Page 115 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 115
คืนก็ได้ ซึ่งก็เป็นแรงจูงใจที่ดีเพราะไม่ต้องออกเงินเลย เอาตัวเองมาแค่นั้น ซึ่งนายหน้าก็มีเปูาหมายว่าเมื่อ
ได้คนมาก็ต้องนําลงเรือเพื่อไปขายเลย ผู้ถูกหลอกส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุตั้งแต่ ๑๘ -๕๐ ปี และจะไม่
สามารถติดต่อสื่อสารกับใครได้เลย จะมีการยึดโทรศัพท์มือถือ”
“คนที่ถูกหลอกไปลงเรือประมง ถ้าเลวร้ายที่สุดก็จะเป็นภาคใต้ ที่ไม่ให้ค่าตอบแทนเลย ให้ทําอยู่
๔ ปี ไม่ได้อะไรเลย case นี้อายุ ๕๖ ปี เปลี่ยนเรือไป ๓ ลํา ลําแรกอยู่ ๑ ปี ลําที่ ๒ อยู่ ๒ ปี และลําที่ ๓
อยู่ ๑ ปี ไต๋กงเห็นว่าเริ่มแก่แล้วก็เลยให้ขึ้นฝ๎่งให้ไปเอาค่าแรงที่นายจ้าง นายจ้างก็บอกว่าถ้าอยากได้เงิน
ให้ลงเรือไปอีก เขาก็เลยเดินเร่ร่อนออกมา และได้รับการช่วยเหลือ แต่ถ้าเป็นคดีที่เคยไปช่วยเหลือที่
ชลบุรี อันนี้หลักฐานค่อนข้างอ่อน มันเลื่อมล้ําระหว่างค้ามนุษย์กับใช้แรงงานโดยมิชอบ เพราะเหยื่อลงเรือ
ไปแค่ ๑๕ วัน แล้วเขามีมือถือ เขาแอบติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทัน พอช่วยเหลือมาได้มันมีหลักฐานที่
นายจ้างได้หักเงินเดือนเป็นค่าตัวออกให้นายหน้า มีหลักฐานว่าค่าตัว ๑๖,๐๐๐ บาท แล้วนายจ้างก็บอก
ว่าเดือนนี้ทํางานได้ ๑๕ วันก็หักออกไป ๑๗,๐๐๐ มันก็เลยเลื่อมล้ํา เรียกว่านายหน้าไม่จ่ายเงิน หรือจ่าย
แล้วแค่หักค่าหัวออกไป นายหน้าจะมีมากกว่า ๑ คน มีคนไทยด้วย คนไทยจะเป็นคนขับรถเพราะจะต้อง
เป็นคนไทยถึงจะขับรถได้ และเป็นตัวเชื่อมกับเจ้าของเรือ ส่วนใหญ่พม่าที่เข้ามาก็คือ ลักลอบเข้ามาผิด
กฎหมาย ไม่ผ่านด่าน แต่ไม่โดนจับจนเข้าไปสู่กระบวนการค้ามนุษย์ผู้ตกเป็นเหยื่อประมาณ ๔ – ๕ คน
ต่อนายหน้าคนหนึ่งที่หลอกเข้ามา
คดีที่เกิดขึ้นที่ อ.กันตัง เมื่อปี ๒๕๕๕ มีการบังคับใช้แรงงานโหดมาก และถ้าใครที่คิดจะหนีก็จะมี
การฆ่าตายต่อหน้าต่อตากันเลย หรือบางคนทํางานไม่ดีก็โดนตีตาย แล้วก็โยนลงทะเล เหยื่อบางคนก็โดน
ถูกทําร้ายทุบตี ที่มูลนิธิฯได้สัมภาษณ์มา ที่อยู่บนเรือนานที่สุด ก็ ๔ ปี และอยู่บนเรือตลอดเวลา ไม่ได้เห็น
