Page 116 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 116

ตํารวจก็ยึดติดว่าผู้ตกเป็นเหยื่อจะต้องโดนทุบตีทําร้าย หรือทํางาน ๒๔ ชั่วโมง  แต่ตํารวจไม่ได้มองว่า
                   เหยื่อถูกหลอกมา  บางทีคนที่น่าจะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ กลับไม่ได้เป็น  องค์กรระหว่างประเทศก็ยัง

                   งงๆ อยู่กับการตีความของกฎหมายไทย  กฎหมายขององค์กรระหว่างประเทศตีความว่าถูกหลอกมาแบบนี้
                   ก็คือการค้ามนุษย์ แต่พอใช้กฎหมายไทย กลับกลายเป็นว่า ไม่ได้ตกเป็นเหยื่อ มันก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่
                   เป็นเรื่องของวิชาการ
                          หลังการเปิดประชาคมอาเซียน มูลนิธิฯ มองว่ารูปแบบการค้ามนุษย์จะซับซ้อนมากขึ้น ใน

                   กระบวนการนําพาเข้ามา พอเปิดอาเซียนจะมีความสะดวกในการเดินทางมากขึ้น และจะมีการแฝงตัวเข้า
                   มา เพราะฉะนั้นการที่จะปูองกันได้ก็ต้องปูองกันจากประเทศต้นทาง  ถ้ามองป๎จจัยก็คือมีเสรีภาพในการ
                   เคลื่อนย้าย ถ้ามองเรืองความรุนแรงและอาจจะไม่สามารถหยุดได้น่าเป็นเรื่องของระบบการจัดการ
                   เสรีภาพตรงนี้ เพื่อให้การปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นควรจะมีการให้

                   ข้อมูล ความรู้ แก่คนที่ประเทศต้นทางก่อนที่เข้าจะเดินทางเข้ามา ควรมีการอบรมให้คนในประเทศเขา
                   ก่อน
                          มูลนิธิฯ เห็นว่า ป๎ญหาของกฎหมายปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์คือการตีความ นอกจาก
                   การตีความก็จะเป็นในส่วนของแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เช่น ในมาตราที่ ๒๙ ในเรื่องของการคัดแยกเหยื่อ

                   ของเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถกัก คุมตัวเหยื่อไว้ได้ แต่ไม่เกิด ๒๔ ชั่วโมง แต่ถ้าอยากควบคุม
                   ตัวมากกว่านั้นก็ต้องยื่นคําฟูองต่อศาล ให้ศาลสั่ง  และศาลก็จะสั่งให้ควบคุมตัวได้ไม่เกิน ๗ วัน ซึ่งตรงนี้
                   เป็นป๎ญหามากเพราะในการคัดแยกผู้ตกเป็นเหยื่อ เวลาแค่นี้มันไม่ทัน ถ้าตั้งคัดแยกเหยื่อ ๒๐ –  ๓๐ คน

                   มันไม่สามารถทําได้ภายในวันเดียว แล้วเจ้าหน้าที่ก็ไม่อยากทําเรื่องไปที่ศาลเพราะต้องทําหนังสือเยอะมาก
                   ซึ่งตรงนี้ก็เป็นจุดอ่อนของกฎหมายฉบับนี้  และถ้าเป็นเรื่องการปูองกัน ก็คือการเข้าตรวจสถาน
                   ประกอบการ ในมาตรา ๒๗  คือ พนักงานเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการได้ก็ต่อเมื่อมี
                   มูลเหตุอันจะเชื่อได้ว่ามีการค้ามนุษย์ถึงจะเข้าไปตรวจได้ และในการตรวจสถานประกอบการก็จะเป็น
                   เจ้าหน้าที่ในส่วนของตรวจแรงงาน ซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจเรืองการค้ามนุษย์ เพราะฉะนั้นใน

                   แง่ของการปูองกันมันไม่มีประสิทธิผลเลย
                          นอกจากการปรับปรุงกฎหมายแล้ว มูลนิธิฯ เห็นว่า ควรปรับปรุงนโยบายระยะยาวมากกว่าระยะ
                   สั้น และเป็นนโยบายที่ครอบคลุมและถูกต้อง ที่ใกล้ๆ ตัวน่าจะเป็นนโยบายการขึ้นทะเบียนแรงงานที่คิดว่า

                   จับต้องได้ เป็นรูปธรรม แต่ก็ควรจะดูที่ระยะเวลาความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนด้วย ถ้าอยากให้  One
                   stop  service  เกิดขึ้นได้จริง อยากให้แรงงานที่ผิดกฎหมายมาขึ้นทะเบียน แล้วขยายเวลาในการ
                   ตรวจสอบและพิสูจน์สัญชาติเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย  แต่นี้เรามากําหนดกรอบให้มันสั้น
                   เกินไป ทําให้หลายคนก็ตั้งคําถามว่ามันจะพิสูจน์ทันหรือ


                          (๓) มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน( LPN)
                          มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ  Labour  Rights  Promotion   Network
                   Foundation    (LPN)    เดิมชื่อ  “เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน”    ก่อตั้งขึ้นปลายปี ๒๕๔๗

                   ดําเนินการภายใต้คณะบุคคลเพื่อการทํางานภาคประชาสังคมและเน้นการทํางานประเด็นแรงงานข้ามชาติ
                   ในจังหวัดสมุทรสาครเป็นหลัก เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานมุ่งมั่นศึกษา ค้นคว้าเรื่องเด็กข้ามชาติ
                   เพราะเล็งเห็นป๎ญหาด้านการศึกษา อีกทั้งพบการปล่อยปะละเลยของผู้ปกครอง และยังพบป๎ญหาแรงงาน
                   เด็กปะปนอยู่ตามสถานประกอบการ


                                                             ๙๖
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121