Page 171 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 171

และครบถ้วนรอบด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจในทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศ

                 และอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง และสิทธิเสรีภาพแห่งความคิดที่ชี้น�าให้เยาวชนหญิงไม่มีเสรีภาพ

                 ในการตัดสินใจมีบุตร หรือไม่และจะมีเมื่อใด


                       อีกทั้งยังชี้ให้เห็นว่า การให้ความรู้ด้านสาธารณสุข และวาทกรรมทางการแพทย์ต่อการ

                 ตั้งครรภ์ เพศสัมพันธ์ อนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนไม่ได้สร้างความตระหนักถึงเรื่องสิทธิและอ�านาจ

                 การตัดสินใจของผู้หญิง แต่เป็นเรื่องของการป้องกันการตั้งครรภ์และการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชน

                 การให้ความรู้แก่เยาวชนหญิงยังคงเป็นประเด็นเกี่ยวกับผลที่ตามมาของการมีเพศสัมพันธ์

                 “ก่อนวัยอันควร” เช่น โรคติดต่อและการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อยู่ (บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์

                 และคณะ, ๒๕๔๙, น. ๖๕๔ - ๖๕๗)



                       อย่างไรก็ตาม  กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามอย่างมากในการดูแลและป้องกันสุขภาพ

                 รักษาสุขภาพ และการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพทั้งทางกายและใจของผู้หญิงไม่ให้ตกอยู่

                 ในอันตรายจากการตั้งครรภ์ หรือเข้าไม่ถึงการบริการด้านสุขภาพที่ปลอดภัยและการให้ค�าปรึกษา

                 ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์อย่างหนึ่ง ด้วยการพยายามพัฒนา

                 คุณภาพการบริการของสถานพยาบาลให้สอดคล้องและยึดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหลัก

                 เช่น “โครงการพัฒนาบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ส�าหรับวัยรุ่น” โดยกองอนามัย

                 การเจริญพันธุ์ กรมอนามัย (กองอนามัยการเจริญพันธุ์, ๒๕๔๙)



                       แต่จากการสัมภาษณ์ วิจัยภาคสนามพบว่า กลไก มาตรการ ข้อมูล การบริการของหน่วยงาน

                 ทางภาครัฐด้านสาธารณสุข อนามัยเจริญพันธุ์ ยังไม่ประสบผลส�าเร็จเพราะเจ้าหน้าที่ยังขาดความ

                 ละเอียดอ่อนในการปฏิบัติต่อเยาวชนในประเด็นเรื่องเพศสัมพันธ์ อนามัยเจริญพันธุ์ และการตั้งครรภ์

                 ทั้งนี้มาจากมายาคติ ทัศนคติเชิงลบต่อเพศวิถีในเยาวชน รวมไปถึงการบริการทางการแพทย์ในการยุติ

                 การตั้งครรภ์ที่เลือกที่จะปฏิเสธการท�าแท้งให้เยาวชน เพราะเกรงกลัวต่อกฎหมาย ศีลธรรมในระดับ

                 ปัจเจกเหนือหน้าที่การงาน และกลัวเสื่อมเสียชื่อเสียงหน้าที่การงานภายหลัง ขณะเดียวกันเยาวชน

                 เองก็ปฏิเสธที่จะขอรับการบริการจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ เพราะความรู้สึกไม่ปลอดภัยเอง

                 หวาดกลัว อับอาย ท�าให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ การปฏิบัติต่อครรภ์ยังคงเป็นการแลกเปลี่ยน

                 ชุดประสบการณ์ ระหว่างคนสนิท เพื่อน หรือรุ่นพี่รุ่นน้องภายในชุมชน ซึ่งเป็นการรับรู้ข้อมูล









                            170    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176