Page 166 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 166

๔.๑.๒ ด้านสังคม







                        จากการศึกษาสิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ในด้านสังคมนั้นพบว่า กระทรวงการ

                  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดท�าข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่คลอดบุตร และส่ง

                  พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินสภาวะเพื่อให้การช่วยเหลือแม่วัยเยาว์และครอบครัวตามจังหวัดต่างๆ

                  (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๔; รัฐบาลไทย, ๒๕๕๔) ซึ่งถือว่าเป็นการ

                  คุ้มครองปกป้องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ให้เยาวชนหญิงตกอยู่ใน

                  อันตรายจากการตั้งครรภ์ ไม่ว่าเพราะการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย การขาดบริการสุขภาพที่ปลอดภัย

                  การขาดข้อมูลข่าวสาร  และการถูกกระท�าความรุนแรง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าทางกระทรวงฯ

                  ยังไม่ได้พยายามคุ้มครองสิทธิในประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมี

                  บุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด หรือสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

                  ที่ส�าคัญและมีผลกระทบต่อการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชน เพราะจากการวิจัย

                  ภาคสนาม สัมภาษณ์เยาวชนหญิงตั้งครรภ์พบว่า การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์

                  ได้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชน เพราะมักน�าไปสู่การขาดโอกาส

                  ทางการศึกษาที่เพียงพอและตรงกับความถนัดที่จะพัฒนาความสามารถของเยาวชนได้ นักเรียนหญิง

                  ตั้งครรภ์หลายคนต้องออกจากโรงเรียนเพื่อเลี้ยงลูก ท�างานเพื่อน�าเงินมาเลี้ยงลูก ซึ่งมักเป็นงานที่

                  รายได้ต�่าเนื่องจากวุฒิทางการศึกษา นักเรียนหญิงบางคนโดนจ�าหน่ายออกเพื่อรักษาชื่อเสียงของ

                  โรงเรียน พักการเรียนจนกว่าจะคลอด นักเรียนหลายคนไม่กล้ากลับมาเรียนต่อเนื่องจากไม่สามารถ

                  อดทนต่อค�านินทา สายตาดูถูกจากคนในสังคมโรงเรียน



                        เห็นได้ชัดว่า ผู้บริหารและอาจารย์ในหลายโรงเรียนขาดความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและ

                  พระราชบัญญัติการศึกษา ปี ๒๕๔๒ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร

                  และการศึกษา (Rights to Information and Education) แต่กลับเป็นโรงเรียนส่วนน้อยที่จัดการศึกษา

                  แบบนอกกรอบที่เปิดโอกาสให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้มีโอกาสทางการศึกษา แตกต่างจากการ

                  จัดการศึกษาของสถานศึกษาทั่วไปที่ยังไม่มีแนวทางในการจัดการเรื่องนี้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นการ

                  ละเมิดทั้งพระราชบัญญัติและสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันนักเรียนเองก็เชื่อว่า การตั้งครรภ์นั้นผิดกฎ








                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  165
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171