Page 108 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 108

รูปแบบของแรงงานประมง คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเลือกเก็บค่าใช้จ่ายจากคนงานในการ
                   เดินทางไปทํางานต่างประเทศ คณะอนุกรรมการพิจารณาผลการจัดระบบการจัดหางานให้คนงานไป

                   ทํางานต่างประเทศของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เป็นต้นและหากเป็นภารกิจของ
                   หน่วยงานใด จะให้หน่วยงานนั้นรับผิดชอบไปดําเนินการ และนํากลับไปรายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบ
                   กล่าวคือ ถ้าเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ในรูปแบบแรงงาน ก็มอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าของเรื่องไป
                   ดําเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการโดยเชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ หลังจาก

                   นั้นจะจัดให้มีการประชุมพิจารณาแนวทางและมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ใน
                   รูปแบบต่างๆที่หน่วยงานตนเองมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ และจะนําผลการประชุมไปรายงานต่อ
                   คณะกรรมการที่แต่งตั้ง หากผลการประชุมมีป๎ญหาเกี่ยวข้องกับส่วนราชการใด ก็จะใช้มติที่ประชุมของ
                   คณะกรรมการมอบหมายให้ส่วนราชการนั้นรับไปดําเนินการต่อไป

                              สําหรับป๎ญหา อุปสรรค ที่สําคัญในการดําเนินงานปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของ
                   หน่วยงานรัฐ ในเบื้องต้น สามารถสรุปได้ ๕ ประการ คือ
                              ๑)  แต่ละหน่วยงานต่างมีภารกิจหลักของตนเอง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
                   การท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข

                   เป็นต้น การเพิ่มภารกิจเรื่องการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เข้าไปจึงมีผลกระทบต่อการ
                   ดําเนินงานตามภารกิจหลักเพราะต้องมีการจัดสรรกําลังคนไปรับผิดชอบเพิ่มเติมในเรื่องการปูองกันและ
                   ปราบปรามการค้ามนุษย์

                              ๒)  งบประมาณในการดําเนินงานปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของแต่ละหน่วยงานมี
                   ไม่เพียงพอ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการดําเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากภารกิจหลัก ทําให้ต้องเจียดงบประมาณ
                   จากส่วนอื่นมาใช้ในการดําเนินงาน
                              ๓)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งเป็นกระทรวงหลักในการดูแล
                   พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑  ไม่มีกําลังในการปราบปรามการค้ามนุษย์

                   โดยตรง ต้องอาศัยความร่วมมือจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย สํานักงานปูองกัน
                   และปราบปรามการฟอกเงิน ในหลายกรณี เกิดความไม่คล่องตัวในการดําเนินงาน
                              ๔)  กระบวนการคัดแยกเหยื่อซึ่งตาม พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.

                   ๒๕๕๑  กําหนดให้ดําเนินการโดยทีมสหวิชาชีพยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างตํารวจกับตัวแทน
                   ของภาคประชาสังคมอันเกิดจากการตีความกฎหมาย เป็นผลให้เหยื่อการค้ามนุษย์หลายรายกลายเป็นผู้
                   เข้าเมืองผิดกฎหมาย
                              ๕) การดําเนินงานที่ผ่านมาขาดการบูรณาการในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง  เป็นเพียงการ

                   ประสานงานเป็นครั้งคราว แต่ละหน่วยงานยังคงมุ่งทําผลงานตามอํานาจหน้าที่ที่กฎหมายของหน่วยงาน
                   บัญญัติไว้

                          ๔.๓.๒  บทบาทของภาคประชาสังคมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

                          ภาคประชาสังคมหรือ Civil Society Organizations คือการที่ภาคประชาชนมารวมตัวกันเป็น
                   องค์กรเพื่อแก้ไขป๎ญหาวิกฤตการณ์ในสังคมที่สลับซับซ้อน ยากที่รัฐจะแก้ไขซึ่งอาจจะเกิดจากความ
                   สลับซับซ้อนของป๎ญหา หรือเพราะความไร้ประสิทธิภาพของภาครัฐ




                                                             ๘๘
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113