Page 169 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 169
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และต้องออกจากโรงเรียน เช่นเดียวกัน หลายคนไม่ทราบถึงบริการของรัฐเกี่ยวกับ
สวัสดิการที่ให้ความช่วยเหลือแก่เยาวชนที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่ประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ต้องการ
เงินช่วยเหลือในส่วนของการดูแลฝากครรภ์ หรือบ้านพักพิงเพื่อรอคลอดที่เข้าใจและปลอดภัย และ
การขอรับบริการเรื่องมอบลูกให้เป็นบุตรบุญธรรมในรายที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางครอบครัว
รวมไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและมนุษย์ ซึ่งองค์กรและสถานศึกษานอกกรอบเอง ก็ต้อง
มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน มุมมองเรื่องเพศศึกษาในเชิงบวก ปราศจากมายาคติและ
การตัดสินผู้อื่น ซึ่งความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน ยังมี
ความแตกต่างกันในหลายระดับขึ้นอยู่กับบริบทของการท�างานที่คลุกคลีอยู่กับพื้นที่หรือผู้รับบริการ
ซึ่งยังต้องการเติมเต็มองค์ความรู้เรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
กล่าวโดยสรุป ในด้านสังคม ไม่จ�าเป็นที่จะต้องเป็นภาระหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงาน
ใด หรือต้องเป็นหน้าที่เฉพาะทางด้านกฎหมาย ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพียงแต่ควรมีองค์กรใด
องค์กรหนึ่งเป็นแกนน�าในการปูแนวทาง สร้างนโยบาย มาตรการ และยุทธศาสตร์ในเชิงบูรณาการ
ที่ร่วมมือกับกระทรวงและองค์กรต่างๆ รวมถึงชุมชนและเยาวชนหญิงตั้งครรภ์เอง ในการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ทั้งที่พร้อมและไม่พร้อม
๔.๑.๓ ด้านการสาธารณสุข
จากการศึกษาสิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ในด้านการสาธารณสุขพบว่า การ
ช่วยเหลือของรัฐประเด็นการตั้งครรภ์ในเยาวชน ไม่ใช่ความพยายามสร้างการยอมรับ/เคารพสิทธิอนามัย
เจริญพันธุ์และการป้องกัน การละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชน แต่เป็นการป้องกันและระวัง
ไม่ให้มีเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ เพราะมาตรการของรัฐยังผลิตซ�้าทัศนคติการตั้งครรภ์ของเยาวชนใน
แง่ลบ ในฐานะบ่อเกิดของปัญหาสังคม จากการศึกษาวิจัยทั้งเอกสารและภาคสนามเห็นได้ชัดว่า
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและสุขภาพทางเพศ เป็นการชี้น�าให้เด็กผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว
168 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน