Page 117 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 117
เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
เปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็น “มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้
แรงงานย้ายถิ่นและครอบครัวได้เป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทย บริการของมูลนิธิฯ มีลักษณะเป็นศูนย์ให้
คําปรึกษาและช่วยเหลือแรงงาน รวมถึงการให้คําปรึกษาและความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่แรงงานย้าย
ถิ่น ต่อมามูลนิธิฯได้ขยายขอบเขตการทํางาน เนื่องจากมีจํานวนประชากรแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
เพิ่มมากขึ้น แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทํางานเป็นประชากรวัยหนุ่มสาว ทําให้อัตราการเกิดขึ้นของป๎ญหา
เพิ่มขึ้น เกิดเด็กข้ามชาติในประเทศไทย ประกอบกับมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ให้ความสําคัญกับป๎ญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบของแรงงาน
การค้ามนุษย์จึงกลายเป็นป๎ญหาสําคัญที่ทางมูลนิธิ ฯ ได้ดําเนินการ
มูลนิธิ ฯ มีบุคลากรที่มีอุดมการณ์และความต้องการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย มี
การทํางานภาคสนามเป็นส่วนใหญ่ ทําให้ลงไปสัมผัสป๎ญหาอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ รับรู้
รากเหง้าแห่งป๎ญหาของแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม แม้แรงงานข้ามชาติจะมีงาน มีรายได้เพียงพอต่อ
ความต้องการ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ได้รับการ
คุ้มครองทางสังคมที่ดีเพียงพอ และที่สําคัญ แรงงานข้ามชาติคือกลุ่มเปราะบาง มีความเสี่ยงต่อการถูก
คุกคามและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์จากกระบวนการค้ามนุษย์ เช่น ถูกบังคับ
หลอกลวงกักขังให้เป็นแรงงานประมงต่อเนื่อง แรงงานเด็ก หญิงค้าบริการ มูลนิธิฯ จึงเน้นการทํางานโดย
ใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อแก้ไขป๎ญหาอย่างจริงจัง ส่งเสริมการรับรู้และเข้าถึงสิทธิที่พึงจะได้รับ แรงงานข้าม
ชาติและผู้ติดตามมีศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ทัดเทียมคนไทยในสังคมไทยและสังคมโลก การ
ตระหนักในข้อนี้จะทําให้ลักษณะการทํางาน เป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติและมี
ความสุข
มูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นที่สนใจศึกษา ค้นคว้าประเด็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้าน
แรงงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศหลายองค์กร
เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO-IPEC, องค์การช่วยเหลือเด็กแห่งสหราชอาณาจักร Save the Children
UK, สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุุนประจําประเทศไทย, UNIAP ซึ่งเป็นการทํางานเกี่ยวกับการทํางานปูองกัน
การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การคุ้มครองสิทธิเด็กต่างชาติ สิทธิทางการศึกษา สิทธิทางสุขภาพ
การปกปูองคุ้มครองเด็ก และการปูองกันการค้ามนุษย์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแสวงหาประโยชน์
ด้านแรงงานและการค้ามนุษย์ ตลอดระยะเวลาการดําเนินการ องค์กรชํานาญการต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับการละเมิดสิทธิแรงงาน การปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เนื่องจากการลงทํางานภาคสนามโดย
การปฏิบัติการร่วมกับภาคีภาครัฐ และภาคองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง
จากประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือและให้คําปรึกษาแก่แรงงานข้ามชาติในช่วง ๑๑ ปีที่ผ่าน
มา ทําให้มูลนิธิฯ มีความรู้และความเชี่ยวชาญในประเด็นป๎ญหาที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ไร้สัญชาติ หรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทํางานในประเทศไทย เน้นพัฒนากลไกการ
คุ้มครองสิทธิและการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกละเมิด และส่งเสริมการศึกษาแก่แรงงานข้ามชาติและ
ผู้ติดตาม รวมทั้งส่งเสริมสิทธิด้านสุขภาพ การทํางานที่ปลอดภัย การศึกษา และบริการทางสังคม อีกทั้งยัง
มีศูนย์ให้คําปรึกษาป๎ญหาด้านแรงงานและคดีความ เพื่อให้คําปรึกษาป๎ญหาด้านแรงงาน และดําเนินการ
๙๗