Page 170 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 170

หวาดกลัวการท�าแท้ง ปราศจากความสนใจหรือยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ มากกว่าการให้ความรู้

                  เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพราะยังคงมีกรอบวัฒนธรรมภายในสังคมไทยว่า เพศสัมพันธ์

                  เป็นสิ่งที่เยาวชนไม่ควรยุ่งเกี่ยว แม้ว่าความรู้ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์จะอธิบายว่าเยาวชน

                  หรือวัยรุ่นเป็นวัยเจริญพันธุ์ สามารถสืบพันธุ์ได้แล้วก็ตาม ท�าให้การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นเป็นสิ่งที่

                  ไม่ได้รับการยอมรับ และการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นผลพวงของการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนจึงอยู่ในฐานะ

                  ปัญหาสังคม (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๔) เห็นได้จากกระทรวงสาธารณสุข ที่มีการ

                  เฝ้าระวัง และจัดท�าข้อมูลการเฝ้าระวังงานอนามัยเจริญพันธุ์ ที่ไม่เพียงระวังจ�านวนของเยาวชนหญิง

                  ตั้งครรภ์ ยังเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับคนรักและ

                  คนที่รู้จักผิวเผิน ที่เน้นย�้าและผลิตซ�้าถึงสถานะทางสังคมของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์กับความเจ็บป่วย


                        แม้จะมีกิจกรรมหรือโครงการที่พยายามให้ความรู้ ซึ่งถือเป็นการท�าให้เยาวชนสามารถบรรลุ

                  ถึงสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา เช่น ค่ายแกนน�าวัยรุ่น แต่จุดประสงค์ของกิจกรรม

                  และกระทรวงฯ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารและการศึกษาแต่ยังไม่รอบด้าน เพราะเป็นการให้ข้อมูล

                  เกี่ยวกับวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ การติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิเสธการมี

                  เพศสัมพันธ์ เพื่อลดอัตราการเพิ่มจ�านวนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ (ส�านักอนามัยเจริญพันธุ์, ๒๕๕๓)

                  เช่นเดียวกับกิจกรรม “walk rally อน�มัยเจริญพันธุ์” พยายามชี้ให้เห็นถึงความสยดสยองและ

                  อันตรายถึงชีวิตจากการท�าแท้ง ซึ่งน�าไปสู่ความหวาดกลัวของเยาวชนหญิงต่อการท�าแท้ง เพื่อไม่

                  ให้ตัดสินใจไปท�าแท้งเมื่อตั้งครรภ์ และปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ (ส�านัก

                  อนามัยเจริญพันธุ์, ๒๕๕๓, น. ๔๖ - ๔๗) เห็นได้ชัดว่ามาตรการที่ภาครัฐพุ่งเป้ามายังเนื้อตัวร่างกาย

                  ของเยาวชนหญิงมากกว่าเยาวชนชาย ซึ่งสอดรับกับอุดมการณ์ “รักนวลสงวนตัว” กับเก็บรักษา

                  เยื่อพรหมจรรย์ของผู้หญิง ตามโครงสร้างปิตาธิปไตย (patriarchy) การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

                  ของเยาวชน จึงมุ่งให้เยาวชนหญิงรับผิดชอบและแบกรับภาระมากกว่าเยาวชนชาย



                        เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาจากการตั้งครรภ์ของเยาวชน ภายในทศวรรษที่ผ่านมาจึงมี

                  วาทกรรมทางการแพทย์อีกชุดที่พยายามอธิบายถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ในวัยเยาว์

                  ทั้งกับร่างกายของแม่และเด็ก โดยมองข้ามภาวะเจริญพันธุ์ของเยาวชนที่พร้อมจะมีเพศสัมพันธ์

                  และสืบพันธุ์ตามชีวภาพ ธรรมชาติซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในการได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย










                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  169
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175