Page 168 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 168

สาธารณะ มีผู้ร่วมกิจกรรมเป็นจ�านวนมาก ท�าให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่เป็น

                            ส่วนตัวที่จะตั้งค�าถาม ทั้งเรื่องการตั้งครรภ์และการมีเพศสัมพันธ์ ท�าให้ไม่สามารถบรรลุ

                            สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ได้ ขณะเดียวกันกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

                            สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นจึงขาดการสื่อสารสองทาง


                        ๒.  มายาคติ ซึ่งสังคม ครูอาจารย์ และผู้ปกครองหลายคนที่เชื่อว่า เยาวชนเป็นช่วงวัยที่ไม่

                            ควรข้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ น�าไปสู่การไม่ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์

                            การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพศศึกษา สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนในฐานะที่อยู่

                            ในวัยเจริญพันธุ์ มากไปกว่านั้นยังน�าไปสู่การปฏิบัติด้วยความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่ของ

                            รัฐที่มีอคติมองเยาวชนหญิงตั้งครรภ์และเหมารวมตัดสินว่าเป็นเด็กใจแตก มีเพศสัมพันธ์

                            ตั้งแต่เด็ก จนละเลยการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่นเดียวกันในสถานศึกษาที่

                            สภาพแวดล้อมและบริบทสังคมยังไม่เปิดกว้างและเข้าใจในประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

                            และยอมรับการตั้งครรภ์ของเยาวชน ท�าให้นักเรียนหญิงที่ตั้งครรภ์รู้สึกอับอายและทนไม่ได้

                            กับสายตาคนมองอย่างดูหมิ่นภายในสถานศึกษา จึงต้องลาออกจากโรงเรียน



                        จากการศึกษาพบว่า ทั้งมายาคติและการเข้าไม่ถึงสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและ

                  การศึกษา เมื่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ขึ้นมา ไม่เพียงบางรายจะขาดสิทธิในการได้รับความคุ้มครอง

                  ด้านการศึกษา และพลาดโอกาสที่จะเรียนจบ มีงานท�าเพื่อเลี้ยงดูลูกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกัน

                  กระบวนการในการตัดสินใจทั้งยุติและด�ารงครรภ์ต่อของเยาวชน ไม่ได้เป็นสิทธิหรืออ�านาจของ

                  เยาวชนเอง แต่เป็นของผู้ปกครองของเยาวชน ข้อมูลในการตัดสินใจจึงเป็นของผู้ปกครองเท่านั้น

                  ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจไม่ใช่ความรู้เรื่องสุขภาวะและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ แต่เป็นความเชื่อ

                  มายาคติเรื่องวิญญาณจากการท�าแท้ง ความยากจน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความอับอายผู้คนในสังคม

                  การไม่ได้รับการรับผิดชอบจากชายที่ท�าให้ตั้งครรภ์ ที่ท�าให้ตัดสินใจแทนเยาวชนหญิงให้ด�ารงครรภ์

                  ต่อ เห็นได้ชัดว่า หลายคนที่เผชิญปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่รู้ทั้งเรื่องสิทธิที่ควรได้รับจากทั้งรัฐ

                  และสังคม ทั้งการรองรับของสถานศึกษา ที่บางแห่งเป็นสถานศึกษานอกกรอบที่รองรับเยาวชนตั้งครรภ์

                  ไม่พร้อม จัดรูปแบบการศึกษานอกเวลาปกติเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตนักเรียนซึ่งรวมไปถึงเยาวชน

                  หญิงตั้งครรภ์ แต่โรงเรียนในลักษณะเช่นนี้มีจ�านวนไม่เพียงพอต่อปริมาณเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ที่










                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  167
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173