Page 172 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 172

ความรู้ที่ไม่รอบด้าน และน�าไปสู่การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เนื่องจากทัศนคติด้านลบ

                  ที่มีต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของเยาวชนหญิงเอง ท�าให้เยาวชนหญิงไม่รักษาสิทธิและเข้าไม่ถึงสิทธิ

                  ในการได้รับค�าปรึกษาทางเลือกอย่างรอบด้าน





                        ๔.๑.๔   ด้านการศึกษา







                        ทางด้านกระทรวงศึกษาธิการเป็นอีกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนโดยตรง โดยเฉพาะ

                  เยาวชนที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ซึ่งมีมาตรการให้โรงเรียน/สถานศึกษา เฝ้าระวังพฤติกรรมนักเรียน

                  ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน ๒. ปัญหาพฤติกรรมความสัมพันธ์เชิงชู้สาว

                  ๓. ปัญหานักเรียนที่มีพฤติกรรมการหนีเรียน และ ๔. ปัญหานักเรียนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับ

                  ยาเสพติด (ครูไทย, ๒๕๕๔) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าส�าหรับกระทรวงศึกษาธิการแล้ว การตั้งครรภ์ในวัยเรียน

                  เป็นภัยสังคมอย่างหนึ่ง



                        จากการวิจัยศึกษาประเด็นการศึกษาของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ในมิติสิทธิมนุษยชน สามารถ

                  สรุปได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการได้พยายามให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศสัมพันธ์ การป้องกัน

                  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ การใช้ถุงยางอนามัย ยาคุมก�าเนิดชนิดเม็ด การดูแล

                  ตนเองเมื่อเยาวชนตั้งครรภ์ การรับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล ติดต่อขอรับบริการบ้านพัก

                  ชั่วคราว ติดต่อหน่วยงานเพื่อหาผู้อุปการะบุตรบุญธรรม ติดต่อขอรับความช่วยเหลือด้านอาชีพและ

                  สังคมสงเคราะห์หรือเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนต่างๆ ไปจนถึงยุติการตั้งครรภ์ (องค์การแพธ, ๒๕๕๔

                  น. ๔๒) ด้วยวิชาเพศศึกษาและกิจกรรมที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น Path สสส. สถาบันครอบครัว

                  ไทย ซึ่งการให้ความรู้ความเข้าใจเพศศึกษาของกิจกรรมต่างๆ ยังคงเน้นเรื่องการรักนวลสงวนตัวและ

                  การไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ให้ความส�าคัญ

                  กับการรักษาพรหมจรรย์ไว้จนถึงวันแต่งงาน ตระหนักถึงพิษภัยของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน

                  หลีกหนีสิ่งยั่วยุทางเพศ และตัดสินใจจะรักษาพรหมจรรย์ไว้จนถึงวันแต่งงานและ/หรือเริ่มต้นใหม่

                  อีกครั้งหนึ่ง (สถาบันครอบครัวไทย, ๒๕๕๔; องค์การแพธ, ๒๕๕๔, น. ๔๒)










                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  171
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177