Page 174 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 174
พ.ร.บ. การศึกษา และสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เช่นกัน ซึ่งความรุนแรงและการละเมิด
สิทธิดังกล่าวมาจากทัศนคติและกรอบวัฒนธรรมสังคมที่พยายามแยกความรู้เรื่องเพศออกจาก
เยาวชน น�าไปสู่การตัดสินและทัศนคติแง่ลบต่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ขณะเดียวกันเยาวชนหญิง
ตั้งครรภ์เองก็เข้าใจว่าการตั้งครรภ์ของตนเป็นสิ่งเลวร้าย ผิด บาป น่าอับอายจนต้องปิดบัง
แยกตัวออกจากสังคมมากกว่ามองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นในการท�าให้
การเข้าถึงสิทธิมนุษยชนด้านการศึกษาของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ประสบผลส�าเร็จ ต้องสร้างมุมมอง
ทัศนคติใหม่ให้กับเยาวชน นักเรียน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ไปจนถึงผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่อง
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ให้ชัดเจนและมากขึ้น
๔.๑.๕ ด้านการพัฒนาและฟื้นฟูเยียวยาทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ
จากการศึกษาวิจัยทางเอกสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคสนามพบว่า การละเมิดสิทธิ
มนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์เป็นการกระท�าทั้งทางตรงต่อตัวเยาวชนหญิงตั้งครรภ์เอง และในเชิง
โครงสร้างสังคม ความพยายามของรัฐและสังคมที่จะท�าให้สังคมปราศจากเยาวชนหญิงตั้งครรภ์
ในฐานะปัญหาสังคมและรัฐ การผลักเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ออกจากพื้นที่ทางสังคม เป็นการท�าให้
เยาวชนหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มคนชายขอบ (Marginalization) และ “เป็นอื่น” เป็นความแตกต่าง
จากเยาวชน “ทั่วไป” ท�าให้เข้าไม่ถึงทรัพยากรต่างๆ ของสังคมได้เสมอภาคเท่าเทียมกับเยาวชนอื่นๆ
แม้ว่าจะมีหน่วยงานองค์กรบางแห่งให้ความช่วยเหลือ เช่น บ้านพักฉุกเฉิน ของสมาคมส่งเสริม
สถานภาพสตรีฯ (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓) แต่ก็เป็นการช่วยเหลือให้ความรู้ การเข้าถึงบริการ และรักษา
สิทธิของเยาวชนหญิงเพื่อตัดสินใจด�ารงครรภ์ต่อมากกว่าให้ความรู้การเข้าถึงการบริการในการยุติ
การตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการรองรับปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่าต้นเหตุ ทั้งนี้ ต้นเหตุของปัญหาเยาวชนหญิง
ตั้งครรภ์ในมิติสิทธิมนุษยชน มาจากวาทกรรมในสังคมที่แฝงด้วยมายาคติที่ปรากฏทั้งในกฎหมาย
และมาตรการต่างๆ ของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ได้แก่ การตั้งครรภ์ของเยาวชนน�าไปสู่ความ
เจ็บป่วย ทุพพลภาพ พิการของทั้งแม่และเด็ก และการตั้งครรภ์ของเยาวชนเป็นการก้าวพลาดและ
เป็นผลจากการขาดจริยธรรมที่ดีงามของเยาวชน ซึ่งยังคงด�ารงอยู่และผลิตซ�้าอย่างต่อเนื่องโดย
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 173