  เช่น ที่กัมพูชามีเครือข่ายอยู่ ๑๐ องค์กร มี
                   การแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เวลามีป๎ญหาชาวกัมพูชาถูกหลอกลวงจากขบวนการค้ามนุษย์ มีการส่งข้อมูลถึง
                   กันก็จะมีการทํา Case conference และกําลังขยายเครือข่ายการทํา Case Conference ไปยังลาว และ
                   เมียนมา

                          มูลนิธิฯ เน้นการทํางานเชิงรุก ให้แรงงานอพยพรู้ถึงสิทธิของตัวเองโดยการอบรมให้กับ
                   อาสาสมัครแรงงานให้เป็นเครือข่ายเฝูาระวัง มีการวางเครือข่ายอาสาสมัครไว้ตามจุดต่างๆ ใครมีหน่วย
                   ก้านดีสามารถพูดภาษาไทยได้ มีจิตใจดี มีจิตอาสา สามารถช่วยผู้อื่นได้ก็จะมอบหมายให้ทําหน้าที่เฝูา

                   ระวัง เมื่อพบการละเมิดสิทธิแรงงานก็ให้ส่งข้อมูลมาที่มูลนิธิฯ  ป๎จจุบันการส่งข้อมูลทําได้ง่ายเพราะทุกคน
                   เริ่มใช้ไลน์ เฟสบุค ก็ใช้วิธีส่งมาทางกล่องข้อความ กิจกรรมเชิงรุกที่ทําตลอดคือการจัด Mobile  Unit
                   ในช่วงเย็นและในช่วงวันหยุด คล้ายกับการฉายหนังกลางแปลง ไปแจกเอกสาร ไปรับสมัครเด็กเรียน มีการ
                   จัดกิจกรรมพิเศษประกวดเพลงโพร์คซองพม่า ร่วมกับประชาสัมพันธ์เขต ๘ กาญจนบุรี เป็นงานของเขต ๘
                   เริ่มมาร่วมกับมูลนิธิ ดึงเอาความเป็นอาเซียนเรื่องวัฒนธรรมเข้ามา แล้วก็ให้เขียนเพลงที่มีเรื่องสิทธิ

                   มนุษยชนขึ้นมา อันนี้เป็นอีกเรื่องในการเข้าถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งต้องใช้หลายวิธีในการเข้าถึงเขา
                   ประสบการณ์ของมูลนิธิฯพบว่า แรงงานอพยพต่างชาติส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ประมง ในภาค
                   การเกษตรมีแรงงานพม่าและกัมพูชา ภาคบริการร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นแรงงานลาว และมีแนวโน้มจะ

                   เอาแรงงานเวียตนามเข้ามา เพราะเวียตนามเริ่มเข้ามามากขึ้น  แรงงานกัมพูชาส่วนใหญ่ไปด้านก่อสร้าง
                   และด้านการเกษตร
                          มูลนิธิฯ เห็นว่า ป๎ญหาการค้ามนุษย์ที่ไม่สามารถแก้ได้หมด เพราะมีป๎ญหาคอรัปชั่น ระบบส่วย
                   ของเจ้าหน้าที่ ถ้าเป็นเรื่องผู้หญิงขายบริการทางเพศที่แก้ไม่ได้ก็เกิดจากเรื่องคอรัปชั่นเป็นเรื่องหลัก ถ้าจะ

                   ยกระดับประเทศไทยให้หลุดออกจาก Teir ๓ ต้องเน้นการทํางานเชิงลุกมากกว่านี้ กระทรวงการพัฒนา
                   สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทํางานตั้งรับอย่างเดียว  เรื่องคอรัปชั่นของตํารวจต้องจัดการตํารวจด้วย
                   กันเอง เรื่องส่วย เรื่องอิทธิพลเครือข่ายมืดๆต้องเคลียกันเอง ถ้าให้ NGO มีส่วนร่วมต้องเน้นภาคประชาชน
                   มากกว่านี้ มันเหมือนว่าภาครัฐเองก็พยายามแก้ป๎ญหาเองแต่ว่าการดึงให้ NGO มีส่วนร่วมยังมีน้อย  รัฐพูด

                   เสมอว่าต้องบูรณการ ต้องการให้มีส่วนร่วม แต่ในทางปฏิบัติ รัฐก็ทําเอง อย่างป๎จจุบันเขาก็ตั้ง
                   คณะกรรมการของเขาไป เราก็มีส่วนร่วมในโครงการไหมก็ไม่มี แต่มีแค่ว่าดึงเราเข้าไปพูดไปคุย เรื่อง
                   กองทุนต่อต้านการค้ามนุษย์ต้องคิดใหม่  ต้องแยกให้เป็นเรื่องของ NGO ในภาคประชาชนสามารถเข้าถึงได้




                                                             ๙๘
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123