แผ่นดินเลย ความต้องการแรงงานในเรือประมงมีมาก ไม่จํากัด ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี บนเรือก็มีแรงงานไทย
ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นคนอีสานที่ถูกหลอก แล้วอีกคดีหนึ่งก็จะมีที่อินโดนีเชีย ที่ LPN ไปช่วย ที่คนไทยโดน
หลอก ซึ่งส่วนใหญ่ที่เป็นแรงงานไทยบางคนก็โดนโปฺะยาสลบก่อนแล้วเอาไปขึ้นเรือ จะไม่ได้โดนหลอกโดย
การชักจูงสักเท่าไหร่ พวกนี้ก็จะติดต่อญาติไม่ได้เลยเพราะไม่มีโทรศัพท์มือถือ ถ้ามีอยู่กลางทะเลก็จะไม่มี
สัญญาณ หรือไม่ก็ต้องรอให้ใกล้ฝ๎่งมีสัญญาณถึงโทรได้ ไต้ก๋งจะ ไม่ได้เป็นเจ้าของเรือ แต่จะเป็นคนที่ดูแล
และได้ส่วนแบ่งจากนายจ้างจากที่จับปลาได้บนเรือนั้น บางคนที่ทํางานก็ไม่เคยเห็นหน้านายจ้าง มันก็เลย
เป็นป๎ญหาที่แรงงานจะไม่รู้ว่าใครเป็นนายจ้าง ทําให้ตํารวจสาวไปไม่ถึงนายจ้าง แล้วตํารวจก็ไม่สืบด้วย
เขาบอกว่าแรงงานไม่ได้บอกให้ดําเนินคดีกับนายจ้าง ไต้ก๋งก็อยู่ในเรือ จริงๆ ก็จับได้ ถ้าจะจับแต่ไม่จับเอง
เวลาให้ตํารวจไปช่วยเหลือเขาก็จะไปช่วยแต่แรงงานจริงๆ ไม่แตะต้องคนอื่นเลย แล้วพวกแรงงานที่จับมา
มันก็จะมีพวกลูกน้องของไต้ก๋งติดมาด้วย มันก็ยิ่งทําให้น้ําหนักของหลักฐานที่จะเอาผิดพวกนั้นลดลง
เพราะพวกลูกน้องไต้ก๋งที่ติดมา เขาก็จะให้ข้อมูลว่าเรือให้การดูแลดี ไม่เคยโดนตี เลย
จากประสบการณ์ของมูลนิธิฯ พบว่า อุตสาหกรรมที่มีการค้ามนุษย์มากที่สุดคืออุสาหกรรม
ประมง ซึ่งการดําเนินคดีมีป๎ญหามาก ทั้งหลักฐาน หรือการที่เจ้าหน้าที่ตํารวจจะดําเนินการหาหลักฐาน
หรือระยะเวลาการดําเนินคดียาวมาก ตามหลักเจ้าหน้าที่ตํารวจจะต้องทําสํานวนส่งให้อัยการภายใน ๖
เดือน แต่บางกรณีที่ใช้เวลาเป็นปี แล้วผู้เสียหายต้องมาอยู่ในบ้านพักเป็นเวลานานเกินจําเป็น จะมีป๎ญหา
ตั้งแต่พนักงานดําเนินคดีตั้งแต่ในขั้นตอนการสอบสวน อันนี้เป็นป๎ญหามาก
กฎหมายปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี ๒๕๕๑ ยังมีป๎ญหาการตีความคําว่าถูกแสวงหา
ประโยชน์ยังคลุมเครืออยู่ ในส่วนของพนักงานสอบสวนที่ได้รับร้องเรียน หรือรับตัวเหยื่อมา ก็ต้องมีการ
คัดแยกเหยื่อ ซึ่งในแบบฟอร์มการคัดแยกเหยื่อไม่ละเอียดพอที่จะตีความได้ว่าตกเป็นเหยื่อหรือไม่ บางที
๙๕