Page 164 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 164
ทั้ง พ.ร.บ. ต่างๆ และที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ไม่ได้
เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์อย่างชัดเจน
ล้วนมองข้ามเรื่องสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตร
หรือไม่และจะมีเมื่อใด มากไปกว่านั้นกฎหมาย
อาญาที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ที่ถือว่า
เป็นอีกสิทธิหนึ่งของอนามัยเจริญพันธุ์ยังจัดให้
เป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง แม้ว่ากฎหมาย
จะมีช่องว่างให้ตีความเพื่อให้การท�าแท้งสามารถ
ท�าได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น ผู้ที่จะท�าแท้ง
ยุติการตั้งครรภ์ได้ จะต้องอยู่บนเงื่อนไขที่การ
ตั้งครรภ์นั้นเกิดจากการถูกข่มขืนกระท�าช�าเรา
การตั้งครรภ์ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและ
จิตใจอย่างรุนแรง หรือในกรณีที่ผู้หญิงนั้นอายุ
ต�่ากว่า ๑๕ ปี อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ พบว่า
สร้างปัญหาต่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์อย่างมาก
เพราะการตีความในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์
อยู่ที่แพทย์ผู้ให้บริการเป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่เจ้าของ
ครรภ์เอง และส่วนใหญ่มักปฏิเสธที่จะให้บริการ
(องค์กรแพธ และส�านักบริหารการสาธารณสุข
กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๕)
รวมทั้ง พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก (๒๕๔๖) ในมาตรา ๒๒ ระบุว่า “การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณี
ใด ให้ค�านึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นส�าคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม...”
ก็ไม่ได้ให้ความส�าคัญกับการตั้งครรภ์ของเยาวชน ทั้งการด�ารงครรภ์หรือยุติครรภ์ แม้ว่า “เด็ก”
ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (๒๕๕๐) หมายถึงบุคคลซึ่งมีอายุต�่ากว่า
๑๘ ปีบริบูรณ์ ซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์แล้วก็ตาม สะท้อนให้เห็นว่ารัฐไทยยังคงแยกเด็กและเยาวชน
ออกจากเรื่องการเจริญพันธุ์ อนามัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 163