Page 110 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 110
เรือประมง มูลนิธิจึงได้มีการทํางานในส่วนของการคุ้มครองสิทธิประมงนอกน่านน้ําด้วย แต่ป๎จจุบัน
โครงการนี้ยุติภารกิจไปแล้ว เนื่องจากไม่มีงบประมาณ และไม่มีบุคลากรที่จะมาทํางานเรื่องนี้
ในประเด็นการที่ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของขบวนการค้า
มนุษย์ มูลนิธิกระจกเงาเห็นว่า ถ้าวัดกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ประเทศไทยมี
เศรษฐกิจที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีแรงงานเข้ามาเป็นจํานวนมาก และเมื่อมีการเข้ามาจํานวนมากก็
จะมีพวกกลุ่มที่เข้ามาหางานทําแล้วไม่มี ประกอบกับแรงงานประมงขาดแคลน ทําให้เกิดการหลอกเอาคน
เหล่านี้ไปทํางานบนเรือประมง ในพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน ภาคเหนือ หรือในเขตชนบทต่างๆ มีค่านิยมใน
เรื่องของการไปทํางานต่างประเทศจึงมีการหลอกให้ไปทํางานต่างประเทศ เช่น ทํางานนวดสปา หรือ
เกษตรกรรม แล้วก็มีบางส่วนที่นําแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา แล้วก็นําไปขายต่อ ที่ประเทศ
มาเลเซีย ประเทศไทยจึงมีป๎จจัยดึงดูดแรงงานเข้ามา และการตรวจสอบก็ทําได้ยาก
จากประสบการณ์ของมูลนิธิพบว่า ป๎ญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยเกิดมาจากหน่วยงาน
ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เมื่อประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน Tier ๓ รัฐบาลจึงมีมาตรการเร่งด่วนทั้งเรื่องการจัด
ระเบียบเรือประมง การจัดระเบียบคนขอทาน การบุกจับแหล่งค้าประเวณีต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้น
รัฐบาลพยายามทําเพื่อให้มีตัวเลขด้านการช่วยเหลือ เพื่อที่จะได้มีตัวเลขตอบโต้กับสหรัฐว่า ประเทศไทย
ได้มีการช่วยเหลือ แต่ไม่ได้มีการพูดคุยกันระยะยาวว่า ต่อไปเราขึ้นไปเป็น Tier ๒ แล้วเราจะแก้ป๎ญหา
เรือประมงอย่างไร จะแก้ไขเรื่องเด็กขอทานอย่างไร ยังไม่มีรูปธรรม มีแต่ฉาบฉวยเพราะเรามุ่งเน้นในเรื่อง
ของการทําสถิติเชิงปริมาณอย่างเดียว
มูลนิธิกระจกเงาเห็นว่า ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐมีความพยายามในการบูรณาการในเรื่องของการ
แก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเกิดจากการที่ทุกหน่วยงานถูกบีบบังคับแล้วว่า ต้องเข้ามามีส่วนร่วม
เพราะฉะนั้นจึงเกิดการทํางานร่วมกัน แต่หลังจากที่ขึ้นมาเป็น Tier ๒ แล้ว จะยังรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน
เพื่อจะแก้ไขป๎ญหาหรือไม่ แต่จริงๆ แล้วก็มีความขัดแย้งกันอยู่ภายใน เช่น เรื่องแรงงานประมง สมาคม
ประมงก็บอกว่ามีป๎ญหาเรื่องค้ามนุษย์ จึงมีการกล่าวหาว่า การที่ประเทศไทยได้ Tier ๓ ก็เพราะ NGO
ชอบพูดว่ามันมีป๎ญหาเรื่องการค้ามนุษย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเป็น การแก้ไขป๎ญหาจึงต้องร่วมมือกัน
ในการแก่ไขป๎ญหาคนขอทาน ควรมีการกําหนดไว้เลยว่าเจ้าภาพคือกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ ผู้ว่า
ราชการจังหวัด และองค์กรเอกชนต้องร่วมกันแก้ไข
สําหรับเด็กขอทานมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อทั้งในเรื่องการถูกบังคับขอทาน หรือมีเด็กขอทาน
บางส่วนที่เขาขอทานอยู่ข้างถนน แล้วมีชาวต่างชาติมาขอซื้อเด็กเพื่อไปกระทําทางเพศกับเด็ก ดังนั้นเด็กที่
อยู่ข้างถนนเขามีความเสี่ยงในเรื่องแบบนี้จริง มีเด็กเร่ร่อนจํานวนมากที่เขาโตมา แล้วเคยไปกับ
ชาวต่างชาติ แล้วเขาก็ก้าวเข้าสู่การค้าประเวณีอย่างเต็มตัว ซึ่งป๎ญหาเด็กขอทานก็จะไปกระทบกับป๎ญหา
การค้ามนุษย์อื่นๆ ส่วนใหญ่ที่เป็นเด็กขอทานเป็นเด็กต่างชาติ ประมาณ ๘๐% และเด็กไทยด้วยประมาณ
๒๐% ซึ่งมีตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ ๑๒ ปี ถ้าเกินกว่านั้นส่วนใหญ่เด็กก็จะหมดความน่าสงสาร
แล้ว โตแล้ว มีทางเลือกหนึ่งก็คือผันตัวเองไปเป็นนายหน้า ก็กลายเป็นคนคุมเด็ก เคยมีการช่วยเหลือ ไป
จับกุมนายหน้าคนหนึ่งเป็นคนคุมเด็กอายุแค่ ๑๔ ปี
มูลนิธิกระจกเงากล่าวถึงรูปแบบการจัดการของเครือข่ายการค้ามนุษย์ในประเด็นการนําเด็กมา
ขอทานว่ามีรูปแบบเปลี่ยนไปมาก เดิมเราอาจจะเห็นแค่เด็กมานั่งขอทานอย่างเดียว แต่ป๎จจุบันนี้เราจะ
เริ่มเห็นว่ามีการให้เด็กมาเดินขายสินค้า ดอกไม้ กระดาษชําระ ลูกอม ตามสถานบันเทิง ล่าสุดที่พบ คือ
๙๐