Page 107 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 107

(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่ของสํานักงานหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการ
                   กระทรวงยุติธรรมหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

                          บทบาทของ ปปง. เรื่องการค้ามนุษย์มีมาโดยตลอด เมื่อรัฐบาลได้ประกาศให้การค้ามนุษย์เป็น
                   วาระแห่งชาติ ปปง. ก็พยายามเข้าไปเสริมบทบาทของการที่ประเทศไทยจะถูกลดสถานะให้เป็น Tier  ๓
                   ปปง. พยายามใช้มาตรการเชิงรุก มีการแจ้งทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องว่าให้รายงานเพื่อที่จะช่วยในการ
                   ตรวจสอบทรัพย์สินให้  ปปง. ถือว่าการค้ามนุษย์เป็นวาระสําคัญของรัฐบาล รวมทั้งเรื่องการครอบครอง

                   ทรัพยากรธรรมชาติ การทุจริต ยาเสพติด ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ ปปง. ให้ความสําคัญ และดูในเรื่อง
                   ขบวนบวนการรายใหญ่ และเครือข่าย พยายามหาช่องทางที่ดําเนินการเพื่อตัดวงจร
                          ข้อจํากัดของ ปปง. คือเรื่องอัตรากําลังที่ยังมีไม่เพียงพอและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรน้อย
                   ทําให้ไม่สามารถดําเนินงานได้เท่าที่ผู้บริหารของ ปปง. อยากจะทํา

                          ส่วนเรื่องป๎ญหาอุปสรรคของ ปปง. คือการทํางานร่วมกับบางหน่วยงานที่ตีความพระราชบัญญัติ
                   ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แตกต่างจาก ปปง. เช่น ในมาตรา ๖ ปปง. เห็นว่าการเขียนกฎหมาย
                   เขียนด้วยเจตนาพิเศษ ซึ่งเจตนาพิเศษไม่จําเป็นต้องมีผลเกิดขึ้น แต่ต้องพิสูจน์ เจตนาว่าสิ่งที่จะทํา มุ่งสู่สิ่ง
                   นั้น  ในขณะที่บางหน่วยงานมุ่งเน้นการมีหลักฐาน ซึ่งเมื่อหาหลักฐานที่ชัดเจนไม่ได้ก็ต้องยกฟูอง ทําให้

                   ในที่สุดก็ไม่สามารถจัดการกับขบวนการค้ามนุษย์ได้
                          นอกจากนี้ยังมีป๎ญหาการทํางานแบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด
                   ฐานค้ามนุษย์ ซึ่งหน่วยที่เกี่ยวข้องไม่เข้าใจป๎ญหาการฟอกเงิน การบูรณาการคือต้องดูว่าใครมีกฎหมาย

                   แบบใด แล้วมารวมกัน และทําร่วมกัน แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ละหน่วยงานจะยึดถือ
                   กฎหมายของตนเองเป็นหลัก และต่างคนต่างทํา มากกว่าการทํางานร่วมกัน
                          อีกป๎ญหาหนึ่งคือการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ ปปง. ในฐานะเป็นหน่วยข่าวกรอง
                   การเงินระดับชาติ ของประเทศไทยในเรื่องที่ ปปง. ได้รับข้อมูลธุระกรรมจากการรายงานเข้ามา ในทาง
                   ปฏิบัติก็เอามาใช้ในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในหน่วยงานภายในประเทศ

                   และต่างประเทศในกรอบของการร่วมมือ ในป๎จจุบันยังไม่มีการนําข้อมูลมาแชร์กันเท่าที่ควร

                   สรุปปัญหา อุปสรรคในการด าเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

                          จากการศึกษาบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและปราบปรามการค้า
                   มนุษย์ทั้ง ๘ หน่วยงานพบว่า  ในการดําเนินงานของหน่วยงานรัฐ จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่เป็น
                   เจ้าภาพหลักในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                   สํานักงานตํารวจแห่งชาติ อัยการ ศาล หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งในช่วง ๓  ปีที่ผ่านมา

                   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับป๎ญหาการค้า
                   มนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาแนวทางและให้นโยบายแก้ไขป๎ญหาเร่งด่วนในลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น
                   เรื่องการปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบของแรงงานประมง ป๎ญหาการล่อลวงแรงงาน
                   ป๎ญหาการบังคับใช้แรงงานเด็ก และการนําเด็กมาขอทาน

                              นอกจากนี้ คณะกรรมการ การปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และคณะกรรมการ
                   ประสานและกํากับการดําเนินงานปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
                   ชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจํานวน ๒๑ คณะ โดยคณะอนุกรรมการแต่ละคณะจะแต่งตั้งตามความจําเป็นเฉพาะ
                   เรื่อง เช่น คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางและมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ใน


                                                             ๘๗
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112