Page 165 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 165

ดังนั้นแม้รัฐไทยจะคุ้มครองสิทธิของ

                                                               เยาวชน สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี

                                                               ความเป็นมนุษย์ (Rights to Life) สิทธิในความ

                                                               เป็นส่วนตัว (Rights to Privacy) สิทธิในการ

                                                               ได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to

                                                               Information and Education) สิทธิในการ

                                                               ดูแลและป้องกันสุขภาพ (Rights to Health

                                                               Care and Health Protection) อย่างเสมอ

                                                               ภาคโดยไม่ค�านึงว่าเยาวชนผู้นั้นตั้งครรภ์หรือ

                                                               ไม่ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายรัฐไทย

                                                               จะเปิดโอกาสและคุ้มครองสิทธิในการตัดสินใจ

                                                               ว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด (Rights to

                                                               Decide Whether or When to Have

                                                               Children or Rights to Self-determination)

                                                               โดยเฉพาะสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์



                       ดังนั้นจ�าเป็นอย่างยิ่งที่รัฐไทยควรอนุญาตให้ผู้หญิง เยาวชนหญิงมีสิทธิในการยุติการ

                 ตั้งครรภ์ในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ แม้ว่ากฎหมายอาญา

                 มาตรา ๓๐๑ - ๓๐๕ ที่ถือว่าการท�าแท้งเป็นอาชญากรรม สอดคล้องกับกรอบศีลธรรมส่วนใหญ่ของ

                 ประชาชนในรัฐ ที่การฆ่า การท�าลายชีวิตเป็นสิ่งผิดบาป เป็นความรุนแรงโหดร้ายก็ตาม ทว่ารัฐ

                 ไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเมื่อ ๕

                 กันยายน ๒๕๔๒ และมีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ภาค ๒ ข้อ ๕ ระบุห้ามการจ�ากัดหรือ

                 ลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองหรือที่มีอยู่ในประเทศใด โดยอาศัยอ�านาจของ

                 จารีตประเพณี (กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม, ๒๕๕๕)

                 ในการศึกษากฎหมายไทยที่มีต่อสิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ครั้งนี้ จึงได้มีข้อเสนอแนะ

                 ต่อการปรับแก้กฎหมายในเชิงโครงสร้างคือ รัฐไทยจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดมุมมองในมิติ

                 ที่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในเยาวชน เพื่อให้กฎหมายได้มีข้อก�าหนดที่

                 รอบด้านและครอบคลุมถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนมากขึ้น






                            164    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170