Page 109 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 109

ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาองค์กรภาคประชาสังคมที่เป็นมูลนิธิ หรือสมาคมหรือหน่วยงานนอก
                   ภาครัฐที่มีบทบาทในการรณรงค์และช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์โดยกําหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก

                   องค์กรเพื่อทําการศึกษาไว้ ๓ ประการ คือ
                          ๑) เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการรณรงค์และช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นที่
                             ประจักษ์
                          ๒) เป็นองค์กรที่ให้ความสําคัญกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน และการพัฒนา

                             สังคม
                          ๓) เป็นองค์กรที่มีวิธีการทํางานแบบเครือข่ายเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นทั้งในประเทศ และระหว่าง
                             ประเทศ
                          จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทําให้เลือกศึกษาข้อจํากัด และป๎ญหาอุปสรรคของภาคประชาสังคม ๑๐

                   องค์กร คือ (๑) มูลนิธิกระจกเงา (๒) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา  (๓) มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริม
                   คุณภาพชีวิตแรงงาน( LPN)  (๔) ศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน จ. เชียงราย  (๕) สภา
                   ทนายความ  (๖) มูลนิธิผู้หญิง  (๗) สมาคมโรฮิงญา แห่งประเทศไทย (๘) มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหา
                   ประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (๙) พันธมิตรสากลเพื่อต่อต้านการค้าหญิง  (๑๐) องค์กรระหว่างประเทศเพื่อ

                   การโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)  ผลการศึกษาบทบาทของแต่ละองค์กรมีดังนี้

                          (๑) มูลนิธิกระจกเงา

                          มูลนิธิกระจกเงา คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม หลายๆด้านได้แก่
                   งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัครและการแบ่งป๎น
                   ทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์
                   (internet)  สังคมเมืองและสังคมชนบท ทําหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราว ความเป็นจริงของ
                   สังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยวิธีคิดการสร้างคน

                   สร้างนวัตกรรม และสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่สังคม
                          มูลนิธิกระจกเงาได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ขึ้นในปี ๒๕๔๗  จากกรณีที่
                   เด็กคนหนึ่งหายออกจากบ้าน แล้วได้ติดตามจนพบว่าเด็กคนนี้ถูกบังคับให้ไปนั่งขอทานอยู่ข้างถนน ใน

                   ระยะแรก มูลนิธิกระจกเงาได้ทําการสํารวจพื้นที่ในกรุงเทพฯ พบว่า เด็กที่นั่งขอทานอยู่ตามท้องถนนส่วน
                   ใหญ่ไม่ใช่เด็กไทย แต่เป็นเด็กที่มาจากราชอาณาจักรกัมพูชา และจากการที่ช่วยเหลือเด็กออกจากข้างถนน
                   ได้สัมภาษณ์กลุ่มคนที่ขอทาน ก็พบว่า มีการจ่ายเงินให้กับนายหน้าเพื่อที่จะลักลอบเข้าสู่ประเทศไทย และ
                   เมื่อติดตามไปดูตามชายแดนอรัญประเทศ พบว่ามีหมู่บ้านที่มีความยากจนอยู่หลายหมู่บ้าน และกลุ่มคน

                   เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่พวกนายหน้าจะไปเสนอเงินซื้อขายเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา จึงได้เริ่ม
                   วิเคราะห์ป๎ญหา พูดคุยหาแนวทางการแก้ไข  เนื่องจากมีเรื่องของการค้ามนุษย์ พบว่าป๎จจัยที่ทําให้เกิด
                   กระบวนการซื้อขายเด็กมาค้ามนุษย์ ป๎จจัยแรก คือ คนไทยมีค่านิยมที่ชอบให้เงินกับเด็กขอทาน ทําให้เด็ก
                   ขอทานมีรายได้ที่ดีมากเฉลี่ยวันละ ๓๐๐ -๑,๐๐๐ บาท  พอมีรายได้ดี พวกนายหน้าก็จะเอาเงินเหล่านั้น

                   ซื้อขายเด็กเข้ามา มูลนิธิจึงเริ่มทําการรณรงค์ ให้ทุกคนหยุดพฤติกรรมนี้ แล้วเปลี่ยนเป็นการแจ้งเบาะแส
                   ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทน พอทําไประยะหนึ่งก็จะมีคนที่หาย ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด แล้วก็มา
                   หายที่สถานีขนส่งหมอชิต หรือสถานีรถไฟหัวลําโพง กลุ่มคนที่หายส่วนใหญ่จะเป็นหนุ่มวัยทํางาน แล้วก็
                   หายไปในพื้นที่เยอะมาก เมื่อทําการวิเคราะห์เจาะลึกก็พบว่า กลุ่มคนที่หายเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกหลอกไปลง


                                                             ๘๙
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114