Page 114 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 114
โครงการที่มูลนิธิฯ ดําเนินการมี ๓ โครงการ คือ (๑) โครงการคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด (๒)
โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางานสําหรับแรงงานข้ามชาติ (๓) โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์
ด้านแรงงาน พื้นที่ปฏิบัติการของมูลนิธิฯอยู่ที่ จ.ตาก จ.เชียงใหม่ และ จ.สมุทรสาคร เน้นการให้ความ
ช่วยเหลือด้านกฎหมายให้กับแรงงานข้ามชาติ และคดีการค้ามนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีเกี่ยวกับประมง
และคดีที่เกี่ยวกับการจับโรฮิงญา เน้นแรงงานอพยพที่ถูกล่อลวงมา
มูลนิธิฯ เห็นว่า การที่ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของขบวน
การค้ามนุษย์ ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ คนไทยก็อยากจะมีอาชีพที่ดี แสวงหาอนาคตที่ดี สุดท้ายก็อาจจะ
ถูกหลอกเหมือนกับกรณีที่ประเทศของเราเป็นปลายทางที่แรงงานพม่าถูกหลอกเข้ามาเป็นแรงงานใน
ประเทศไทย ในส่วนของการเป็นทางผ่านเพราะเส้นทางในการเดินทางมาจากพม่าจะไปมาเลเซียก็ต้อง
อาศัยเส้นทางในไทย ตํารวจตรวจคนเข้าเมืองของเรามีความหละหลวม ในเรื่องของการคัดกรองคนที่เดิน
ทางผ่านเข้ามา อาจะเป็นเหมือนกับว่าปิดตาข้างเดียวมองไม่ค่อยเห็นหรือเกิดการคอรัปชั่นกัน ที่ทําให้เข้า
มากันง่ายมาก แต่ที่สัมภาษณ์ case เขาจะบอกว่าจะมีเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ไม่เห็น เขาก็จะเดินเข้ามาเลย
หรือไม่ก็นั่งมอเตอร์ไซด์เข้ามาทางช่องแคบๆ ซึ่งไม่มีเจ้าหน้าที่คุมอยู่บริเวณนั้น แม้แต่กระทั่งช่วงที่ใกล้ๆ
ด่าน ก็ยังมีช่องทางเป็นรูเล็กๆ ในการหย่อยตัวเข้าไป ซึ่งเป็นที่รู้กัน
หลังจากประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็น Tier ๓ สถานการณ์การค้ามนุษย์ยังคงเหมือนเดิม ที่
เปลี่ยนคือท่าทีของรัฐที่มีความพยายามที่จะออกนโยบายหรือมาตรการใหม่ๆ เช่น คสช.ออก one stop
service ให้แรงงานที่ผิดกฎหมายได้ขึ้นทะเบียนแรงงานเพื่อที่จะทําให้แรงงานที่ผิดกฎหมายกลายเป็นถูก
แต่ว่านโยบายพวกนี้ก็ยังมีป๎ญหาของมันเพราะเป็นการแก้ป๎ญหาเฉพาะหน้า คือขณะนี้ก็ยังมีการอพยพ มี
การล่อลวงเหมือนเดิม แต่ด้วยการที่สหรัฐอเมริกามีการจัดอันดับทุกปี เพราะฉะนั้นนโยบายที่ออกมาและ
อยากให้เห็นผลในปีเดียวจึงเป็นไปได้ยาก การมีนโยบายให้แรงงานผิดกฎหมายมาจดทะเบียน ซึ่งทั้งหมด
จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติในช่วงเวลาที่สั้นมากมันเป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่มีการประกาศก็มีแรงงานทุกชนิด
มาจดทะเบียนเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย ก็มีแรงงานที่เข้ามาตาม MOU ซึ่งถูกกฎหมายอยู่แล้วเข้ามาจด
ทะเบียนด้วย ซึ่งเจตจํานงจริงๆของ คสช. คือ ให้แรงงานที่ผิดกฎหมายเข้ามาจดทะเบียน แต่กลายเป็น
แรงงานทุกชนิดเข้ามาจดทะเบียนจึงทําให้เป็นตัวเลขที่เฟูอ
สําหรับเรื่องขบวนการค้ามนุษย์นั้น มูลนิธิฯ เห็นว่า ขบวนการก็จะซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม เช่น ถ้าเป็น
ในเรือนายหน้าจะมีหลายคนมากในการที่จะนําพาแรงงานคนหนึ่งมา จะมีการส่งต่อ ไปที่ท่าเรือ คือมีตัว
ประกอบเยอะมาก แต่ที่เปลี่ยนไปคือนายจ้างกับใต้ก๋งเรือ นายจ้างจะตัดความรับผิดชอบทั้งหมดให้ใต้ก๋ง
เป็นคนรับผิดชอบแทน ทําเหมือนว่าเขากับใต้ก๋งไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างกัน ใต้ก๋งเป็นคนมาเช่าเรือ
“นายหน้าจะเป็นคนพม่าหลอกตั้งแต่ต้นทางและมาหลอกที่ปลายทางด้วย case ที่มูลนิธิฯ เคย
ช่วยคือ ตัวผู้เสียหายเข้ามาในประเทศไทยเรียบร้อยแล้วมาอยู่กับพี่ชาย และเพื่อนเขารู้ว่าเข้ามาอยู่ที่
ประเทศไทยแล้วก็เลยติดต่อกับนายหน้า นายหน้าก็เลยเอาเบอร์โทรหาเหยื่อหลายครั้งมากจนพี่ชายเหยื่อ
ตัดสินใจรับสาย นายหน้าบอกว่าจะพาไปทํางานที่ร้านอาหารแถวพัทยาได้เงินดีกว่า ไม่ต้องจ่ายค่าที่พัก
บทบาทของนายหน้าก็คือ มีหน้าที่หว่านล้อมไปหลอกมา ส่วนใหญ่ก็อาจจะตั้งแต่ต้นทางเลยหรือไม่ก็รอ
ข้างในเมื่อแรงงานมาถึงก็ใช้วิธีการหว่านล้อมให้ไปทํางานในจุดที่เขาติดต่อเอาไว้แล้ว จุดที่นิยมมากใน
พม่าคือร้านน้ําชาแห่งหนึ่งในเกาะเต่า เป็นจุดที่นายหน้าเดินเร่อยู่แถวๆ นั้นเพื่อชักชวนให้คนที่ว่างงานเข้า
มาทํางานในประเทศไทย ค่าตัวแรงงานในเรือประมงก็จะอยู่ที่ประมาณ ๑๖,๐๐๐ - ๑๗,๐๐๐ บาท ก่อน
หน้านั้นจะเป็นค่าเดินทาง ๑,๒๐๐ บาท คือเงินส่วนนี้จะยังไม่ต้องรีบคืน ถ้าทํางานเรียบร้อยแล้วค่อยมา
๙๔